Tag Archives: การดับเพลิง

ดับเพลิงเบื้องต้น สิ่งที่ทุกคนควรรู้ และไม่อยากให้เกิด

จากการที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดอบรม หลักสูตร การดับเพลิงเบื้องต้น เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมานั้น แบ่งการอบรมออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเป็นภาคทฤษฎี และช่วงที่สองเป็นภาคปฏิบัติ

ในภาคทฤษฎี วิทยากรให้คำสำคัญๆ ที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ คือ

อย่างแรก คือการแจ้ง บอกให้คนใกล้ตัวทราบเรื่อง เพื่อที่จะได้มีการแจ้งต่อๆ กันอย่าลืมแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงนะคะ สอง ช่วยกันดับไฟ ในขณะเดียวกันต้องทราบด้วยว่า มีความสามารถในการดับไฟ ถ้าไม่ได้ คือสาม ถอย ให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าปฏิบัติการ  สี่ รีบออกจากอาคาร

สาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ เชื้อเพลิง ความร้อน อากาศ และเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้เราจะทำอย่างไรกับเหตุการณ์ที่อยู่ตรงหน้า รวมทั้งเกร็ดความรู้ต่างๆ อีกมากมาย พร้อมวิดีโอภาพเหตุการณ์การเกิดเหตุเพลิงไหม้เป็นตัวอย่าง

ในช่วงที่สอง เป็นภาคปฏิบัติ  เป็นการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ ซึ่งก็ได้ความรู้เพิ่มเติมว่า ถ้าพบผู้ประสบเหตุระหว่างการออกจากที่เกิดเหตุ ให้ตรวจสอบอย่างไร ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่มีแล้ว ส่วนไหน คือ ระบบควบคุมส่วนศรีษะ และส่วนไหนควบคุมส่วนหลัง และถ้าหากพบว่าไม่มีลมหายใจให้หาอะไรปิดเพื่อให้รู้ว่า บุคคลดังกล่าวได้ผ่านการตรวจมาแล้ว จะได้ไม่ต้องเสียเวลากับการตรวจสอบซ้ำอีก

ทั้งนี้สามารถอ่าน เอกสารประกอบการอบรม ได้ค่ะ

การอบรม การดับเพลิงเบื้องต้น

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 สำนักหอสมุดได้จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันอัคคีภัยเบื้องต้น ให้แก่บุคลากร เพื่อเป็นการทบทวน สำหรับบุคลากรที่เคยได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว และสำหรับบุคลากรที่ยังไม่ได้รับการอบรม โดย คุณสมโภชน์ ทองชอุ่ม ตำแหน่งหัวหน้าดับเพลิงภูเขาทอง และทีมงานสถานีดับเพลิงภูเขาทอง ได้มาถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ มาให้เราได้รู้กัน

ที่ทำการของสถานีดับเพลิง

ซึ่งในการอบรมครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรก เป็นเรื่องของทฤษฏี  ในช่วงที่สอง เป็นเรื่องการปฏิบัติการดับเพลิงจริง ซึ่งบุคลากรที่เข้ารับการอบรมมีจำนวน 60 คน ต่างให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นอย่างดียิ่ง

ขั้นตอนการใช้ถังดับเพลิง

ในภารกิจของการทำงาน ได้รับมอบหมายงานให้ช่วยงานการอบรมการซ้อมหนีไฟให้กับหน่วยงาน ได้จัดให้มีการซ้อมเป็นประจำทุกปี ซึ่งหลักๆ ของการซ้อมก็จะวนอยู่กับ 4 คำ ที่วิทยากรพูดซ้ำไปซ้ำมา ให้เราจำให้ขึ้นใจ ด้วยภาษาไทยคือคำว่า ดึง ปลด กด ส่าย  ซึ่งหมายถึงอะไรบ้าง

1

1. ดึง ให้ดึงสลักของถังดับเพลิงออก

2

2. ปลด ให้ปลดสายฉีดออกจากตัวถัง

 

3

3. กด ให้กดที่คันบีบของถังดับเพลิง

 

4

4. ส่าย ส่ายปลายสายไปให้ทั่วที่บริเวณไฟลุก โดยฉีด                                                 รอบๆ กองเพลิงก่อน และค่อยๆ ไล่ไปจนถึงกองเพลิง

ดูจากภาพประกอบแล้ว น่าจะไม่ยากเกินไปสำหรับทุกคน แต่สิ่งที่สำคัญเหนืออื่นใดก็คือ สติ

รายการอ้างอิง:

ขั้นตอนการใช้ถังดับเพลิง. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์  2558                 จาก  http://www. wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_motorvehicles/wiki/97693/

เมื่อไฟไหม้ทำอย่างไรดี?

หากพูดถึงไฟไหม้หรืออัคคีภัย คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นเป็นแน่ ไม่ว่าจะกับที่อยู่อาศัยของตัวเอง ที่ทำงาน หรือไม่ว่าจะเป็นที่ใดๆ ก็ตาม เพราะหลังจากเปลวเพลิงสงบลงจะเหลือเพียงซากของความสูญเสียในทุกครั้งไป ไม่ว่าจะเป็นชีวิต หรือทรัพย์สิน ตรงกับสุภาษิตคำพังเพยที่ว่า “โจรขึ้นบ้านสิบครั้งไม่เท่าไฟไหม้บ้านครั้งเดียว” ถ้าหากเปรียบห้องสมุดเป็นบ้านคงต้องกล่าวว่า “หนังสือหายสิบครั้งไม่เท่ากับไฟไหม้ครั้งเดียว”  

10858116_694343857351513_2294543425341599210_n
อาคารศูนย์การเรียนรู้ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ห้องสมุดเป็นสถานที่เก็บรวมรวมสารสนเทศประเภทต่างๆ มากมาย ทรัพยากรของห้องสมุดนั้นส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยกระดาษ กระดาษ และกระดาษ ซึ่งหากเกิดไฟไหม้ขึ้น จะเป็นเชื้อไฟอย่างดี หากผู้ปฏิบัติงานทราบว่าวิธีการรับมือที่ถูกต้องแล้ว เมื่อเกิดเหตุขึ้นก็จะพพอให้สามารถควบคุม หรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

Continue reading เมื่อไฟไหม้ทำอย่างไรดี?