Tag Archives: จดหมายเหตุ

คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต

คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต
คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต

เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง ความคิดก็ต้องเปลี่ยนไปให้ทันโลก ห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง มิฉะนั้นจะไม่ต่างไปจากไดโนเสาร์ยุคดิจิทัล ที่สักวันหนึ่งย่อมถึงเวลาสิ้นสูญ

คิดทันโลกฯ เล่มนี้ จัดทำโดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK Park ส่วนแรกเป็นการนำบทความของวิทยากรจาก งาน TK Forum 2015 การประชุมวิชาการในหัวข้อ “อนาคตห้องสมุด: สิ่งท้าทายและแนวโน้ม” (Library Futures: Challenges and Trends) วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2558 ได้แก่

  • อนาคตของห้องสมุดและบรรณารักษ์ จากภัณฑารักษ์สู่ผู้รังสรรค์อุทยาน (Sohail Inayatullah)
  • ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านห้องสมุด จากองค์กร เน้นคลังหนังสือและข้อมูล ไปสู่องค์กรที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (Jens Thorhauge)
  • แผนงานการปรับปรุงและชุบชีวิตห้องสมุดในแมนเชสเตอร์ (Neil MacInnes)
  • หอสมุดสารสนเทศและบริการจดหมายเหตุแห่งแมนเชสเตอร์ สภาเมืองแมนเชสเตอร์

ส่วนที่สอง จะเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ : ปรากฏการณ์ เป็นเรื่องของการทำพื้นที่การอ่าน พื้นที่สร้างความรู้ 3 บทความ คือ

  • Explore / Extend / Exchange พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์
  • C.A.M.P สร้างสรรค์พื้นที่การอ่านให้เป็นแหล่งพบปะสร้างสรรค์หาความรู้
  • Maker Space พื้นที่สร้างความรู้ ด้วยวัฒนธรรม ทำ แบ่งปัน และเรียนรู้จากข้อผิดพลาด

ส่วนที่สาม ห้องสมุดอนาคต : กรณีศึกษา มีด้วยกัน 5 เรื่อง

  • ห้องสมุดแนวใหม่ ก้าวข้ามแหล่งให้บริการยืมคืนหนังสือ
  • Renaissance of Space อนาคตของห้องสมุด: โจทย์ใหม่ว่าด้วยพื้นที่การเรียนรู้
  • เก็บตกแนวคิด ห้องสมุดมีชีวิตสไตล์ดัตช์ จุดนัดพบของผู้คนและความสัมพันธ์ สะพานเชื่อมความทรงจำและความรู้
  • ห้องสมุดสำหรับสังคมผู้สูงอายุ
  • 10 เคล็ดลับจัดพื้นที่ห้องสมุดให้ “ว้าว!” ประสบการณ์จากเยอรมนี

สนใจอ่านดาวน์โหลดได้ที่เว็บ TK Park

รายการอ้างอิง
วัฒนชัย วินิจจะกูล บรรณาธิการ. คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, 2558.

ห้องสมุดไทยต้องปรับตัว ก่อนเป็นไดโนเสาร์ยุคดิจิตอล

ชื่อเรื่องดังกล่าว มาจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์ ฉบับวันที่ 6 สิงหาคม 2558 เวลา 1:28 น. เป็นการสรุปเนื้อหาจากการประชุมวิชาการในหัวข้อ “อนาคตห้องสมุด: สิ่งท้าทายและแนวโน้ม” (Library Futures: Challenges and Trends) ในงาน TK Forum 2015 วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2558 จัดโดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK Park ที่ถกถึงวิถีและการปรับตัวของห้องสมุดทั่วโลก ห้องสมุดที่เน้นหน้งสือเป็นหลักจะยังคงมีแต่จะลดความสำคัญลง ห้องสมุดจะมีบทบาทที่เปลี่ยนไปอย่างสอดคล้องกับสังคม และเพิ่มพื้นที่ให้กับการสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเองของผู้ใช้บริการ 3 ประการ คือ การเรียนรู้ที่นอกเหนือจาก พื้นที่การอ่าน (Learnig Space) เช่น พื้นที่การเล่นดนตรี การเล่นละคร เล่นเกม การเต้นรำ พื้นที่ของการพบปะ แลกเปลี่ยน การวิจารณ์การวิเคราะห์ (Community Space) พื้นที่ในการปฏิบัติการทดลองสิ่งต่างๆ ร่วมกัน (Maker Space)

นอกจากคำกล่าว ของ ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ แล้ว ยังมี ความคิดเห็นของศาสตราจารย์ โซเฮล อินอยาตอลเลาะห์ นักรัฐศาสตร์และนักอนาคตศึกษา จากประเทศออสเตรเลีย,  เยนส์ ธอร์โฮก์ ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาห้องสมุด จากประเทศเดนมาร์ก ที่เห็นว่า เงื่อนไขการเข้าถึงสารสนเทศ เป็นผลจากอินเทอร์เน็ตและสื่อดิจิทัล ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดและสื่ออย่างสิ้นเชิง ด้านนีล แมคอินเนส หัวหน้าส่วนงานจดหมายเหตุ สารสนเทศและห้องสมุดเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เราต้องทำให้ห้องสมุดเป็นเสมือนพื้นที่ในการพบปะสังสรรค์ ทำกิจกรรมที่หลากหลายในทุกเพศ วัย อาชีพ มีส่วนของห้องสื่อ (Media Lounge) ที่มีเทคโนโลยีที่ช่วยในการเรียนรู้ สร้างสรรค์ เช่น ซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างดนตรี ออกแบบอาร์ตเวิร์ก หรือใช้บริการเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

นอกจากนี้ เว็บไซต์ของ TK Park ได้เสนอเอกสารประกอบการสัมมนา เผยแพร่เพื่อให้ผู้สนใจดาวน์โหลดเพื่อศึกษาอีกด้วย ได้แก่

อนาคตของห้องสมุดและบรรณารักษ์ จากภัณฑารักษ์สู่ผู้รังสรรค์อุทยาน (Sohail  Inayatullah)

ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านห้องสมุด จากองค์กร เน้นคลังหนังสือและข้อมูล ไปสู่องค์กรที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง  (Jens Thorhauge)

แผนงานการปรับปรุงและชุบชีวิตห้องสมุดในแมนเชสเตอร์ (Neil MacInnes)

หอสมุดสารสนเทศและบริการจดหมายเหตุแห่งแมนเชสเตอร์ สภาเมืองแมนเชสเตอร์

รวมทั้งสไลด์นำเสนอของวิทยากรแต่ละท่านด้วย ติดตามอ่านได้ที่ http://tkforum.tkpark.or.th/download_th.html

แถมด้วยด้วยวิดีโอ

Manchester Library reopen

A tour of Manchester Library

Manchester Library live event

รายการอ้างอิง
ทีมเดลินิวส์38. ชี้ห้องสมุดไทยต้องปรับตัว ก่อนเป็นไดโนเสาร์ยุคดิจิตอล. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 จาก http://www.dailynews.co.th/article/339597

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. TK Forum 2015 Library Futures: Challenges and Trends. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 จาก http://tkforum.tkpark.or.th/download_th.html

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ในปี พ.ศ. 2532 มหาวิทยาลัยศิลปากรได้เริ่มโครงการจัดตั้งศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เพื่อ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 3 รอบ ในปี พ.ศ. 2534  ด้วยพิจารณาเห็นว่าสาขาวิชา มานุษยวิทยาและศาสตร์อื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ฯลฯ ล้วนเป็นที่ทรงสนพระทัยและทรงมีความเชี่ยวชาญ อีกทั้งยังเคยทรงมี พระราชปรารภว่าประเทศไทยควรจะมี ศูนย์ข้อมูลทางด้านนี้ เพื่อให้บริการแก่นักวิชาการและผู้สนใจทั่วไป

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ในเว็บไซต์นี้ จึงมีข้อมูลประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ โบราณคดี
ประวัติศาสตร์ศิลปะ ฯลฯ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย งานวิจัยทางชาติพันธุ์ จารึกในประเทศไทย จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา หนังสือเก่าชาวสยาม ภาพยนตร์ชาติพันธุ์ ข่าวมานุษยวิทยา รายชื่อวรรณกรรมท้องถิ่นภาคตะวันตก ของเล่นพื้นบ้าน ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย ICH & Museums Learning Resources และ Culture and Rights in Thailand เป็นต้น

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 7)