เมื่อไฟไหม้ทำอย่างไรดี?

หากพูดถึงไฟไหม้หรืออัคคีภัย คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นเป็นแน่ ไม่ว่าจะกับที่อยู่อาศัยของตัวเอง ที่ทำงาน หรือไม่ว่าจะเป็นที่ใดๆ ก็ตาม เพราะหลังจากเปลวเพลิงสงบลงจะเหลือเพียงซากของความสูญเสียในทุกครั้งไป ไม่ว่าจะเป็นชีวิต หรือทรัพย์สิน ตรงกับสุภาษิตคำพังเพยที่ว่า “โจรขึ้นบ้านสิบครั้งไม่เท่าไฟไหม้บ้านครั้งเดียว” ถ้าหากเปรียบห้องสมุดเป็นบ้านคงต้องกล่าวว่า “หนังสือหายสิบครั้งไม่เท่ากับไฟไหม้ครั้งเดียว”  

10858116_694343857351513_2294543425341599210_n
อาคารศูนย์การเรียนรู้ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ห้องสมุดเป็นสถานที่เก็บรวมรวมสารสนเทศประเภทต่างๆ มากมาย ทรัพยากรของห้องสมุดนั้นส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยกระดาษ กระดาษ และกระดาษ ซึ่งหากเกิดไฟไหม้ขึ้น จะเป็นเชื้อไฟอย่างดี หากผู้ปฏิบัติงานทราบว่าวิธีการรับมือที่ถูกต้องแล้ว เมื่อเกิดเหตุขึ้นก็จะพพอให้สามารถควบคุม หรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

fire-exit-and-evacuation-sign-300-x-200-code-1507-1012-p

วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการจัดการมีเกิดเหตุอัคคีภัยหรือไฟไหม้กันครับ โดยจำตัวอักษรแค่ 4 ตัว คือ R-A-C-E”

R = Rescue อพยพคนออกจากจุดเกิดเหตุ ไปยังที่ปลอดภัย หรือจุดรวมพล
A = Alert กดสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ โทรแจ้งเหตุ
C = Confine ปิดประตู หน้าต่าง ห้องที่เกิดเหตุ (เพื่อลดปริมาณ Oxygen)
E = Extinguish ดับเพลิงด้วยถังดับเพลิงเบื้องต้น ทั้งนี้การใช้ถังดับเพลิงก็ต้องให้ถูกประเภทของเชื้อไฟด้วยจึงจะสามารถควบคุมอัคคีภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Untitled
Ref: http://race-pass.com/

นอกจากหลักการข้างต้นเพื่อให้การควบคุมไฟไหม้สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังต้องรู้จักการใช้ถังดับเพลิงที่ถูกวิธีอีกอย่างหนึ่ง โดยผมมีวิธีการใช้งานถังดับเพลิงเบื้อต้น ให้จำกันง่ายๆ 4 คำ คือ  “ดึง ปลด กด ส่าย”

ดึง = ดึงสลักถังดับเพลิง
ปลด = ปลดสายฉีดน้ำยาดับเพลิง และเล็งไปที่ฐานของไฟ
กด = กดที่คันบีบของถังดับเพลิง
ส่าย = ส่ายปลายสายไปให้ทั่วบริเวณที่ไฟลุกอยู่

Basic-offire_03-724x1024
Ref: www.answerthai.com/

ที่มา : http://www.samsenfire.com