Tag Archives: โบราณคดี

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับมหาวิทยาลัยศิลปากร (หนังสือเฉลิมพระเกียรติฯ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับมหาวิทยาลัยศิลปากร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับมหาวิทยาลัยศิลปากร

หนังสือเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยศิลปากร และหน่วยงานในกำกับ ได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขึ้นในระหว่างวันที่ 27 เมษายน – 27 พฤษภาคม 2558 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและร่วมเฉลิมพระเกียรติในวาระมหามงคลยิ่งนี้ และได้มีการจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ขึ้นด้วย เพื่อจะได้ร่วมชื่นชมพระอัจฉริยภาพในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทางด้านศิลปวัฒนธรรมสาขาต่างๆ ที่มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยศิลปากร พระอัจฉริยภาพในการทรงเรียนและพระราชจริยวัตรอันงดงาม ขณะทรงเป็นนักศึกษา ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชกรณียกิจที่ก่อให้เกิดคุณูปการต่อมหาวิทยาลัยศิลปากร และวงการด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติโดยทั่วกัน และยังสามารถใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาทางด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติสืบไปด้วย

ในหนังสือเฉลิมพระเกียรติ เล่มนี้ ประกอบด้วย พระราชประวัติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับพระอัจฉริยภาพในศาสตร์สาขาต่างๆ ที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยศิลปากร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร (โดยรองศาสตราจารย์ มยุรี วีระประเสริฐ) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับงานโบราณคดี (โดยรองศาสตราจารย์ มยุรี วีระประเสริฐ) พระอัจฉริยภาพด้านงานศิลป์องค์วิศิษฏศิลปินแห่งสยาม (จิรดา จรีเวฬุโรจน์) ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (โดยชุติมา พรพมเดชะ) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีกับงานด้านสถาปัตยกรรมไทย (โดยอาจารย์ตะวัน วีระกุล) บทกวีและบทเพลงพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

รายการอ้างอิง
มหาวิทยาลัยศิลปากร.  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับมหาวิทยาลัยศิลปากร.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 95)

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ในปี พ.ศ. 2532 มหาวิทยาลัยศิลปากรได้เริ่มโครงการจัดตั้งศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เพื่อ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 3 รอบ ในปี พ.ศ. 2534  ด้วยพิจารณาเห็นว่าสาขาวิชา มานุษยวิทยาและศาสตร์อื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ฯลฯ ล้วนเป็นที่ทรงสนพระทัยและทรงมีความเชี่ยวชาญ อีกทั้งยังเคยทรงมี พระราชปรารภว่าประเทศไทยควรจะมี ศูนย์ข้อมูลทางด้านนี้ เพื่อให้บริการแก่นักวิชาการและผู้สนใจทั่วไป

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ในเว็บไซต์นี้ จึงมีข้อมูลประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ โบราณคดี
ประวัติศาสตร์ศิลปะ ฯลฯ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย งานวิจัยทางชาติพันธุ์ จารึกในประเทศไทย จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา หนังสือเก่าชาวสยาม ภาพยนตร์ชาติพันธุ์ ข่าวมานุษยวิทยา รายชื่อวรรณกรรมท้องถิ่นภาคตะวันตก ของเล่นพื้นบ้าน ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย ICH & Museums Learning Resources และ Culture and Rights in Thailand เป็นต้น

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 7)