Tag Archives: การออม

เมื่อนักบัญชีเลี้ยงลูก

ชีวิตคนทำงานที่มีครอบครัวอย่างเรา โดยเฉพาะครอบครัวที่ยังมีลูกเล็กๆ อยู่ ต่างก็มุ่งหวังหาสิ่งที่ดี่ที่สุดให้ลูกๆ กลายเป็นว่าชีวิตส่วนใหญ่ ก็จะมีเรื่องคิดถึงกิจกรรมเสริมให้กับลูกๆ แต่ก็ทำให้คิดโยงมาถึงเรื่องของงานในแต่ละวัน ที่เราต้องมีการวางแผนการทำงานในแต่ละวัน เพื่อให้ประสบความสำเร็จและเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร

เรื่องการดูแลครอบครัวก็เช่นเดียวกันค่ะ คนที่ทำหน้าที่เป็นพ่อและแม่ ก็ต้องมีการวางแผนให้กับลูกๆ ว่า เราอยากให้ลูกๆ มีอนาคตเป็นอย่างไร แล้วเราก็วางแผนกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ลูกๆ ของเราเดินไปตามแนวทางที่เราวางไว้ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องคุยกับลูกๆ ของเราด้วยเช่นเดียวกันว่า ลูกๆ ของเราสนใจในเรื่องอะไร เพื่อที่จะได้วางแผนให้ลูกๆ ได้ทั้งความรู้ ความสนุก มีความสุขในการเรียน

ผู้เขียนทำงานเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี ซึ่งต้องมีความละเอียดรอบคอบ งานที่ออกมาจะต้องถูกต้อง จึงมักจะสอนลูกๆ อยู่เสมอ ในเรื่องความละเอียด การทบทวนความถูกต้อง มีการสอนกลายๆ ให้กับลูกๆ ในเรื่องของเก็บออมเงิน เช่น ให้ค่าขนมไปโรงเรียน วันละ 20 บาท เนื่องจากทางโรงเรียนมีอาหารให้ไว้เรียบร้อยแล้ว ลูกๆ ก็จะใช้จ่ายเงินแค่ตอนช่วงเลิกเรียน อาจจะซื้อขนม น้ำดื่ม บ้าง ลูกๆ จะมีเงินเหลือเก็บทุกๆ วัน กลายเป็นว่า ลูกๆ จะเก็บเงินและมีการนับเงินที่มีอยู่ในกระปุกแต่ละสัปดาห์ นำมาแลกกับผู้เขียน โดยมีวิธีการแลกเป็นขั้นตอนเหมือนกันค่ะ คือ จะเอาเหรียญมาแลกเป็นแบงค์ 20 จากแบงค์ 20 ที่แลกมาได้จำนวนหนึ่ง ก็จะรวบรวมผสมกันมาแลกเป็น แบงค์ร้อย และจากแบงค์ร้อย รวมกันมากเข้าก็มาแลกเป็นแบงค์พัน และเมื่อเห็นสมควรตามความพอใจของลูกๆ ก็จะฝากผู้เขียนไปเข้าธนาคารเป็นประจำ ผู้เขียนสังเกตเห็นความตั้งใจของลูก ลูกเห็นคุณค่าของเงิน เห็นความคิดในการรวบรวมจากจำนวนเงินเล็กน้อยไปเป็นก้อน

มุมตลาดหลักทรัพย์ Set Corner

ห้องสมุดเป็นแหล่งบริการทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายสาขาวิชาและสื่อการเรียนรู้ต่างๆ  บางครั้งห้องสมุดมักจะมี หนังสือหรือ Collection แยกออกจากชั้นหนังสือทั่วไป อาจจะเพื่อให้มีความโดดเด่น หรืออาจจะเพื่อเป็น หนังสือ/Collection พิเศษ ที่ต้องการให้เป็นที่สะดุดตา หรืออาจจะเป็นหนังสือ/Collection ที่มีผู้มอบให้ หรือเป็นหนังสือ/Collection เฉพาะของบุคคลสำคัญ  หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ก็เช่นเดียวกัน มีมุมหนังสือ/Collection ต่างๆ มากมาย และมุมที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่ง คือ มุมหนังสือตลาดหลักทรัพย์ หรือรู้จักกันในชื่อว่า SET Cormer

1

 SET  Corner ที่หอสมุดปรีดี พนมยงค์

มุมตลาดหลักทรัพย์ (Set Corner) ตั้งอยู่บริเวณชั้น U1 ด้านในของห้องสมุดจะติดกับมุมป๋วย เพื่ออุษาคเนย์ และอาเซียน  มุมตลาดหลักทรัพย์เป็นมุมที่ได้รับความสนับสนุนและอนุเคราะห์จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand) มอบหนังสือให้กับทางห้องสมุด ซึ่งได้แก่

1. หมวดวิชาการที่ใช้ในระดับอุดมศึกษา  ด้านการเงิน การบัญชี การบริหาร การเงินส่วนบุคคล คู่มือและแนวทางต่าง ๆ เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี

2. หมวดหนังสือประเภทสาระความรู้  ด้านการออม  การลงทุน  การบริหารการเงินส่วนบุคคล

3. หมวดวารสาร  ประกอบด้วย วารสารข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสารในแวดวงตลาดทุน รายเดือน และรายปี ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

4. หมวดประมวลข้อกำหนด  ประกอบด้วยประมวลข้อบังคับ และกฏระเบียบต่าง ๆ ที่ออกโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

5.  หมวดเอกสารเผยแพร่  ประกอบด้วยความรู้พื้นฐานด้านการออมและการลงทุน  ซึ่งเผยแพร่ให้กับผู้สนใจลงทุนทั่วไป  มุมตลาดหลักทรัพย์ที่ทางห้องสมุดได้จัดทำนี้คงจะให้ความรู้สำหรับผู้ที่สนใจในการลงทุนทางด้านการเงินและการลงทุนไม่มากก็น้อยและสามารถมาอ่านหนังสือที่มุมนี้ได้

ผู้ที่สนใจหาความรู้ด้านการลงทุน และเรื่องตลาดหลักทรัพย์ เชิญได้ค่ะ

ว่าด้วยเรื่อง เงินๆ ทองๆ ของชาวญี่ปุ่น

ตัวเองเป็นคนชอบคนญี่ปุ่น ชอบดูสารคดีของญี่ปุ่น ฝันว่าอยากจะไปเที่ยวญี่ปุ่น ซักครั้ง  ยิ่งตอนนี้ เปิดให้ทำวีซ่า ฟรี ความฝันของเราคงใกล้จะเป็นจริง แต่ตอนนี้ ขอเก็บเงินก่อน และอ่านเรื่องราวของคนญี่ปุ่น เป็นข้อมูลสะสมไปเรื่อยๆ  ได้อ่านบทความเรื่อง ว่าด้วยเงินๆทองๆ ของชาวญี่ปุ่น ซึ่งเขียนโดย ดร. ธนัยวงศ์ กีรติวนิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นอีกมุมหนึ่งที่วิเคราะห์คนญี่ปุ่น เลยอยากจะขอนำมาเขียนหรือเล่าให้อ่านกันค่ะ

ดร. ธนัยวงศ์ เขียนไว้ว่า เดิมคนญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการออมเข้มแข็งกว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากประสบกับความทุกข์ยากจากสงครามโลกครั้งที่ 2  แต่ปัจจุบัน พฤติกรรมการออมลดลง เนื่องจาก คนรุ่นใหม่ มีนิสัยรักการออมน้อยลง แถมก่อหนี้ภาคครัวเรือนสูงกว่าสมัยก่อนอีกด้วย  อีกประการหนึ่งก็คือ ประชากรผู้สูงอายุมากขึ้น คนหนุ่มสาวแต่งงานช้า ไม่นิยมมีบุตรมาก กำลังการซื้อจึงอยู่ที่ประชากรผู้สูงอายุ  นอกจากนี้ยังมีอีกหลายมุมมอง ที่ ดร. ธนัยวงศ์ เขียนไว้ซึ่งน่าสนใจมากค่ะ สามารถติดตามอ่านได้ที่  ว่าด้วยเรื่อง เงินๆ ทองๆ ของชาวญี่ปุ่น

รายการอ้างอิง:

ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์. ว่าด้วยเรื่อง เงินๆ ทองๆ ของชาวญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 จาก http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1153&read=true&count=true

เราพร้อมที่จะเกษียณแล้วหรือยัง ตอนที่ 2

เมื่อครั้งที่แล้วเราได้ตรวจสอบความพร้อมในการเกษียณกันไปแล้ว กับ “เราพร้อมที่จะเกษียณแล้วหรือยัง ตอนที่ 1” วันนี้เราจะมาเรียนรู้การวางแผนเพื่อไปสู่เป้าหมายของการเกษียณอย่างมีความสุขตามที่ฝันกันครับ

100994257-171343733r.600x400
Ref : www.cnbc.com

Continue reading เราพร้อมที่จะเกษียณแล้วหรือยัง ตอนที่ 2

เราพร้อมที่จะเกษียณแล้วหรือยัง ตอนที่ 1

หากกล่าวถึงคำว่าเกษียณให้วัยเริ่มทำงานได้ยินได้ฟัง คงไม่ใคร่มีใครสนใจฟังมากนัก ด้วยยังคิดว่าอีกนานโขกว่าเรานั้นจะเกษียณ ยังต้องทำงานอีกตั้ง 20 – 30 ปี  ถ้าเช่นนั้นขอถามว่า ….

แล้วเราจะพร้อมที่จะเกษียณเมื่อไหร่กันหล่ะ”

หลังจากเกษียณแล้วเราจะใช้จ่ายอย่างไร  เงินออมและผลตอบแทนจากการลงทุนเพียงพอที่จะใช้ในยามที่เกษียณหรือไม่ หากเจ็บป่วยจะทำอย่างไร  หรือเราต้องทำงานไปตลอดชีวิต เราสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้มั๊ย หากตอบได้ คุณคือผู้ที่จะมีชีวิตในวันที่เกษียณอย่างมีความสุข หากตอบไม่ได้ คงต้องเริ่มคิดแล้วว่าคุณฝันถึงวันที่เกษียณเช่นไร

Continue reading เราพร้อมที่จะเกษียณแล้วหรือยัง ตอนที่ 1