Category Archives: การจัดการสิ่งแวดล้อม

อายุการย่อยสลายขยะ

ชาวหอสมุดฯ มธ. เคยสงสัยกันบ้างไหมครับ ของที่เราใช้กันอยู่และกลายเป็นขยะในภายหลังนั้น แต่ละชนิดมีอายุการย่อยสลายกี่ปีบ้าง ถ้าอยากรู้ไปดูกันเลย

เศษกระดาษ                               2 – 5 เดือน
เปลือกส้ม                                     6 เดือน
ถ้วยกระดาษเคลือบ                          5 ปี
ก้นบุหรี่                                         12 ปี
รองเท้าหนัง                                25 – 40 ปี
โลหะ, กระป๋องอะลูมิเนียม             80 – 100 ปี
ถุงพลาสติก                                  450 ปี
ผ้าอ้อมเด็กชนิดสำเร็จรูป                  500 ปี
โฟม                                  ใช้เวลานานมาก ระบุไม่ได้

 

เครดิต : https://www.trueplookpanya.com/infographic/detail/13/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B0%20%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B0

สัญญาลักษณ์พลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้แบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้ (ตอนที่ 2)

สวัสดีชาวหอสมุดฯ ห่างหายกันไปนานกับสัญญาลักษณ์พลาสติก ใครที่อ่านบอกเพื่อนข้างๆ ทีตอนที่ 2 ออกแล้วนะ ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับเพื่อนๆ ที่ได้ของรางวัลจากการตอบปัญหาสิ่งแวดล้อม งั้นเรามาต่อกับเรื่องของเรากันดีกว่า

เบอร์ 4 หมายถึง โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) เป็นพลาสติกที่เหมาะสำหรับนำมาเป็นถุงเย็น ถุงใส่อาหารแช่แข็ง เพราะมีความยืดหยุ่นสูง เหนียว ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี พลาสติกชนิดนี้ไม่เหมาะที่จะบรรจุอาหารร้อน พลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำสามารถนำมารีไซเคิลเป็น ถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม

เบอร์ 5 หมายถึง โพลิโพรพิลีน (PP) เป็นพลาสติกที่เหมาะสำหรับทำถุงร้อนบรรจุอาหาร หรือผลิตกล่องบรรจุอาหารสำหรับนำเข้าไมโครเวฟ เพราะมีความยืดหยุ่นสูง ทนสารเคมี และสามารถใช้งานกับอุณหภูมิที่สูงถึง 175 องศาเซลเซียส พลาสติกชนิดโพลิโพรพิลีน สามารถนำมารีไซเคิลเป็น กล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชนและกรวยสำหรับน้ำมัน ไฟท้าย ไม้กวาดพลาสติก แปรง

เบอร์ 6 หมายถึง โพลิสไตรีน (PS) เป็นพลาสติกที่เหมาะสำหรับทำเป็น โฟม กล่อง ถ้วย และจาน เนื่องจากง่ายต่อการขึ้นรูป สามารถพิมพ์สีสัน และลวดลายให้สวยงามได้ และสามารถใช้งานกับอุณหภูมิตั้งแต่ -10 องศาเซลเซียส ถึง 80 องศาเซลเซียส พลาสติกชนิดโพลิสไตรีน สามารถนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์ แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ

เบอร์ 7 หมายถึงสัญลักษณ์สำหรับพลาสติกอื่น ๆ (OTHER) หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกหลายชนิด

เครดิต : https://home.kapook.com/view74326.html

7 สัญญาลักษณ์พลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้ (ตอนที่ 1)

1
เบอร์ 1 หมายถึง พลาสติกประเภทโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) สามารถนำมารีไซเคิลขวดน้ำพลาสติกชนิดอ่อน ประเภทใช้ได้ครั้งเดียว หรือขวดซอฟต์ดริ้งค์ทั้งหลาย
2
เบอร์ 2 หมายถึง โพลิเอทิลินชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) ส่วนมากจะนำไปรีไซเคิลเป็นถุงพลาสติกทั่วไป และกระป๋องโยเกิร์ต
3
เบอร์ 3 หมายถึง พลาสติกประเภทโพลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็น บรรจุภัณฑ์สินค้าอาหาร ของเล่นพลาสติก พลาสติกห่อหุ้มอาหาร และท่อพลาสติก

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ จากที่เราเคยสงสัยว่าตัวเลขที่อยู่ในสัญญาลักษณ์ ตอนนี้เราคงได้รับรู้บ้างแล้ว ครั้งหน้าเราจะมาต่อในตอนต่อไป เพื่อให้เพื่อนๆ ชาวหอสมุดได้รับทราบข้อมูลกันอีกครับครับ

เครดิต : https://home.kapook.com/view74326.html

แนวทางการอนุรักษ์พลังงานมีอะไรบ้าง

1. การใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่าโดยการสร้างค่านิยมและจิตใต้สำนึกการใช้พลังงาน
2. การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าจะต้องมีการวางแผนและควบคุมการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดมีการลดการสูญเสียพลังงานทุกขั้นตอน มีการตรวจสอบและดูแลการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา เพื่อลดการรั่วไหลของพลังงาน เป็นต้น
3. การใช้พลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และอื่น ๆ
4. การเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอดผอมประหยัดไฟ เป็นต้น
5. การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยการนำวัสดุที่ชำรุดนำมาซ่อมใช้ใหม่ การลดการทิ้งขยะที่ไม่จำเป็นหรือการหมุนเวียนกลับมาผลิตใหม่ (Recycle)

มาร่วมกันอนุรักษ์พลังงานตามมาตรการกันเถอะ…..ตอนที่ 3

วันนี้เป็นตอนสุดท้ายของมาตรการแล้วนะครับ มาตรการที่จะพูดในวันนี้ก็คือ “มาตรการประหยัดน้ำประปา” สังเกตกันไหมโลกเราแปรปรวนขึ้นทุกวัน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล หน้าแล้งชาวนาน้ำตาแทบกระเด็น ค่าน้ำก็ขึ้น เราอาจจะหยุดการใช้น้ำไม่ได้ แต่เราลดการใช้ หรือใช้เท่าที่จำเป็นได้ มาดูกันเลยดีกว่ามีวิธีใดบ้างที่ชาวหอสมุดฯ มธ.จะช่วยประหยัดน้ำกันได้
– ปิดก๊อกน้ำให้สนิทหลังจากใช้งาน
– ใช้โฟมล้างมือแทนสบู่
– ช่วยสอดส่องดูแลในจุดน้ำรั่วซึม หากพบเห็นให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– ซ่อมก๊อกน้ำให้อยู่ในสภาพดีเสมอ
เท่านี้เราก็มีส่วนช่วยประหยัดน้ำได้แล้ว………..

มาร่วมกันอนุรักษ์พลังงานตามมาตรการกันเถอะ…..ตอนที่ 2

จากอาทิตย์ที่แล้ว งานอาคารหอสมุดฯ ได้ขอเชิญชวนชาวหอสมุดมาร่วมกันทำมาตรการอนุรักษ์พลังงาน มาอาทิตย์นี้เรามาต่อกันที่มาตรการต่อไปกันเลยดีกว่าครับ “มาตรการประหยัดไฟฟ้า” มีอะไรบ้างมาดูกัน
เครื่องใช้ไฟฟ้า และไฟส่องสว่าง
– เปิดไฟเฉพาะโต๊ะทำงาน / ปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน / ไม่ใช้หลอดไฟท่ไม่ผ่านมาตรฐาน
– ปิดจอคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ใช้งาน / ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
– ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกเมื่อเลิกใช้งาน / บุคลากรแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องตรวจสอบดูแล
เครื่องปรับอากาศ
– สำนักงานเปิดเครื่องปรับอากาศเวลา 8.00 – 15.30 น.
– หากไม่มีบุคลากรอยู่ในที่ทำงาน ควรปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้ง
– ตั้งอุณหภูมิสำนักงานที่ 25 องศา
– ทำความสะอาดแผ่นกรอง – ล้างเครื่องปรับอากาศทุก 6 เดือน
– ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศพร้อมกัน – ควรแบ่งกันตรวจสลับ
ลิฟต์
– ขึ้น – ลงบันไดเพียง 1 หรือ 2 ชั้น ควรใช้บันไดแทน
เรื่องกล้วยๆ กันเลยใช่ไหมล่ะ
images

มาร่วมกันอนุรักษ์พลังงานตามมาตรการกันเถอะ…..ตอนที่ 1

งานอาคารหอสมุดฯ ในฐานะที่ทำเรื่องการประหยัดพลังงานภายในอาคารอยากขอเชิญชวนชาวหอสมุดมาร่วมกันทำมาตรการอนุรักษ์พลังงานกันเถอะครับ โดยวันนี้เราจะมาว่าด้วย “มาตรการลดการใช้กระดาษ” มีอะไรบ้างหนอมาดูกันดีกว่า
– นำกระดาษที่ใช้แล้ว 1 หน้า กลับมาใช้ใหม่สำหรับเอกสารที่ไม่สำคัญภายในหน่วยงาน
– เอกสารที่มีแบบฟอร์มชัดเจนไม่ควรพิมพ์เก็บไว้ ควรเก็บไว้ในรูปแบบไฟล์ โดยประชาสัมพันธ์การเข้าถึง
– หันมาใช้ช่องทางเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
– ส่งข้อมูลข่าวสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ลดการใช้กระดาษ และพลังงานในการผลิตได้มาก
– อ่านเอกสารแล้วส่งต่อกันในสำนักงาน แทนการถ่ายสำเนาหลายๆ ชุด
– เลือกใช้กระดาษรีไซเคิลหรือกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อ Ecofiber เพื่อช่วยลดมลภาวะ
เรื่องง่ายๆ แค่นี้ชาวหอสมุดฯ ทำได้อยู่แล้ว……
substance6-3img

วิธีง่ายๆ ที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์หรือภาชนะ เป็นขยะอันตราย

ช่วงนี้ชาวหอสมุดฯ กำลังขมักเขม้นในการทำคู่มือ ISO 14001 ระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ผมในฐานะที่เป็นผู้ร่วมทำกับเขาด้วย จึงอยากมาแนะวิธีการคัดแยกขยะอันตราย โดยสังเกตง่ายๆ จากฉลาก หรือ ภาพสัญลักษณ์ที่ติดบนภาชนะบรรจุ เช่น Continue reading วิธีง่ายๆ ที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์หรือภาชนะ เป็นขยะอันตราย