All posts by นางแสงเดือน ตันตราวงศ์

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย UI GreenMetric Ranking of World Universities

นอกจาก การจัดอันดับมหาวิทยาลัย QS World University Ranking แล้ว UI GreenMetric Ranking of World Universities เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยอีกรายการหนึ่งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ความสำคัญ

UI GreenMetric Ranking of World Universities เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Universitas Indonesia (UI) ประเทศอินโดนีเซีย เริ่มจัดอันดับมหาวิทยาลัยครั้งแรกในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553)

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย แบ่งเป็นหลายรายการ ดังนี้
1. Overall Ranking
2. Ranking by Subject (หมายถึง กลุ่มตัวชี้วัด ไม่ใช่รายวิชา)
3. Ranking by Campus Setting
4. Ranking by Region

ตัวชี้วัดแบ่งเป็น 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะกำหนดค่าน้ำหนักแตกต่างกัน โดยกำหนดเป็นร้อยละ (%) รายการตัวชี้วัดมีดังนี้

กลุ่มที่ 1 Setting and Infrastructure (SI) คิดเป็นร้อยละ 15
(1) Campus Setting
(2) Type of higher education institution
(3) Number of campus sites
(4) Total campus area (meter square)
(5) Total ground floor area of buildings (meter square)
(6) Number of students
(7) Number of academic and administrative staff
(8) Percentage of area on campus covered in vegetation in the form of forest
(9) Percentage of area on campus covered in planted vegetation (include lawns, gardens, green roofs, internal planting)
(10) Retention : non-retentive surfaces on campus as percentage of total area for water absorption
(11) Percentage of university budget for sustainability effort

กลุ่มที่ 2 Energy and Climate Change (EC) คิดเป็นร้อยละ 21
(1) Energy efficient appliances usage
(2) Renewable energy resources
(3) Electricity usage per year (Total KWH)
(4) Energy conservation program
(5) Green building elements
(6) Climate change adaptation and mitigation program
(7) Greenhouse gas emission reductions policy

กลุ่มที่ 3 Waste (WS) คิดเป็นร้อยละ18
(1) Recycling program for university waste
(2) Toxic waste recycling
(3) Organic waste treatment
(4) Inorganic waste treatment
(5) Sewerage disposal
(6) Policy to reduce the use of paper and plastic in campus

กลุ่มที่ 4 Water (WR) คิดเป็นร้อยละ 10
(1) Water conservation program
(2) Piped water

กลุ่มที่ 5 Transportation (TR) คิดเป็นร้อยละ 18
(1) Number of vehicles owned by your institution
(2) Number of cars entering the university daily
(3) Number of bicycles that are found on campus on an average day
(4) Transportation policy designed to limit the number of motor vehicles used on campus
(5) Transportation policy designed to limit or decrease the parking area on campus
(6) Campus buses
(7) Bicycle and pedestrian policy on campus

กลุ่มที่ 6 Education (ED) คิดเป็นร้อยละ 18
(1) Number of courses related to environment and sustainability offered
(2) Total number of courses offered
(3) Total research funds dedicated to environmental and sustainability research
(4) Total research funds
(5) Number of scholarly publications on environment and sustainability published
(6). Number of scholarly events related to environment and sustainability
(7) Number of student organizations related to environment and sustainability
(8) Existence of a university-run sustainability website

รายละเอียดตัวชี้วัดและค่าน้ำหนัก ติดตามได้จาก http://greenmetric.ui.ac.id/criterian-indicator/

หากพิจารณาตัวชี้วัดแต่ละรายการอย่างละเอียดจะพบว่าเกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพของมหาวิทยาลัยเป็นส่วนใหญ่  เช่น สถานที่ สาธารณูปโภค การกำจัดของเสีย การขนส่งมวลชน เป็นต้น ดังนั้น  กองงานศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงเป็นเจ้าภาพหลักในการประสานงานและดำเนินการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับ UI GreenMetric Ranking of World Universities

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการจัดทำกิจกรรมที่หลากหลายและน่าสนใจเพื่อรองรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยดังกล่าว ติดตามได้จาก http://sustainable.tu.ac.th/

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย  Overall Ranking ติดตามได้จาก http://greenmetric.ui.ac.id/overall-ranking/

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย Ranking by Subject ติดตามได้จาก http://greenmetric.ui.ac.id/ranking-by-subject/

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย Ranking by Campus Setting ติดตามได้จาก http://greenmetric.ui.ac.id/ranking-by-campus-setting/

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย Ranking by Region ติดตามได้จาก http://greenmetric.ui.ac.id/ranking-by-region/

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย QS World University Ranking

ดังเคยกล่าวไว้ในบทความก่อนหน้าว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ความสำคัญกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัย QS World University Ranking เป็นอันดับแรก ดังนั้น เราจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยดังกล่าวบ้าง

QS World University Ranking เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Quacquarelli Symonds Ltd ประเทศสหราชอาณาจักร ต่อไปจะเรียกว่า QS

เดิม QS ร่วมกับ Thomson Reuters จัดอันดับมหาวิทยาลัยภายใต้ชื่อ Time Higher Education World University Ranking หรือ THE World University Ranking ต่อมาในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) QS ได้แยกออกมาจัดอันดับมหาวิทยาลัยภายใต้ชื่อ QS World University Ranking

ปัจจุบัน QS แบ่งการจัดอันดับมหาวิทยาลัยออกเป็นหลายรายการ ที่น่าสนใจคือ
1. QS World University Rankings
2. QS World University Rankings by Faculty
3. QS World University Rankings by Subject
4. QS University Rankings: Asia

QS World University Rankings by Faculty แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่ม Arts & Humanities
2. กลุ่ม Engineering & Technology
3. กลุ่ม Life Sciences & Medicine
4. กลุ่ม Natural Sciences
5. กลุ่ม Social Sciences & Management.

ส่วน QS World University Rankings by Subject แบ่งเป็นรายวิชาในแต่ละกลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่ม Arts & Humanities ประกอบด้วยวิชา
Art & Design
English Language & Literature
History
Linguistics
Modern Languages
Philosophy

2. กลุ่ม Engineering & Technology ประกอบด้วยวิชา
Architecture
Chemical Engineering
CiviI & Structural Engineering
Computer Science
Electrical & Electronic Engineering
Mechanical, Aeronautical & Manufacturing Engineering

3. กลุ่ม Life Sciences & Medicine ประกอบด้วยวิชา
Agriculture & Forestry
Biological Sciences
Dentistry
Medicine
Pharmacy & Pharmacology
Psychology
Veterinary Science

4. กลุ่ม Natural Sciences ประกอบด้วยวิชา
Chemistry
Environmental Sciences
Earth & Marine Sciences
Geography
Mathematics
Materials Sciences
Physics & Astronomy

5. กลุ่ม Social Sciences ประกอบด้วยวิชา
Accounting & Finance
Business & Management
Communication & Media Studies
Development Studies
Economics & Econometrics
Education
Law
Politics & International Studies
Sociology
Statistics

การจัดอันดับแต่ละรายการ QS จะกำหนดตัวชี้วัดและค่าน้ำหนัก(%)ที่แตกต่างกัน โดยระบุไว้ในเว็บไซต์ของ  QS ผู้เกี่ยวข้องจึงควรตรวจสอบรายละเอียดเป็นระยะ เนื่องจากอาจมีการปรับตัวชี้วัดหรือคำจำกัดความของข้อมูลที่ QS ต้องการก็เป็นได้

ตัวอย่างการกำหนดตัวชี้วัดและค่าน้ำหนักในการจัดอันดับ QS World University Rankings มีดังนี้
1. Academic Reputation (40%)
2. Employer Reputation (10%)
3. Student-to-Faculty Ratio (20%)
4. Citations per Faculty (20%)
5. International Faculty Ratio (5%)
6. International Student Ratio (5%)
รายละเอียดตัวชี้วัดและค่าน้ำหนัก ติดตามได้จาก http://www.topuniversities.com/university-rankings-articles/world-university-rankings/qs-world-university-rankings-methodology

ตัวอย่างการกำหนดตัวชี้วัดและค่าน้ำหนักในการจัดอันดับ QS University Rankings: Asia มีดังนี้
1. Academic Reputation (30%)
2. Employer Reputation (10%)
3. Faculty-to-Student Ratio (20%)
4. Citations per Paper (15%)
5. Papers per Faculty (15%)
6. Proportion of International Faculty (2.5%)
7. Proportion of International Students (2.5%)
8. Proportion of Inbound Exchange Students (2.5%)
9. Proportion of Outbound Exchange Students (2.5%)
รายละเอียดตัวชี้วัดและค่าน้ำหนัก ติดตามได้จาก http://www.topuniversities.com/university-rankings-articles/asian-university-rankings/qs-university-rankings-asiamethodology

ข้อสังเกตคือ ตัวชี้วัด Citations per Faculty และ Papers per Faculty จะนับจำนวนการอ้างอิงบทความ(Citation) จำนวนบทความวิจัย(Paper) เฉพาะข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ Scopus เท่านั้น ดังนั้น หากบทความวิจัยของอาจารย์ไปตีพิมพ์ในฐานข้อมูลอื่นก็จะไม่ได้รับการนับเป็นผลงานของมหาวิทยาลัยในการจัดอันดับของ QS

ทั้งนี้ กองส่งเสริมมาตรฐานและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเจ้าภาพหลักในการรายงานข้อมูลของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจาก QS

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ติดตามได้จาก http://www.topuniversities.com/universities/thammasat-university

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย QS World University Rankings ติดตามได้จาก http://www.topuniversities.com/qs-world-university-rankings

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย QS World University Rankings by Faculty ติดตามได้จาก http://www.topuniversities.com/faculty-rankings

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย QS World University Rankings by Subject ติดตามได้จาก http://www.topuniversities.com/subject-rankings/2015

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย QS University Rankings: Asia ติดตามได้จาก http://www.topuniversities.com/asian-rankings

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยรายการอื่นๆ สามารถติดตามได้จาก http://www.topuniversities.com/university-rankings

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย (University Ranking)

หากคุณเป็นคนในวงการมหาวิทยาลัยเชื่อว่าอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตจะต้องเคยได้ยินคำว่า “การจัดอันดับมหาวิทยาลัย หรือ University Ranking”

เมื่อได้ยินแล้วคุณเคยสนใจหรือสงสัยบ้างหรือไม่ว่า“การจัดอันดับมหาวิทยาลัย” คืออะไร แล้วเกี่ยวอะไรกับ “เรา” (“เรา” ในที่นี้หมายถึง บุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย หรือ University Ranking โดยทั่วไปหมายถึง การจัดอันดับมหาวิทยาลัยตามตัวชี้วัดที่หน่วยงานจัดอันดับกำหนดไว้ (ในที่นี้หมายถึง หน่วยงานจัดอันดับในต่างประเทศเท่านั้น)

ปัจจุบันหน่วยงานจัดอันดับมีหลายแห่ง ทั้งที่เป็นมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานเอกชน หน่วยงานจัดอันดับแต่ละแห่งจะแบ่งการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเป็นหลายรายการ เช่น ระดับกลุ่มประเทศ ระดับทวีป ระดับโลก ขึ้นอยู่กับหน่วยงานจัดอันดับเป็นผู้กำหนด

ตัวอย่างการจัดอันดับมหาวิทยาลัย เช่น

QS World University Ranking โดย Quacquarelli Symonds Ltd ประเทศสหราชอาณาจักร
http://www.topuniversities.com/qs-world-university-rankings

Time Higher Education World University Ranking หรือ THE World University Ranking โดย Thomson Reuters ประเทศสหราชอาณาจักร
https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings

UI GreenMetric Ranking of World Universities หรือ  Green University Ranking โดย Universitas Indonesia (UI) ประเทศอินโดนีเซีย
http://greenmetric.ui.ac.id/

Webometrics Ranking โดย Cybermetrics Lab ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยในสังกัด The Centre for Scientific Information and Documentation (CINDOC) สภาวิจัยแห่งชาติ (Spanish National Research Council – CSIC) ประเทศสเปน
http://www.webometrics.info/

กระบวนการจัดอันดับมหาวิทยาลัย เริ่มจากหน่วยงานจัดอันดับกำหนดรายการตัวชี้วัด สัดส่วนหรือค่าน้ำหนักตัวชี้วัด โดยทั่วไปตัวชี้วัดจะเกี่ยวกับการเรียนการสอน การวิจัย หลังจากนั้น แต่ละปีหน่วยงานจัดอันดับจะสอบถามมหาวิทยาลัยว่าจะเข้ารับการจัดอันดับหรือไม่ ถ้าต้องการเข้าร่วมโครงการก็ส่งข้อมูลไปให้ตามรายการข้อมูลที่กำหนด ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยแต่ไม่นำมาใช้ในการจัดอันดับ ขณะเดียวกันหน่วยงานจัดอันดับก็จะรวบรวมข้อมูลบางรายการจากแหล่งอื่นด้วย เมื่อหน่วยงานจัดอันดับได้รับข้อมูลครบถ้วนแล้วจึงนำมาประมวลผล จัดอันดับ ประกาศผลให้มหาวิทยาลัยที่รับการจัดอันดับทราบอย่างไม่เป็นทางการ แล้วจึงประกาศผลให้สาธารณชนรับรู้โดยเผยแพร่ในเว็บไซต์ของหน่วยงานจัดอันดับ

แม้ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจะสะท้อนสถานะของมหาวิทยาลัยในมุมมองของ หน่วยงานจัดอันดับ แต่กลับมีผลกระทบโดยตรงต่อชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเมื่อถูกนำไปเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นในเวทีระดับนานาชาติ

เนื่องจากการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายสูงและมีผลต่อการประกอบอาชีพในอนาคต ดังนั้น ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจึงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ปกครองและนักเรียน (ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ) ในการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยที่จะเข้าศึกษาต่อ และผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยดังกล่าวยังเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร มหาวิทยาลัยในการวางแผนพัฒนางานด้านต่างๆ ให้ดีขึ้น

ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการจัดอันดับจากหน่วยงานจัดอันดับหลายแห่ง และผลการจัดอันดับก็แตกต่างกันไปในแต่ละปี ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ความสำคัญกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัย QS World University Ranking และ UI GreenMetric Ranking of World Universities เป็นหลัก

ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ตัวชี้วัดที่ใช้จัดอันดับมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการเรียนการสอน การวิจัย ในฐานะที่หนึ่งในภารกิจของ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ การส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยของมหาวิทยาลัย ดังนั้น งานด้านต่างๆ เช่น การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ การให้ความรู้ความเข้าใจในการใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์ การให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ จึงเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาจารย์และนักวิจัยด้วย

มาถึงตรงนี้ คงพอเข้าใจแล้วใช่ไหมว่า การจัดอันดับมหาวิทยาลัยเกี่ยวข้องกับ “เรา” อย่างไร เพราะ หากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับดีๆ ก็เป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจเพราะถือว่า “เรา” ก็มีส่วนร่วมต่อความสำเร็จดังกล่าวนั่นเอง