- เย็บเล่มวารสารทางวิชาการ
- วารสารที่ออกโดยหน่วยงานของธรรมศาสตร์
- ไม่เย็บเล่มวารสารที่มีการถ่ายไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช CD-Rom แล้ว
- เย็บเล่มวารสารทั้งเล่มไม่ฉีกปกและโฆษณาออก
- การกำหนดสีของปกวารสาร กำหนดให้วารสารที่มีชื่อเดียวกันใช้สีปกเดียวกัน
- วารสารที่ไม่พบตัวเล่มจะต้องติดต่อทวงถามจากสำนักพิมพ์ หรือตัวแทนจำหน่าย
All posts by นางสาวอรอนงค์ เอี่ยมเยี่ยม
ข้อดีของการเย็บเล่มวารสาร
- การเย็บเล่มทำให้วารสารมีความแข็งแรง คงทนถาวร สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน
- เก็บขึ้นชั้นได้สะดวก รวดเร็ว และเป็นระเบียบ
- หยิบใช้งานได้สะดวก
- การค้นหาดัชนีของวารสารเย็บเล่มเป็นปีๆ ทำได้สะดวก และยังช่วยในการเก็บรักษาดัชนีของวารสารนั้นๆ ได้ดี
- จะเห็นได้ว่าวารสารเย็บเล่มมีข้อดีต่างๆ มากมาย และนอกจากนั้นแล้วการเย็บเล่มวารสารยังมีประโยชน์ทั้งต่อห้องสมุดและต่อผู้ใช้มากอีกเช่นกัน
ทำไมเราต้องเย็บเล่มวารสาร
วารสารเป็นแหล่งรวมสารนิเทศที่มีคุณค่า และหลากหลายวิชา มีผู้สนใจต้องการอ่านเพื่อศึกษาค้นคว้าเป็นจำนวนมาก ห้องสมุดจึงจำเป็นต้องจัดหาเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ แต่เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของตัววารสารเอง สิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นความชื้น เชื้อรา ฯลฯ และตัวผู้ใช้เองทำให้วารสารเกิดความชำรุดหรือเสื่อมสภาพ ดังนั้นเพื่อเป็นการถนอมรักษาทรัพยากรสารนิเทศที่มีคุณค่ายิ่งของห้องสมุดให้ได้เราจึงต้องเย็บเล่มวารสารเพื่อให้ได้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไปได้นานที่สุดเท่าที่่จะทำได้
หนังสือพิมพ์เย็บเล่มที่หอสมุดปรีดี พนมยงค์
หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มีหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังให้บริการในรูปของการเย็บเล่ม เช่น ข่าวพาณิชย์ ฐานเศรษฐกิจ ประชาชาติธุรกิจ ผู้จัดการรายสัปดาห์ มติชน มาตุภูมิ สยามนิกร สยามรัฐ ฯลฯ
และหนังสือพิมพ์ที่เป็นภาษาต่างประเทศ เช่น Bangkok Post The Nation เป็นต้น หนังสือพิมพ์เย็บเล่มมีให้บริการที่ชั้น U3 โดยจะเรียงรายชื่อตามตัวอักษร ก – ฮ และภาษาต่างประเทศ A – Z ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถหยิบดูได้ด้วยตัวเอง และเมื่อต้องการบทความในหนังสือพิมพ์นั้นๆ ก็สามารถนำตัวเล่มไปถ่ายเอกสารได้เลย
เทคนิคการให้บริการที่ประทับใจ
การให้บริการที่ประทับใจ
การบริการที่ประทับใจเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ ที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกถึงคุณค่าเกินราคาที่ต้องจ่ายไปกับบริการที่ได้รับ ซึ่งจะนำมาถึงการกลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง และบอกต่อถึงคุณภาพของบริการแก่บุคคลอื่นๆ ต่อไป
เทคนิคการให้บริการอย่างง่ายๆ เช่น
1. กล่าวทักทายพร้อมรอยยิ้ม สวัสดีครับ/สวัสดีค่ะ
2. สอบถามด้วยมิตรไมตรี พร้อมให้บริการที่ตรงกับความต้องการ
3. ไม่รอช้าที่จะกล่าวคำขอโทษเมื่อผิดพลั้ง
4. จงขอบคุณเมื่อให้บริการเสร็จ
เมื่อมีความเข้าใจ และปฎิบัติได้แล้ว ท่านก็จะมีความสามารถในการจัดการกับสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างเหมาะสม และพร้อมที่จะนำความรู้ไปพัฒนาตนเองให้เป็นนักบริการที่ดีมีคุณภาพต่อไป
วิธีการใช้เครื่องไมโครฟิล์ม/ไมโครฟิช
ไมโครฟิล์ม/ไมโครฟิช เป็นบริการอีกประเภทหนึ่งที่ห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดมหาวิทยาลัย มีให้บริการ เนื่องจากเป็นสื่อที่เก็บบันทึกข้อมูลได้มาก การใช้บริการต้องอาศัยเครื่องอ่านไมโครฟิล์ม/ไมโครฟิช ซึ่งเมื่อมีผู้ใช้ร้องขอ ในส่วนของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยหอสมุดปรีดี พนมยงค์ จะมีขั้นตอนในการให้บริการ ดังนี้
1. เจ้าหน้าที่ก็จะนำม้วนไมโครฟิล์มหรือแผ่นไมโครฟิชมาที่เครื่องอ่าน
รูปเครื่องไมโครฟิล์ม
2. การใช้เครื่องอ่านมีวิธีใช้ ดังนี้
- เปิดเครื่อง
- คลิก Power Scan 3000
- ไมโครฟิล์ม เลือก 02-35 mm
- ไมโครฟิช เลือก 03-Negative Fiche
- ใส่ม้วนฟิล์ม/แผ่นไมโครฟิช
- เลือก วัน เดือน ปี หน้าที่ต้องการ
- เลือก Out Put
- คลิก Scan to Driver#2 Save เพื่อ Save ใส่ ทรัมไดร์
ทั้งไมโครฟิล์มและไมโครฟิช มีบริการที่ ห้องวัสดุลักษณะพิเศษ 2
จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 น. – 20.00 น.
เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 9.00 น. – 20.00
สาเหตุการชำรุดของวารสาร
วารสาร เป็นสิ่งพิมพ์อีกประเภทหนึ่งที่ห้องสมุดมีไว้ให้บริการ ซึ่งด้วยความที่เป็นกระดาษ จึงหลีกปัญหาเรื่องการชำรุดด้วยสาเหตุต่างๆ ที่เกิดจากกระดาษไม่ได้ ซึ่งสาเหตุของการชำรุดของวารสาร เกิดจาก
1. ชำรุดตามอายุขัย เนื่องจากวารสารที่พิมพ์ด้วยกระดาษจะเหลืองกรอบและเปี่อย เมื่อเก็บไว้นานเป็นปี
2. ความบอบบางของวารสาร ได้แก่วารสารปกอ่อน วารสารที่เชื่อมสันด้วยกาวเป็นต้น
3. ชำรุดจากการใช้งาน วารสารที่ถูกใช้งานมาก ยิ่งผ่านมือมากยิ่งชำรุดเร็ว
4. ชำรุดจากการขนย้าย การขนย้ายไม่ถูกวิธีจะทำให้วารสารชำรุดเสียหายได้
5. สิ่งแวดล้อมในห้องสมุด เช่น แสงสว่าง แมลง จุลินทรีย์
การเย็บเล่มวารสาร…เพื่อบริการ
วารสารที่ให้บริการในห้องสมุด เมื่อมีจำนวนมากขึ้น ห้องสมุดจะมีวิธีการบริหารจัดการด้วยการเย็บเล่มวารสารเหล่านี้ และนำแยกออกมาให้บริการเป็นวารสารฉบับเย็บเล่ม หรือวารสารล่วงเวลา โดยแยกออกจากชั้นวารสารฉบับปัจจุบัน
หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ได้นำวารสารฉบับปลีกที่มีเนื้อหาทางวิชาการและเป็นชื่อที่เคยเย็บเล่มแล้ว นำมาเย็บเอง (ไม่ได้ส่งโรงพิมพ์เหมือนแต่ก่อน เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ อีกทั้งป้องกันการสูญหายเนื่องจากวารสารบางชื่อมีขนาดบางมาก) โดยวิธีการเย็บเล่ม ดังนี้
ขั้นตอนการเย็บเล่มเอง
- รวบรวมวารสารที่มีรายชื่อที่เคยเย็บเล่มแล้ว หรือจุลสารที่เป็นฉบับบางๆแต่มีผู้ใช้มาก
- เรียงตามรายชื่อ ปีที่ ฉบับที่ พ.ศ. ความหนาไม่เกิน 3 ซม.
- เขียนรายการวารสารแต่ละเล่ม เช่น ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เพื่อเตรียมพิมพ์ติดข้างสันตัวเล่ม
- นำตัวเล่มวารสารมาเจาะรู 3 รู ตรงกลาง ซ้าย ขวา แล้วเย็บด้วยด้ายให้เป็นเล่มเดี่ยวกัน
- กำหนดสีที่สันของวารสารแต่ละชื่อเพื่อความแตกต่าง
- นำตัวเล่มขึ้นชั้นบริการที่ชั้น U3
ตัวอย่างวารสารที่เย็บเสร็จแล้ว
การจำหน่ายวารสาร
ห้องสมุดได้รับวารสารจากการบอกรับเป็นสมาชิก จากการบริจาค และจากการแลกเปลี่ยน ซึ่งมักจะมีการได้รับวารสารฉบับซ้ำ จึงต้องมีการจำหน่ายวารสารออก
หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มีนโยบายในการจำหน่ายวารสารออก โดยวารสารที่จะจำหน่ายออกต้องเป็นวารสารไม่ใช่วารสารวิชาการ ทั้งที่เป็นสมาชิกและได้รับบริจาค สำหรับวารสารวิชาการหอสมุดปรีดี พนมยงค์จะดำเนินการเย็บเล่มเก็บไว้บริการ ส่วนขั้นตอนในการจำหน่ายวารสารมีดังนี้
- พิจารณาและคัดเลือกวารสารที่ต้องการจำหน่ายออก
- รวบรวมวารสารที่ต้องการจำหน่ายออก และประทับตราคำว่า “จำหน่ายออก” ที่ตัวเล่มวารสารทั้ง 3 ด้าน
- เขียนข้อมูลวารสารในบัตรร่าง เช่น ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน ปี
- มัดวารสารและติดสำเนาบัตรร่างไว้ที่หน้าปกวารสาร ดังรูป
5. พิมพ์รายชื่อวารสารที่ต้องการจำหน่ายออก
6. เวียนรายชื่อวารสารไปตามห้องสมุดสาขาของสำนักหอสมุด เพื่อโอนวารสารที่ต้องการจำหน่ายออกไปยังห้องสมุดที่ต้องการใช้
7. ส่งรายชื่อวารสารที่ต้องการจำหน่ายออกพร้อมบันทึกอนุมัติจำหน่ายออกไปยังสำนักงานเลขาฯ
8. สำนักงานเลขาฯ ประสานงาน และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงเพื่อมาสำรวจข้อเท็จจริงว่ามีวารสารตามที่แจ้งไปจริง
9. คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ติดต่อบริษัทหรือร้านค้าหลายแห่ง เพื่อมาประมูลราคา และถ้าบริษัทใดได้รับเลือกก็จะมาชั่งน้ำหนัก และคิดเงิน นำเงินส่งงานการเงินในนามสำนักหอสมุด
วัสดุย่อส่วนในหอสมุดปรีดี พนมยงค์
หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ได้นำหนังสือพิมพ์และวารสาร มาจัดทำวัสดุย่อส่วนเพื่อให้ผู้รับบริการได้อ่านข้อมูลหนังสือพิมพ์ และวารสารฉบับย้อนหลังได้สะดวก และเป็นการลดพื้นที่ในการจัดทรัพยากรสารสนเทศดังกล่าวด้วย วัสดุย่อส่วนที่ให้บริการ มี 2 ประเภท ได้แก่ ไมโครฟิล์ม และไมโครฟิช
- ไมโครฟิล์ม มีลักษณะเป็นฟิล์มโปร่งใส มีขนาด 16 มม. และ ขนาด 35 มม.ภายในม้วนจะบรรจุข้อมูลหนังสือพิมพ์ มีทั้งหนังสือพิมพ์ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย เช่น กรุงเทพธุรกิจ มติชน สยามรัฐ Bangkok Post The Nation The Nation Review เป็นต้น
- ไมโครฟิช มีลักษณะเป็นแผ่นโปร่งใส มีกรอบภาพย่อส่วนเรียงกันเป็นแถวมีขนาด 4×6 นิ้ว บนขอบแผ่นไมโครฟิชบรรจุข้อมูลได้แก่ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน พ.ศของสิ่งพิมพ์ ภายในแผ่นไมโครฟิชแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลต่างๆ ทั้งฉบับของวารสารที่นำมาจัดทำเป็นไมโครฟิช