All posts by ภาคภูมิ วินิจสอน

แนวทางการอนุรักษ์พลังงานมีอะไรบ้าง

1. การใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่าโดยการสร้างค่านิยมและจิตใต้สำนึกการใช้พลังงาน
2. การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าจะต้องมีการวางแผนและควบคุมการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดมีการลดการสูญเสียพลังงานทุกขั้นตอน มีการตรวจสอบและดูแลการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา เพื่อลดการรั่วไหลของพลังงาน เป็นต้น
3. การใช้พลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และอื่น ๆ
4. การเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอดผอมประหยัดไฟ เป็นต้น
5. การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยการนำวัสดุที่ชำรุดนำมาซ่อมใช้ใหม่ การลดการทิ้งขยะที่ไม่จำเป็นหรือการหมุนเวียนกลับมาผลิตใหม่ (Recycle)

มาร่วมกันอนุรักษ์พลังงานตามมาตรการกันเถอะ…..ตอนที่ 3

วันนี้เป็นตอนสุดท้ายของมาตรการแล้วนะครับ มาตรการที่จะพูดในวันนี้ก็คือ “มาตรการประหยัดน้ำประปา” สังเกตกันไหมโลกเราแปรปรวนขึ้นทุกวัน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล หน้าแล้งชาวนาน้ำตาแทบกระเด็น ค่าน้ำก็ขึ้น เราอาจจะหยุดการใช้น้ำไม่ได้ แต่เราลดการใช้ หรือใช้เท่าที่จำเป็นได้ มาดูกันเลยดีกว่ามีวิธีใดบ้างที่ชาวหอสมุดฯ มธ.จะช่วยประหยัดน้ำกันได้
– ปิดก๊อกน้ำให้สนิทหลังจากใช้งาน
– ใช้โฟมล้างมือแทนสบู่
– ช่วยสอดส่องดูแลในจุดน้ำรั่วซึม หากพบเห็นให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– ซ่อมก๊อกน้ำให้อยู่ในสภาพดีเสมอ
เท่านี้เราก็มีส่วนช่วยประหยัดน้ำได้แล้ว………..

มาร่วมกันอนุรักษ์พลังงานตามมาตรการกันเถอะ…..ตอนที่ 2

จากอาทิตย์ที่แล้ว งานอาคารหอสมุดฯ ได้ขอเชิญชวนชาวหอสมุดมาร่วมกันทำมาตรการอนุรักษ์พลังงาน มาอาทิตย์นี้เรามาต่อกันที่มาตรการต่อไปกันเลยดีกว่าครับ “มาตรการประหยัดไฟฟ้า” มีอะไรบ้างมาดูกัน
เครื่องใช้ไฟฟ้า และไฟส่องสว่าง
– เปิดไฟเฉพาะโต๊ะทำงาน / ปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน / ไม่ใช้หลอดไฟท่ไม่ผ่านมาตรฐาน
– ปิดจอคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ใช้งาน / ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
– ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกเมื่อเลิกใช้งาน / บุคลากรแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องตรวจสอบดูแล
เครื่องปรับอากาศ
– สำนักงานเปิดเครื่องปรับอากาศเวลา 8.00 – 15.30 น.
– หากไม่มีบุคลากรอยู่ในที่ทำงาน ควรปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้ง
– ตั้งอุณหภูมิสำนักงานที่ 25 องศา
– ทำความสะอาดแผ่นกรอง – ล้างเครื่องปรับอากาศทุก 6 เดือน
– ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศพร้อมกัน – ควรแบ่งกันตรวจสลับ
ลิฟต์
– ขึ้น – ลงบันไดเพียง 1 หรือ 2 ชั้น ควรใช้บันไดแทน
เรื่องกล้วยๆ กันเลยใช่ไหมล่ะ
images

มาร่วมกันอนุรักษ์พลังงานตามมาตรการกันเถอะ…..ตอนที่ 1

งานอาคารหอสมุดฯ ในฐานะที่ทำเรื่องการประหยัดพลังงานภายในอาคารอยากขอเชิญชวนชาวหอสมุดมาร่วมกันทำมาตรการอนุรักษ์พลังงานกันเถอะครับ โดยวันนี้เราจะมาว่าด้วย “มาตรการลดการใช้กระดาษ” มีอะไรบ้างหนอมาดูกันดีกว่า
– นำกระดาษที่ใช้แล้ว 1 หน้า กลับมาใช้ใหม่สำหรับเอกสารที่ไม่สำคัญภายในหน่วยงาน
– เอกสารที่มีแบบฟอร์มชัดเจนไม่ควรพิมพ์เก็บไว้ ควรเก็บไว้ในรูปแบบไฟล์ โดยประชาสัมพันธ์การเข้าถึง
– หันมาใช้ช่องทางเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
– ส่งข้อมูลข่าวสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ลดการใช้กระดาษ และพลังงานในการผลิตได้มาก
– อ่านเอกสารแล้วส่งต่อกันในสำนักงาน แทนการถ่ายสำเนาหลายๆ ชุด
– เลือกใช้กระดาษรีไซเคิลหรือกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อ Ecofiber เพื่อช่วยลดมลภาวะ
เรื่องง่ายๆ แค่นี้ชาวหอสมุดฯ ทำได้อยู่แล้ว……
substance6-3img

วิธีง่ายๆ ที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์หรือภาชนะ เป็นขยะอันตราย

ช่วงนี้ชาวหอสมุดฯ กำลังขมักเขม้นในการทำคู่มือ ISO 14001 ระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ผมในฐานะที่เป็นผู้ร่วมทำกับเขาด้วย จึงอยากมาแนะวิธีการคัดแยกขยะอันตราย โดยสังเกตง่ายๆ จากฉลาก หรือ ภาพสัญลักษณ์ที่ติดบนภาชนะบรรจุ เช่น Continue reading วิธีง่ายๆ ที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์หรือภาชนะ เป็นขยะอันตราย

พลาสติกในตัวเรา

ช่วงนี้มีแต่ข่าวปัญหามลพิษจากพลาสติกที่เกิดขึ้นมากมาย เช่น แพขยะในมหาสมุทรแปซิฟิคมีขนาดเท่าประเทศฝรั่งเศสแล้ว ยังมีข่าว พะยูน กับโลมา ในประเทศไทยตายเพราะมีพลาสติกอยู่ในท้องอีก ล่าสุดมาเรียม พะยูนน้อยชื่อดัง ขวัญใจชาวไทย-ชาวเน็ตทั่วโลก จากไปแล้ว หลังเกิดภาวะช็อกบวกกับกินพลาสติกเข้าไปจนอุดตันลำไส้ และติดเชื้อในกระแสเลือด เชื่อกันไหมประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศที่ทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก

download aHR0cHM6
Continue reading พลาสติกในตัวเรา

แชร์สิ่งดีๆ ก็มีนะเธอ …โลกสวยเราช่วยกัน

การเจริญเติบโตของเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ (Social Media) นั้นทำให้เกิดปรากฏการณ์   การแบ่งปันข้อมูลและการกระจายข่าวสารอย่างรวดเร็วในโลกออนไลน์ซึ่งมีทั้ง ข่าวสารในด้านที่ดี และในด้านลบ ซึ่งเราต้องใช้วิจารณญาณ ในการรับข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น และแพร่กระจายข่าวสารใด ที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน หรือเรื่องที่จะนำความเดือดร้อนมาสู่ตนเอง และผู้อื่นได้ Continue reading แชร์สิ่งดีๆ ก็มีนะเธอ …โลกสวยเราช่วยกัน

เที่ยวอย่างไรถึงเรียกว่ารักโลกรักสิ่งแวดล้อม

1.พกขวดน้ำไปเอง เพื่อลดปริมาณขยะจากการซื้อน้ำดื่ม
2.พกแบตเตอรี่แบบรีชาร์ตได้ นอกจากจะเบากระเป๋าเพราะไม่ต้องหอบถ่านไปเยอะแล้ว ยังเป็นการช่วยลดขยะและลดมลพิษด้วย
3.อย่าแบกสมบัติไปเยอะ กฎเหล็กของนักเดินทางขั้นโปรฯ คือ “เดินทางเบาๆ” น้ำหนักสัมภาระที่ขนไปมากเกินความจำเป็นนั้นก็ยังไปกินน้ำหนักเครื่องบิน-รถ-เรือให้ใช้พลังงานเผาผลาญมากขึ้น จัดว่า”ไม่เป็นมิตร” กับการรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงาน
4.ควรเช่าจักรยานขี่เที่ยว แทนที่จะเหมารถสองแถวหรือสามล้อเที่ยวรอบเมือง ถ้ามีตัวเลือกของจักรยานก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะทั้งช่วยลดมลพิษและได้ออกกำลังกายไปในตัวอีกต่างหาก เฮลตี้สุดๆ
5.ปิดไฟ-ปิดแอร์ทุกครั้งที่ออกจากห้องพัก ถึงแม้ว่าสมัยนี้เกือบทุกโรงแรมจะมีระบบตัดไฟทันทีที่ประตูห้องปิดจากด้านนอก (ลูกค้าออกจากห้องพัก) แต่ก็ยังมีอีกหลายแห่งที่ยังไม่มีระบบนี้ ฉะนั้นทุกครั้งที่เราจะออกจากห้องพัก เอื้อมมือไปกดปิดสวิตช์ไฟสักนิด มันก็ไม่ยากอะไรกันใช่ไหม?
6.ขยะของเราเก็บเอามาทิ้งที่ถัง ไม่ว่าจะเป็นถุงขนม ถุงพลาสติก ใดๆ ที่เราพกไป แกะซองแกะห่อแล้วก็ทิ้งลงถังขยะให้เรียบร้อย ในกรณีที่ไม่มีถังขยะ (บนเกาะหรือบนเขาที่ไปเที่ยว) ก็ขอให้เก็บกลับมาด้วย เพื่อเอามาทิ้งที่ถังขยะในเมือง แบบนี้ซิถึงเรียกว่าเที่ยวแบบอีโค่ตัวจริง!

เครดิต : https://www.skyscanner.co.th/news/tips/easy-ways-for-eco-tourism

ใครว่าขยะ…ไม่มีประโยชน์ มารู้จักเส้นทางขยะหลังคัดแยก

การกำจัดขยะถือว่าเป็นเรื่องใหญ่สำหรับทุกชุมชน แต่การกำจัดขยะให้ได้ผลดีมีประสิทธิภาพ #จะต้องเป็นหน้าที่ของทุกคน และ ต้องเริ่มต้นแยกขยะที่ต้นทาง
โดยมีเกล็ดความรู้ เรื่อง “เส้นทางขยะของแต่ละประเภท” เมื่อเราแยกทิ้งแล้ว ขยะแต่ละประเภทสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
1. ขยะย่อยสลายได้ หรือขยะอินทรีย์ คือขยะจำพวก เศษอาหาร เศษใบไม้ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสามารถนำไปผลิตเป็นพลังงานประเภทต่าง เช่นBiogasBiomass นอกจากนี้ ยังสามารถผลิตปุ๋ยได้ด้วย
2. ขยะรีไซเคิล เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง
3. ขยะอันตราย คือ ขยะที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ เช่น สารพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรคหรือเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม วัตถุกรรมมันตรังสี วัตถุกัดกร่อน เข่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ เป็นต้น ควรนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ไห้รั่วซึมลงแหล่งน้ำ หรือชั้นผิวดิน
4. ขยะทั่วไป คือขยะประเภทอื่น ขยะที่นอกเหนือจาก ขยะย่อยสลายได้ ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย มีลักษณะย่อยสลายยากไม่คุ้มค่าต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น ซองขนม กล่องโฟม จำเป็นต้องหาวิธีกำจัดอย่างถูกวิธี
อย่าลืม! การแยกขยะทิ้ง เป็นเรื่องสำคัญ มาเริ่มต้นที่ตัวเราตั้งแต่วันนี้ กันนะคะ…ขยะใครว่า ไม่มีประโยชน์

ทำไมเราต้องคัดแยกขยะ

หลังจากที่เราทิ้งขยะลงไปในถังแล้ว เรากลับไม่รู้เลยว่าขยะเหล่านั้นอาจจะไปส่งผลกระทบต่อผู้อื่นรวมถึงระบบนิเวศได้ง่ายๆ เพราะขยะหลากหลายรูปแบบจะไปกองทับถมกันโดยที่ไม่ได้ถูกแยกประเภทตั้งแต่แรก สิ่งที่ปะปนอยู่ในกองขยะเหล่านั้นก็จะกลายเป็นแหล่งเชื้อโรค และแบคทีเรียขนาดใหญ่ที่สามารถแพร่เชื้อให้กับผู้ที่สัมผัสกับขยะเหล่านี้โดยตรงได้

Continue reading ทำไมเราต้องคัดแยกขยะ