All posts by นางสาวอรนุช ศรีอินทร์

เมื่อนักบัญชีเลี้ยงลูก

ชีวิตคนทำงานที่มีครอบครัวอย่างเรา โดยเฉพาะครอบครัวที่ยังมีลูกเล็กๆ อยู่ ต่างก็มุ่งหวังหาสิ่งที่ดี่ที่สุดให้ลูกๆ กลายเป็นว่าชีวิตส่วนใหญ่ ก็จะมีเรื่องคิดถึงกิจกรรมเสริมให้กับลูกๆ แต่ก็ทำให้คิดโยงมาถึงเรื่องของงานในแต่ละวัน ที่เราต้องมีการวางแผนการทำงานในแต่ละวัน เพื่อให้ประสบความสำเร็จและเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร

เรื่องการดูแลครอบครัวก็เช่นเดียวกันค่ะ คนที่ทำหน้าที่เป็นพ่อและแม่ ก็ต้องมีการวางแผนให้กับลูกๆ ว่า เราอยากให้ลูกๆ มีอนาคตเป็นอย่างไร แล้วเราก็วางแผนกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ลูกๆ ของเราเดินไปตามแนวทางที่เราวางไว้ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องคุยกับลูกๆ ของเราด้วยเช่นเดียวกันว่า ลูกๆ ของเราสนใจในเรื่องอะไร เพื่อที่จะได้วางแผนให้ลูกๆ ได้ทั้งความรู้ ความสนุก มีความสุขในการเรียน

ผู้เขียนทำงานเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี ซึ่งต้องมีความละเอียดรอบคอบ งานที่ออกมาจะต้องถูกต้อง จึงมักจะสอนลูกๆ อยู่เสมอ ในเรื่องความละเอียด การทบทวนความถูกต้อง มีการสอนกลายๆ ให้กับลูกๆ ในเรื่องของเก็บออมเงิน เช่น ให้ค่าขนมไปโรงเรียน วันละ 20 บาท เนื่องจากทางโรงเรียนมีอาหารให้ไว้เรียบร้อยแล้ว ลูกๆ ก็จะใช้จ่ายเงินแค่ตอนช่วงเลิกเรียน อาจจะซื้อขนม น้ำดื่ม บ้าง ลูกๆ จะมีเงินเหลือเก็บทุกๆ วัน กลายเป็นว่า ลูกๆ จะเก็บเงินและมีการนับเงินที่มีอยู่ในกระปุกแต่ละสัปดาห์ นำมาแลกกับผู้เขียน โดยมีวิธีการแลกเป็นขั้นตอนเหมือนกันค่ะ คือ จะเอาเหรียญมาแลกเป็นแบงค์ 20 จากแบงค์ 20 ที่แลกมาได้จำนวนหนึ่ง ก็จะรวบรวมผสมกันมาแลกเป็น แบงค์ร้อย และจากแบงค์ร้อย รวมกันมากเข้าก็มาแลกเป็นแบงค์พัน และเมื่อเห็นสมควรตามความพอใจของลูกๆ ก็จะฝากผู้เขียนไปเข้าธนาคารเป็นประจำ ผู้เขียนสังเกตเห็นความตั้งใจของลูก ลูกเห็นคุณค่าของเงิน เห็นความคิดในการรวบรวมจากจำนวนเงินเล็กน้อยไปเป็นก้อน

รู้เรื่องเงินประกันสังคมที่จ่ายไปทุกเดือน

สำนักงานประกันสังคม ได้แจงถึง เงินสมทบ 5%  ที่หักจากเงินเดือนที่เราจ่ายเงินทุกเดือน มนุษย์เงินเดือนอย่างเราต้องรู้ –ต้องศึกษาไว้ เงินที่ถูกหักจากเงินเดือนจ่ายประกันสังคม จำนวน 750 บาท แล้วนายจ้างจ่ายสมทบ ทุกเดือนให้อีก 750 บาท ต่อคน ต่อเดือน ‪ ในแต่ละเดือนของประกันสังคม‬ จะถูกแบ่งเป็น 7 กรณี ดังนี้

  1. กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย (จ่ายเงินสมทบ 0.88% = 132 บาท/เดือน)  สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ว่าอาการเจ็บป่วยจะรุนแรงขนาดไหนก็ตาม  กรณีหยุดงานจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50 %  ของค่าจ้าง ตามใบรับรองแพทย์ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน
  2. กรณีคลอดบุตร (จ่ายเงินสมทบ 0.12 % =18 บาท/เดือน) เบิกค่าคลอดบุตรได้ครั้งละ 13,000 บาท/ไม่เกิน 2 ครั้ง
  3. กรณีทุพพลภาพ (จ่ายเงินสมทบ 0.44 % = 66 บาท/เดือน) ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เดือนละ 7,500 บาท ตลอดชีวิตและค่ารักษาพยาบาลหากเข้ารักษาที่โรงพยาบาลของรัฐฟรี หากเข้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชนจ่ายให้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท
  4. กรณีเสียชีวิต (จ่ายเงินสมทบ 0.06 % = 9 บาท/เดือน) ได้ค่าทำศพ 40,000 บาท และเงินสมทบแก่ทายาทตามระยะเวลาการส่งเงินสมทบกรณีส่งเงินสมทบ 3 ปีขึ้นไป ได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเดือนครึ่ง และส่งเงินสมทบ 10 ปีขึ้นไป  ได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้าง 5 เดือน
  5. กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 400 บาทต่อบุตร 1 คน  โดยให้เบิกได้พร้อมกันคราวละ 2 คน รวมเป็นเดือน 800 บาท  โดยจะให้เบิกได้ตั้งแต่เกิดจนอายุครบ 6 ปี                                                                           – รวมตั้งแต่ ข้อ 1-5 จ่ายเงินสมทบ 225 บาท ดูแลเรื่องเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และตาย ถ้าไม่ใช้สิทธิ เงินส่วนนี้ก็จะหายไป .. ไม่ได้คืน
  6. กรณีชราภาพ ( ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 3% = 450 บาท/เดือน  นายจ้างจ่ายสมทบ 3 % = 450 บาท/เดือน รวม =900 บาท/เดือน) ผู้ประกันตนจะได้รับเงินรายเดือนตลอดชีพ  ในกรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี  จะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 20 % ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย  แต่ถ้าระยะเวลาการจ่ายเงินมากกว่า 15 ปี  ก็จะได้รับเงินบำนาญเพิ่มขึ้นปีละ 1.5 % ของค่าจ้างไปตลอดชีวิต  และในกรณีจ่ายเงินไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับคืนในส่วนเงินออมของผู้ประกันตน  และของนายจ้างรวมทั้งเงินผลประโยชน์ทดแทน เช่น ผู้ประกันตนได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาทมาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำนาญชราภาพโดยคำนวณดังนี้                                                                                                = 15 ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%                                                                    = 5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (1.5%(ปรับเพิ่ม)x 5 ปี) = 7.5%                  รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี = 20% + 7.5% = 27.5%                                    ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน = 27.5% ของ 15,000 บาท                = 4,125 บาท/เดือน จนตลอดชีวิต                                                                  –  ข้อ 6 จำนวนเงิน 450 บาท เก็บเป็นเงินออม จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี โดยเงื่อนไข การได้เงินก้อนสุดท้าย (เงินออม เมื่อครบ 55 ปี คืน)
  7. กรณีว่างงานจ่ายเงินสมทบ 5% = 75 บาท ได้รับความคุ้มครองดังนี้              7.1 ถูกเลิกจ้าง จะได้รับร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน ระยะเวลาการจ่ายไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน) ภายใน 1 ปี เช่น ผู้ประกันตน เงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท  จะได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงานวันละ 250 บาท = 250×30 วัน  ดังนั้นจะได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงานเฉลี่ยเดือนละ 7,500 บาท            7.2 ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลาจะได้รับร้อยละ 30 ของค่าจ้างรายวัน ระยะเวลาจ่ายไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน) เช่น ผู้ประกันตน เงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท  จะได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงานวันละ 150 บาท = 150 x 30 วัน  ดังนั้นจะได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงานเฉลี่ยเดือนละ 4,500 บาท                                                                                                         – ข้อ 7 นี้ จำนวนเงิน  75 บาท ใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ ก็เอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างตกงาน รอหางานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป .. ไม่ได้คืน

จึงนำมาบอกให้ผู้สนใจได้ทราบไว้ ว่าเงินที่เราจ่ายไปไปไหนบ้าง และเราจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง

รายการอ้างอิง
สำนักงานประกันสังคม. สปส. แจงเงินสมทบ 5% คุ้มครองผู้ประกันตนตั้งแต่เกิด-ตาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 จาก http://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/5btod(1).pdf

เที่ยววันหยุดยาว

วันหยุดยาว 1-5 พฤษภาคม 2558  เราได้โอกาสพาเด็กๆไปเที่ยว  เราออกเดินทางวันที่ 1 พฤษภาคม 58 มุ่งหน้าสู่ จ.เพชรบุรี  ระหว่างทางจากกรุงเทพฯ ถึง เขาย้อย  รถติดมากๆ   เดินทางมาถึงเวลา 15.00 น. เข้าที่พักที่เราจองไว้ บ้านไร่สุขแสงจันทร์รีสอร์ท เป็นรีสอร์ทขนาดกลางอยู่ท่ามกลางหุบเขาที่โอบล้อมไปด้วยป่าเขาลำเนาไพร    ตื่นเช้าของวันที่ 2 พฤษภาคม รับประทานอาหารเช้าที่รีสอร์ท  จากนั้นเราพาเด็กๆเที่ยวแนว Adventure ขับรถขึ้นไปยังเขื่อนแก่งกระจานmap12

ดูทัศนียภาพของลำเขื่อนแก่งกระจาน  นั่งเรือหางยาวชมเขื่อน  จากนั้นขับรถขึ้นไปต่อที่บ้านกร่างแคป์ม  นักท่องเที่ยวส่วนมากจะมากางเต้นพักแรมกันที่นี่   และที่นี่เองก็เป็นแหล่งรวมผีเสื้อนานาชนิดหลากหลายพันธุ์สีสันสวยงามให้ชมเป็นจำนวนมาก2064-attachment

ได้เวลาขับรถต่อขึ้นไปที่พะเนินทุ่ง  ชมทะเลหมอก กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา

picture-164255216271

ได้เวลาอันสมควร แก่การเที่ยวอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  ขับรถออกมุ่งตรงไปยังชะอำ เพราะเด็กๆ อยากเที่ยวทะเลมาก เราเช็คอินเข้าพักที่โรงแรมโนโวเทล เวลา 15.00 น.  เย็นวันนี้เด็กๆเล่นน้ำทะเลจนฉ่ำใจ  ค่ำๆ เราเดินทางไปรับประทานอาหารที่ ปลาทูเรสเตอรอง  ร้านอยู่ใกล้ๆ กับโรงแรม   ร้านตั้งอยู่ริมชายหาดบรรยากาศน่านั่งรับลมทะเลชิลๆ อาหารรสชาดใช้ได้  แต่วันนี้ที่เรามากินคนเยอะมาก  เป็นเพราะวันหยุดยาว  เช้าวันที่ 3 เรารีบรับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม  เพื่อที่หลังจากนั้นเราจะไปซื้อปูเป็นๆ จากชาวประมง ที่สะพานปูชัก  ไปชะอำทุกทีเราจะต้องมาซื้อปูที่นี่ และน๊อคน้ำแข็งกลับบ้านไปทุกที  แต่ครั้งนี้เรายังไม่กลับบ้านเลยซื้อแต่พอกิน ให้เขานึ่งให้เลย  ราคาปูเป็นวันนี้ กิโลกรัมละ 400 บาท   กลับมาด้วยจำนวนปูที่พอให้เด็กๆได้กินก่อน  กลับมาเช็คเอ้าท์ที่โรงแรม  และเตรียมไปเช็คอินที่ รีเจ้นท์ ชาเล่ รีเจ้น บีซ  วันนี้เรามีทริปไปตกหมึก  เช่าเรือชาวประมงออกไปตกหมึกกัน  แต่วันนี้ไม่ค่อยมีหมึกซักเท่าไหร่  เพราะเป็นพระจันทร์เต็มดวง  การตกหมึกต้องตกข้างแรมท้องฟ้ามึดถึงจะได้หมึกมากๆ    จำใจออกเรือเพราะทนเสียงเรียกร้องจากเด็กๆไม่ไหว เพราะมาทะเลทุกทีต้องออกไปตกหมึกทุกครั้ง

134857670085

ส่วนบ่ายวันที่ 4 เราเข้าพักที่ อมารี หัวหิน   วันนี้เป็นวันสบายๆ  เด็กๆ เล่นน้ำทะเล  เล่นน้ำสระ  กินอิ่ม นอนหลับ  บ่ายของวันที่ 5 ออกจากโรงแรมอมารี หัวหิน เดินทางกลับกรุงเทพฯ ด้วยความสนุกสนาน

วันหยุดยาวแบบนี้ ท่านใดสนใจโปรแกรมแบบนี้บ้าง ลองวางแผนไปกันนะคะ

20 นิสัยที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จ

คงปฏิเสธกันไม่ได้ว่าคนทุกคนอยากประสบความสำเร็จในชีวิต เราเลยเอานิสัยที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในชีวิตต้องมีนิสัยอย่างไรบ้าง จากเว็บไซต์ http://www.kiitdoo.com มาแชร์กันค่ะ ลองสำรวจตัวเองนะว่าเรามีข้อไหนบ้างแล้ว และข้อไหนที่ยังไม่มีและควรเพิ่ม  ทั้ง 20 ข้อ มีดังนี้ค่ะ

  1. ไม่ให้คำนิยามความสำเร็จจาก “เงิน”
  2. ไม่เริ่มต้นวัน โดยไม่วางแผน
  3. ความสมบูรณ์แบบไม่ใช่เป้าหมาย
  4. ไม่สุงสิงกับคนมองโลกในแง่แคบ
  5. ไม่มองเรื่องยากๆ หรือปัญหาในแง่ลบ
  6. ไม่จมอยู่กับความล้มเหลว
  7. ไม่จมอยู่กับปัญหา
  8. ไม่เอาสิ่งที่คนอื่นตัดสินคุณมาเป็นสาระสำคัญ
  9. ไม่ชอบแก้ตัว
  10. ไม่อิจฉา เมื่อเห็นคนอื่นประสบความสำเร็จ
  11. ไม่เคยละเลยคนที่เขารัก
  12. ไม่มองข้าม “ความสนุก”
  13. ไม่ละเลยสุขภาพ
  14. ไม่ตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน
  15. ไม่ดีแต่พูด พูดจริงทำจริง
  16. ไม่ปล่อยให้ตัวเองตกเป็นเหยื่อ
  17. ไม่จมกับอดีต
  18. ไม่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
  19. ไม่หยุดที่จะเรียนรู้
  20. ไม่เคยจบทุกวันโดยปราศจากการขอบคุณ

ทั้งนี้ รายละเอียดของแต่ละข้อ ติดตามได้ที่  http://www.kiitdoo.com/20-นิสัย-ปฏิเสธ

รายการอ้างอิง

20 นิสัยที่คนประสบความสำเร็จ “ปฏิเสธ” ที่จะมีเด็ดขาด!!
SHARETWEETEMAIL สืบค้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 จาก http://www.kiitdoo.com/20-นิสัย-ปฏิเสธ

อบรมการจัดทำแผนรายงานการรับจริงและรายจ่ายจริง

กองแผนงาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดอบรมการจัดทำแผนรายงานการรับจริงและรายจ่ายจริง ในวันอังคารที่ 23 ธันวาคม 2557 เวลา 8.00 – 12.00 น. อาคารบรรยายรวม คณะวิทยาศาสตร์ มธ.ศูนย์รังสิต ดิฉันได้รับมอบหมายเข้าร่วมการอบรมหลักสูตรดังกล่าว ซึ่งเป็นข่าวดีสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านงบประมาณของหน่วยงาน คือ กองแผนงานได้จัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปขึ้นใหม่ ในการจัดทำรายงานรายรับจริงและรายจ่ายจริงส่งกองแผนงาน จึงมีความจำเป็นต้องจัดอบรมแก่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้มีความเข้าใจในตัวของระบบ และการกรอกข้อมูลที่ถูกต้อง

โปรแกรมนี้เริ่มต้นจากการจัดตั้งงบประมาณเข้าระบบ ผ่านมายังการทำแผนรายรับและรายจ่าย มาจนถึงระบบจะดึงชื่อรายการที่กรอกไว้ตอนตั้งงบแต่ต้นออกมาเป็นรายการ เพื่อที่ผู้ปฏิบัติงานกรอกตัวเลขผลการรับจริงจ่ายจริงลงไปได้เลย ซึ่งเดิมผู้ปฏิบัติงานจัดทำรายงานผลรับจริงจ่ายจริงจะต้องพิมพ์ข้อมูลทุกแผนงานและทุกผลผลิตเข้าไปทุกตัวอักษร ซึ่งการที่กองแผนงานนำโปรแกรมสำเร็จรูปนี้มาใช้ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้เร็วขึ้น จากเดิมใช้เวลาการจัดทำข้อมูล กรอกข้อมูลทั้งกระบวนงานใช้เวลา 4 วัน แต่มีโปรแกรมนี้แล้วใช้เวลาเพียง 2 วัน และยังมีความง่ายในการกรอกข้อมูล เนื่องจากการดึงข้อมูลเป็นการไหลของข้อมูลตั้งแต่ตอนตั้งงบ ทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการพิมพ์ข้อมูล ง่ายต่อการตรวจสอบ