Understanding the Collective Collection: Towards a System-wide Perspective on Library Print Collections

การประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 6
 ( OCLC 6th Asia Pacific Regional Council 2014 Membership Conference) วันที่ 13 ตุลาคม 2557 ช่วงเช้าเป็นการบรรยายโดย   Lorcan Dempsey, Vice President, OCLC Research and Chief strategist  ซึ่งมาบรรยายในหัวข้อ “Understanding the Collective Collection: Towards a System-wide Perspective on Library Print Collections”
       เนื้อหาของการบรรยายกล่าวถึงการสร้างความเข้าใจในทรัพยากรสารสนเทศแบบ Collective collection ของทรัพยากรสารสนเทศฉบับพิมพ์ผ่านมุมมองทั้งระบบ (ระบบในที่นี่คือภาพรวมทั้งหมดของ WorldCat) ในบทนำ Lorcan Dempsey กล่าวว่ายุคเครือข่ายได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล ธุรกิจ และหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดในแง่การบริหารจัดการทรัพยากร สารสนเทศที่เปลี่ยนไปในด้านมุมมอง ขอบเขตและคุณค่า
         แนวโน้มหนึ่งที่สำคัญคือห้องสมุดและหน่วยงานที่ให้บริการเหล่านี้มุ่งความ สนใจไปที่ องค์ประกอบของทรัพยากรสารสนเทศทั้งระบบ เราเห็นตัวอย่างนี้ในโลกดิจิทัลแล้ว นั่นก็คือ CLOCKSS หรือ Portio หรือ การรวมกันของ JSTOR และ HathiTrust หรือการรวบรวมเมทาดาทาจากทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลระหว่างองค์กรอย่าง Europeana, WorldCat, Digital Public Library of America

          เมื่อไม่นานมานี้ ทรัพยากรสารสนเทศฉบับพิมพ์กลายเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องของการแบ่งปัน ห้องสมุดเริ่มมีส่วนร่วมในการวางแนวทางที่จะอำนวยความสะดวกในเรื่องการจัดการการแบ่งปันทรัพยากรสารสนเทศฉบับพิมพ์ในระยะยาว ในขณะที่ห้องสมุดหลายแห่งเริ่มซื้อทรัพยากรในรูปแบบฉบับพิมพ์ลดลง ยกตัวอย่างเช่น โครงการ WEST และการจัดการทรัพยากรสิ่งพิมพ์ของ HathiTrust ที่แต่เดิมความสนใจอยู่ที่วารสารเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไปที่หนังสือต้นฉบับด้วย
          เราใช้คำว่า Collective Collection เพื่อเน้นเรื่องการพัฒนาและการจัดการแบบคอลเลคชั่นรวมของทรัพยากรสารสนเทศของกลุ่มห้องสมุดต่างๆ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเรื่องของการแบ่งปันการจัดการทรัพยากรสารสนเทศฉบับพิมพ์กำลังเริ่มเป็นที่นิยม เราคาดว่าสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การประสานงานหรือแบ่งปันความร่วมมือกันในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ปรากฏการณ์นี้อาจหมายรวมถึงการรวมทรัพยากรเข้าด้วยกัน หรือใช้วิธีการส่งต่อไปยังห้องสมุดที่มีข้อตกลงในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ความสนใจบางส่วนได้เปลี่ยนจากเพียงหนึ่งสถาบันไปเป็นหลายๆสถาบัน เพื่อการจัดการทรัพยากรสารสนเทศฉบับพิมพ์ แนวทางเชิงนโยบาย การจัดการและบริการถูกรวมเข้าด้วยกันก็ถูกกล่าวถึงแล้วเช่นกัน
           ความสนใจในกลยุทธ์การใช้ทรัพยากรสารสนเทศฉบับพิมพ์ร่วมกันเกิดจากแรงขับเคลื่อนหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น
Google Books: 
            ความร่วมมือระหว่างกูเกิลและห้าห้องสมุดเพื่อการวิจัยในการแปลงหนังสือเป็นดิจิทัลทำให้การดิจิทัลหนังสือคอลเลคชั่นใหญ่เป็นไปได้ จึงทำให้สถาบันหลายๆ แห่ง เริ่มวางแผนเตรียมทรัพยากรของตน เพื่อรองรับการรวมทรัพยากรแบบคอลเลคชั่นจากหลายสถาบัน

ยุคของดิจิทัล: 
            การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบของการวิจัยและการเรียนรู้ ในขณะที่วรรณกรรมฉบับพิมพ์ยังคงสำคัญตต่อการเรียนรู้และการวิจัย แต่ปริมาณการใช้โดยรวมลดลงอย่างมาก บางครั้งห้องสมุดไม่สามารถที่จะบริหารจัดการเรื่องจำนวนและความต้องการใช้ได้ ในเวลาเดียวกันปริมาณการใช้สื่อดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นด้วย แม้ว่าสื่อสิ่งพิมพ์ยังคงมีความสำคัญในบางแห่ง แต่ก็มีความเคลื่อนไหวไปสู่แหล่งข้อมูลดิจิทัล หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และโมเดลการสั่งซื้อตามคำขอ
ต้นทุนค่าเสียโอกาสและพื้นที่ใช้สอย: 
            ต้นทุนค่าเสียโอกาสของการใช้พื้นที่เพื่อการจัดการหนังสือเริ่มชัดเจนมากขึ้น พื้นที่ถูกเลือกนำไปใช้เพื่อกิจกรรมที่มีประโยชน์มากกว่าเป็นเพียงที่เก็บหนังสือซึ่งถูกใช้ในปริมาณที่น้อยโดยนักศึกษาและอาจารย์ พื้นที่ใช้สอยถูกปรับใหม่เพื่อสนองความต้องการ ทางการศึกษาและการวิจัย มากกว่าเพื่อใช้ในการจัดการคอลเลคชั่นหนังสือ ด้วยเหตุนี้ ห้องสมุดเองก็เริ่มลดการจัดซื้อหนังสือลง

การเข้าถึงหนังสืออย่างมีประสิทธิภาพ: 
            หากผู้ใช้สืบค้นหนังสือและพบว่าไม่มีในห้องสมุดที่ตัวเองเป็นสมาชิกอยู่ ก็จำเป็นต้องมีแนวทางใหม่เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้สามารถสืบค้นว่าหนังสือที่ต้องการมีให้บริการที่ห้องสมุดใดบ้าง เช่นอย่างที่ WorldCat ทำ
          ลักษณะสำคัญของการจัดการทรัพยากรสารสนเทศแบบคอลเลคชั่นร่วมจากหลายสถาบันขยายเป็นระดับสมาคม ภูมิภาคหรือประเทศมากกว่าแค่ระดับสถาบัน เดิมห้องสมุดให้ความสำคัญกับระเบียนบรรณานุกรมทรัพยากรห้องสมุดตัวเองเท่านั้น ในมุมของทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันรูปแบบนี้ไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว และเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง ห้องสมุดควรเข้าใจลักษณะของทรัพยากรสารสนเทศแบบคอลเลคชั่นว่าสำคัญต่อการตัดสินใจและดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ห้องสมุดอาจแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเรื่อง แต่ไม่เปิดเผยจำนวนเล่มที่มี เป็นต้น การสงวนรักษาข้อมูลทุกอย่างที่ห้องสมุดคิดว่ามีความสำคัญต่อผู้ใช้บริการ สิ่งนี้ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน แต่เมื่อลดตรงนี้ได้ แผนการที่จะมารองรับต่อจะมีบทบาทสำคัญไม่แพ้กัน ประเด็นที่จะต้องพิจารณา ได้แก่

 A balance of responsibilities
           หน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลทรัพยากร การเตรียมการหรืองบประมาณแตกต่างกันไป ห้องสมุดบางแห่งอาจต้องการเป็นเพียงแค่ผู้ใช้บริการมากกว่าเป็นผู้ให้บริการในระบบการแบ่งปันทรัพยากรสารสนเทศ หรือเลือกระบบสมาชิก หรือระบบที่จ่ายค่าบริการ สิ่งสำคัญคือการพัฒนาระบบที่ยั่งยืนที่สามารถรองรับความต้องการของหลากหลายสถาบันหรือหน่วยงานได้


ความเป็นเจ้าของ  
            เป็นเรื่องปกติที่ห้องสมุดมักคิดว่าพวกเขาเป็นเจ้าของหนังสือในห้องสมุด กูเกิ้ลบุ๊คและฮาติทรัสเน้นย้ำว่า ห้องสมุดสามารถทำบางอย่างได้ตามสิทธิ์ ในขณะเดียวกันบางอย่างก็ไม่สามารถทำได้ด้วยข้อกำหนดตามสิทธิ์นั้น ทำให้ห้องสมุดเริ่มคิดถึงความเป็นเจ้าของในรูปแบบการแบ่งปันและใช้ทรัพยากรร่วมกัน

สนใจอ่านเอกสารฉบับเต็ม คลิกที่นี่