คู่มือการปฏิบัติงาน : การถ่ายภาพเพื่อใช้ในการทำสื่อประชาสัมพันธ์ (public relations photography)

การถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์  เป็นการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับองค์กรต่อบุคคลทั้งภายนอกและภายในองค์กร  แม้ว่าจะยึดหลักแนวคิดความจริงนิยมเช่นเดียวกับการถ่ายภาพข่าว  แต่เป็นความจริงเฉพาะภาพที่สร้างภาพลักษณ์ (image) ด้านบวกต่อองค์กร  ดังนั้นจึงเปลี่ยนจุดเน้นมาที่การสื่อสารเชิงสัญลักษณ์มากขึ้น  เช่น  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   เน้นสีเหลือง-แดง ซึ่งเป็นสีประจำของมหาวิทยาลัย    นอกจากนี้  ยังมีภาพถ่ายประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารกิจกรรมในองค์กร  หรือเพื่อเสนอข่าวในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

2
ภาพอาคารโดมบริหารยามค่ำคืน สวยงดงามด้วยการประดับไฟให้ดูโดดเด่นอลังการ

 

 1. การถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์

1.1 ประเภทของภาพประชาสัมพันธ์  แบ่งได้เป็น  3 ประเภท  ดังนี้

1) การถ่ายภาพสถานที่ขององค์กร  อาคารและสถานที่ขององค์กรมีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร  เนื่องจากเป็นรูปธรรมที่คนภายนอกมองเห็นครั้งแรก  การออกแบบตกแต่งอาคารสถานที่ควรสอดคล้องกับการวางแนวทางขององค์กร  เช่น  หากวางแนวทางขององค์การว่ามีความทันสมัยด้วยเทคโนโลยี  ควรสื่อสารถึงการออกแบบตกแต่งภายนอกและภายในสถานที่ที่ดูทันสมัยด้วยสีสัน  รูปทรง  และวัสดุ ตกแต่งภายใน  ในทางตรงกันข้ามหากเป็นองค์กรที่เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรม  รูปลักษณ์ของการออกแบบตกแต่งควรเน้นความรู้สึกที่อบอุ่น  คลาสสิก  โดยใช้วัสดุที่เป็นศิลปะไทยในการตกแต่ง

6
ภาพอาคารโดมบริหารยามค่ำคืน สวยงดงามด้วยการประดับไฟให้ดูโดดเด่นอลังการ

 

 2) การถ่ายภาพบุคคล  การถ่ายภาพบุคคลเป็นการสะท้อนถึงบุคลิกลักษณะของบุคคล  และหากบุคคลนั้นเป็นผู้บริหารองค์การก็จะสะท้อนถึงลักษณะองค์การนั้นด้วย  ผู้บริหารจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของสมาชิกทั้งหมด  ดังนั้น  ฝ่ายประชาสัมพันธ์จึงควรดูแลให้ผู้บริหารมีการแสดงออกในทางสร้างสรรค์  เพราะภาพถ่ายเป็นสิ่งที่อยู่ยาวนานในสื่อสิ่งพิมพ์  สื่อโสตทัศน์  หรือแม้แต่ในหน้าหนังสือพิมพ์  เช่น  การประชาสัมพันธ์ภายในองค์การให้สมาชิกรู้สึกไว้วางใจที่มีผู้บริหารที่เป็นกันเอง   ภาพผู้บริหารควรแต่งตัวในลักษณะสบายๆ และมีการจัดท่าทางให้เป็นธรรมชาติ   แต่หากจะสื่อสารผู้บริหารต่อคนภายนอกว่า องค์กรนี้มีความทันสมัยทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ  ช่างภาพควรสื่ออารมณ์ผู้บริหารด้วยเครื่องแต่งกาย และจัดวางท่าทางที่สง่างาม เป็นต้น

ภาพตัวอย่างผู้บริหารองค์กร
ภาพตัวอย่างผู้บริหารองค์กร ในภาพคือผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ

ตัวอย่างภาพของผู้บริหารองค์กร ในภาพคือท่านผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มธ.

ภาพเด็กอ่านหนังสือ อิริยาบทเป็นธรรมชาติ และแสงยามบ่ายที่สวยงามทำให้ภาพนี้ดูอบอุ่น
ภาพเด็กอ่านหนังสือ อิริยาบทเป็นธรรมชาติ และแสงยามบ่ายที่สวยงามทำให้ภาพนี้ดูอบอุ่น

3) การถ่ายภาพกิจกรรมขององค์การ   การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง  คือ  การสร้างกิจกรรมขององค์การขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไป  หรือกลุ่มเป้าหมายได้รู้จักและจดจำองค์การนั้นๆ  โดยช่างภาพประชาสัมพันธ์ต้องบันทึกกิจกรรมต่างๆ ไว้  เช่น  พิธีเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นต้น

 

ภาพในพิธีเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ภาพในพิธีเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

 

 

 

 

 

 

 

อย่างไรก็ตาม   เนื่องจากมีการนิยมใช้กล้องดิจิตอลกันอย่างแพร่หลาย เพราะมีความสะดวกรวดเร็ว  ในที่นี่จึงจะขอกล่าวถึงการถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ด้วยกล้องดิจิตอล  เพื่อให้สอดคล้องกับการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในปัจจุบัน

 

1.2  ประเภทของกล้อง  แบ่งตามประเภทการใช้ฟิล์ม  มี  2 ประเภท  ดังนี้

กล้องถ่ายภาพประเภทต่างๆ
กล้องถ่ายภาพประเภทต่างๆ

1.กล้องฟิล์ม

เป็นกล้องถ่ายภาพบันทึกแสงที่สะท้อนจากวัตถุผ่านเลนส์ของกล้อง  โดยการจำลองภาพทางแสงให้บันทึกลงบนวัสดุไวแสง หรือฟิล์มถ่ายภาพ ซึ่งจะบันทึกเป็นภาพแฝงบนวัสดุไวแสง ก่อนนำไปผ่านกระบวนการล้างให้เป็นภาพถ่ายถาวร

2.กล้องไม่ใช้ฟิล์ม หรือกล้องดิจิตอล

เป็นกล้องถ่ายภาพที่ไม่ต้องใช้ฟิล์ม ภาพที่ถ่ายได้จะถูกบันทึกไว้ในรูปแบบดิจิตอลผ่านวงจรอิเล็กทรอนิคส์ภายในกล้อง  โดยอยู่ในรูปแบบของไฟล์ซึ่งสามารถนำไปตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมต่างๆ เช่น Photoshop  หรือใช้งานในรูปแบบต่างๆได้   โดยกล้องดิจิตอลแบ่งออกเป็น  4  ประเภท  ดังนี้

 2.1 กล้องดิจิตอล  Ultra-Compact    เป็นกล้องเอนกประสงค์ ขนาดเล็ก กะทัดรัด สามารถพกติดตัวไปได้ทุกที่ น้ำหนักเบา บาง ราคาค่อนข้างสูง มีรุ่นให้เลือกน้อย  ระบบเกี่ยวกับการถ่ายภาพค่อนข้างจำกัด  การใช้งานไม่สะดวก เนื่องจากปุ่มควบคุมต่างๆ จะเล็ก จับไม่ค่อยถนัด 07’เหมาะสำหรับผู้หญิง หรือใช้ในการทำงานที่ต้องพกพาเป็นประจำ

 

2.2 กล้องดิจิตอล คอมแพ็ค  คือ  กล้องชนิดพกพาที่ไม่สามารถเปลี่ยนถอดเลนส์ได้ เป็นกล้องที่ออกแบบให้ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เน้นไปในทางระบบอัตโนมัติหรือมีฟังก์ชั่นช่วยเหลือมากกว่าให้ผู้ใช้ปรับตั้งเอง  รูปร่างของกล้องมีตั้งแต่ขนาดเล็กกระทัดรัดไปจนถึงขนาดที่จับถนัดมือ หรือบางตัวก็เลียนแบบหน้าตากล้อง SLR แบบย่อส่วน

 

กล้องถ่ายรูปแบบ D-SLR มีคุณภาพสูงและเป็นที่นิยมสำหรับงานถ่ายภาพที่ต้องการคุณภาพของงาน
กล้องถ่ายรูปแบบ D-SLR มีคุณภาพสูงและเป็นที่นิยมสำหรับงานถ่ายภาพที่ต้องการคุณภาพของงาน

 

2.3  กล้องดิจิตอล DSLR (Digital Single Lens Reflex)  เป็นกล้องดิจิตอลที่สามารถเปลี่ยนถอดเลนส์ได้ และเป็นกล้องที่ผู้ใช้จะต้องมีความรู้ในการถ่ายภาพดีพอสมควร  เนื่องจากมีฟังก์ชั่นการทำงานที่ซับซ้อนและมีลุกเล่นต่างๆ เพิ่มเข้ามามากกว่าในกล้องดิจิตอลคอมแพ็ค อีกทั้งให้ผู้ใช้ปรับตั้งค่าต่างๆ เองได้ตามต้องการ รูปร่างขงกล้องค่อนข้างใหญ่ เนื่องจากขนาดเซ็นเซอร์รับภาพใหญ่กว่ากล้องดิจิตอลคอมแพ็คและยังต้องรองรับเลนส์และฟังก์ชั่นการทำงานที่ซับซ้อนอีกด้วย

2.4  กล้องดิจิตอลขนาดใหญ่   เป็นกล้องระดับมืออาชีพ ขนาดค่อนข้างใหญ่และหนัก ราคาสูง  มีฟังก์ชั่นในการบันทึกภาพครบครัน  มีอุปกรณ์เสริมมากกว่า  สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ เหมาะสำรับการถ่ายภาพโฆษณาหรือภาพประกอบนิตยสาร

 

รูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์
รูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์

1.3 ความสัมพันธ์ของรูรับแรงและความเร็วชัตเตอร์

กล้องที่มีโหมดการถ่ายภาพแบบ Manual  จะสามารถปรับค่าทั้งสองได้เอง แต่กล้องที่มีเฉพาะโหมดการถ่ายภาพแบบอัตโนมัติ ค่าทั้งสองจะถูกกำหนดให้โดยกล้องเอง

1.3.1  รูรับแสง (Aperture ) เป็นช่องที่ควบคุมให้แสงผ่านเข้าไปตกที่เซนเซอร์รับแสงในปริมาณต่างๆ ซึ่งขนาดของรูรับแสงนั้นจะวัดหน่วยเป็น F-number  โดยที่ค่า F-number  มากๆ หมายถึงรูรับแสงแคบ แสงสามารถผ่านเข้าไปได้น้อย ส่วนค่า F-number  น้อยๆ หมายถึงรูรับแสงกว้าง แสงสามารถผ่านเข้าไปได้มาก ดังภาพด้านล่าง

ตัวกำหนดปริมาณของแสงที่จะผ่านเลนส์เข้าไปสู่ตัวรับ รียกว่า f-stop หรือ f-number

เลขยิ่งน้อย รูรับแสงยิ่งกว้าง = แสงผ่านเลนส์เข้าไปสู่ตัวรับได้มาก

1.3.2  ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter  Speed)

เป็นความเร็วในการเปิด /ปิด ช่องรับแสง เพื่อควบคุมเวลาที่ให้แสงผ่านเข้ามา แสดงเป็นตัวเลขในหน่วยวินาที โดยที่ ความเร็วชัตเตอร์สูง หมายถึง เวลาที่แสงสามารถผ่านเข้าสู่กล้องมีน้อย ซึ่งได้ภาพที่หยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุ เช่น 1/500,1/125 วินาที เป็นต้น ส่วนความเร็วชัตเตอร์ต่ำ หมายถึง เวลาที่แสงสามารถผ่านเข้าสู่กล้องได้นาน ซึ่งจะได้ภาพที่เห็นการเคลื่อนไหวของวัตถุ เช่น 1/8,1/2,1/2, 1 วินาที เป็นต้น

1.4  การเลือกความละเอียดของภาพ

รูปแบบไฟล์ภาพของกล้องทุกรุ่นสนับสนุนรูปแบบ JPEG เมื่อเลือกไฟล์ภาพแบบนี้ จะต้องเลือกอีกสองอย่างคือ ระดับความละเอียดของภาพ และระดับคุณภาพของภาพ โดยระดับความละเอียดของภาพนั้น  กล้องแต่ละรุ่นสามารถเลือกระดับความละเอียดสูงสุดตามคุณสมบัติของกล้องนั้นๆ เช่น 5,8 หรือ 10ล้านพิกเซล ซึ่งสามารถเลือกความละเอียดต่ำกว่านั้นได้ด้วย แต่ตัวเลือกในกล้องบางรุ่นอาจไม่ได้บอกมาเป็นจำนวนล้านพิกเซล แต่จะบอกเป้นขนาด กว้างXยาว ของภาพ เช่น  1280X960  พิกเซล เป็นต้น  การเลือกระดับความละเอียดของภาพมักขึ้นอยู่กับการงานเป็นหลัก โดยทั่วไปหากต้องการนำภาพไปพิมพ์ในขนาด 4X6  นิ้ว (จัมโบ้) ได้สวยงาม ก็ควรเลือกความละเอียดประมาณ 1280X960 หรือ 1600 X1200 พิกเซลขึ้นไป แต่ถ้าต้องการนำไปใช้ในงานสิ่งพิมพ์ที่ต้องกรความละเอียดมาก เช่น พิมพ์หนังสือ หรือโปสเตอร์แผ่นใหญ่ ควรถ่ายที่มีความละเอียดสูงๆ ซึ่งต้องแล้วแต่ความสามารถของกล้องด้วย

1.5 เงื่อนไขในการเลือกฟอร์แมตของไฟล์รูป

ฟอร์แมตของไฟล์รูปที่นิยมในกล้องทั่วไปมี 2 รูปแบบ คือ JPEG และ RAW  โดย JPEG เป็นฟอร์แมตที่มีการบีบอัดเพื่อลดขนาดของข้อมูลและยอมให้มีการสูญเสียคุณภาพของภาพได้บ้าง ส่วน RAW คือการจัดเก็บเป็น “ข้อมูลดิบ” ของภาพที่ได้จากเซ็นเซอร์รับแสงโดยตรงและไม่มีการสูญเสียคุณภาพ จึงบีบอัดได้ไม่มากอย่าง JPEG การเลือกฟอร์แมตของไฟล์ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการยำภาพไปใช้งาน โดยการถ่ายภาพในรูปแบบ  JPEG ไฟล์ที่ได้ไม่สามารถปรับแต่งได้มากนัก เพราะผ่านการแปลงสีและบีบอัดมาแล้ว แต่การถ่ายภาพในแบบ RAW  สามารุนำภาพนั้นมาใช้โปรแกรมปรับแต่งเพิ่มเติมได้หลากหลาย ดังนั้น งานที่ต้องวการความแน่นอน ควรถ่ายในรูปแบบ RAW เก็บไว้ ส่วนภาพโดยทั่วไปที่ต้องการความง่ายในการจัดการภาพ ควรใช้รูปแบบ JPEG

 1.6 การจัดองค์ประกอบทางศิลปะของภาพ  (Principles of Composition)

การนำเอาองค์ประกอบต่าง ๆ ของศิลปะ ได้แก่  เส้น  สี  แสง  เงา  รูปร่าง  รูปทรง  พื้นผิว  ฯลฯ  มาจัดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความงาม  เรียกว่า การจัดองค์ประกอบศิลป์ (Art  Composition)  ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะแสดงให้ผู้ชมรับรู้และสัมผัสถึงวัตถุประสงค์ของภาพแต่ละภาพ  โดยต้องคำนึงถึงปัจจัย  ดังนี้

  1. สัดส่วน  (Property)  หมายถึง  ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างขนาดขององค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือระหว่างรูปทรง รวมถึงความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างองค์ประกอบทั้งหลาย ซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี  ไม่มากไม่น้อย ขององค์ประกอบทั้งหลายที่นำมาจัดรวมกัน
  2. ความสมดุล  (Balance)  หรือ ดุลยภาพ หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ  ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง  ในทางศิลปะยังรวมถึงความประสานกลมกลืน ความพอเหมาะพอดีของส่วนต่าง ๆ ในรูปทรงหนึ่ง หรืองานศิลปะชิ้นหนึ่ง  การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ลงในงานศิลปกรรมนั้นจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วงในธรรมชาตินั้น  ถ้ามองดูแล้วรู้สึกว่าบางส่วนหนักไป แน่นไป  หรือ เบา  บางไปก็จะทำให้ภาพนั้นดูเอนเอียง  และเกิดความ รู้สึกไม่สมดุล เป็นการบกพร่องทางความงาม
  3. จังหวะลีลา  (Rhythm)   หมายถึง  การเคลื่อนไหวที่เกิดจาการซ้ำกันขององค์ประกอบ  เป็นการซ้ำที่เป็นระเบียบ จากระเบียบธรรมดาที่มีช่วงห่างเท่าๆ กันมาเป็นระเบียบที่สูงขึ้น  ซับซ้อนขึ้น  จนถึงขั้นเกิดเป็นรูปลักษณะของศิลปะ  โดยเกิดจากการซ้ำของหน่วย หรือการสลับกันของหน่วยกับช่องไฟ  หรือเกิดจากการเลื่อนไหลต่อเนื่องกันของเส้น สี รูปทรง หรือ น้ำหนัก
  4. การเน้น  (Emphasis)  หมายถึง  การกระทำให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดา ในงานศิลปะจะต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่ง  หรือจุดใดจุดหนึ่งที่มีความสำคัญกว่าส่วนอื่น ๆ  เป็นประธาน งานที่ไม่มีจุดสนใจ หรือประธานจะทำให้ดูน่าเบื่อ เหมือนกับลวดลายที่ถูกจัดวางซ้ำกันโดยปราศจากความหมาย ดังนั้น  ส่วนนั้นจึงต้องถูกเน้นให้เห็นเด่นชัดขึ้นมาเป็นพิเศษกว่าส่วนอื่น ๆ  ซึ่งจะทำให้ผลงาน

5. เอกภาพ (Unity) หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ทั้งด้านรูปลักษณะ และด้านเนื้อหาเรื่องราว  เป็นการประสานหรือจัดระเบียบของส่วนต่าง ๆ  ให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียว การสร้างงานศิลปะ  คือ  การสร้างเอกภาพขึ้นจากความสับสน  ความยุ่งเหยิง  เป็นการจัดระเบียบ  และดุลยภาพ ให้แก่สิ่งที่ขัดแย้งกันเพื่อให้รวมตัวกันได้  โดยการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กัน