Tag Archives: ไมโครฟิล์ม

วิธีการใช้เครื่องไมโครฟิล์ม/ไมโครฟิช

ไมโครฟิล์ม/ไมโครฟิช เป็นบริการอีกประเภทหนึ่งที่ห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดมหาวิทยาลัย มีให้บริการ เนื่องจากเป็นสื่อที่เก็บบันทึกข้อมูลได้มาก การใช้บริการต้องอาศัยเครื่องอ่านไมโครฟิล์ม/ไมโครฟิช ซึ่งเมื่อมีผู้ใช้ร้องขอ ในส่วนของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยหอสมุดปรีดี พนมยงค์ จะมีขั้นตอนในการให้บริการ ดังนี้

1. เจ้าหน้าที่ก็จะนำม้วนไมโครฟิล์มหรือแผ่นไมโครฟิชมาที่เครื่องอ่าน

read1

   รูปเครื่องไมโครฟิล์ม

2.  การใช้เครื่องอ่านมีวิธีใช้  ดังนี้

  • เปิดเครื่อง
  • คลิก Power Scan 3000
  • ไมโครฟิล์ม เลือก 02-35 mm
  • ไมโครฟิช เลือก 03-Negative Fiche
  • ใส่ม้วนฟิล์ม/แผ่นไมโครฟิช
  • เลือก วัน เดือน ปี หน้าที่ต้องการ
  • เลือก Out Put
  • คลิก Scan to Driver#2 Save เพื่อ Save ใส่ ทรัมไดร์
    ไมโครฟิล์ม  ขนาด 35 มม.
    ไมโครฟิล์ม ขนาด 35 มม.

    ไมโครฟิช   ขนาด 4×6 นิ้ว
    ไมโครฟิช ขนาด 4×6 นิ้ว

ทั้งไมโครฟิล์มและไมโครฟิช มีบริการที่ ห้องวัสดุลักษณะพิเศษ 2

จันทร์ – ศุกร์            เวลา    8.00 น. – 20.00 น.
เสาร์ – อาทิตย์         เวลา     9.00 น. – 20.00

วัสดุย่อส่วนในหอสมุดปรีดี พนมยงค์

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ได้นำหนังสือพิมพ์และวารสาร มาจัดทำวัสดุย่อส่วนเพื่อให้ผู้รับบริการได้อ่านข้อมูลหนังสือพิมพ์ และวารสารฉบับย้อนหลังได้สะดวก และเป็นการลดพื้นที่ในการจัดทรัพยากรสารสนเทศดังกล่าวด้วย  วัสดุย่อส่วนที่ให้บริการ มี 2 ประเภท ได้แก่ ไมโครฟิล์ม และไมโครฟิช

  • ไมโครฟิล์ม มีลักษณะเป็นฟิล์มโปร่งใส มีขนาด 16 มม. และ ขนาด 35 มม.ภายในม้วนจะบรรจุข้อมูลหนังสือพิมพ์ มีทั้งหนังสือพิมพ์ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย เช่น กรุงเทพธุรกิจ  มติชน  สยามรัฐ  Bangkok Post The Nation The Nation Review  เป็นต้น
  • ไมโครฟิช มีลักษณะเป็นแผ่นโปร่งใส มีกรอบภาพย่อส่วนเรียงกันเป็นแถวมีขนาด 4×6 นิ้ว  บนขอบแผ่นไมโครฟิชบรรจุข้อมูลได้แก่ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน พ.ศของสิ่งพิมพ์ ภายในแผ่นไมโครฟิชแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลต่างๆ ทั้งฉบับของวารสารที่นำมาจัดทำเป็นไมโครฟิช