Tag Archives: OCLC

LIBRARY VISIT BY DELEGATES FROM THE ONLINE COMPUTER LIBRARY CENTER ASIA PACIFIC REGIONAL COUNCIL MEETING 2018 PART II

640px-Kwa_Geok_Choo_Law_Library,_School_of_Law,_Singapore_Management_University_-_20170106-06.jpg (640×480)

Continue reading LIBRARY VISIT BY DELEGATES FROM THE ONLINE COMPUTER LIBRARY CENTER ASIA PACIFIC REGIONAL COUNCIL MEETING 2018 PART II

รู้จัก … บริการ WorldShare ILL กันหรือยัง?

JW2A2169

รู้ยัง??? … สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเปิดให้บริการ WorldShare ILL  คือ บริการยืมหนังสือระหว่างห้องสมุดสมาชิก OCLC กว่า 9,000 แห่งทั่วโลกผ่านเครื่องมือสืบค้นที่เรียกว่า WorldCat Local ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งของสานักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจากห้องสมุดสมาชิก OCLC ได้ในที่เดียวกัน ทำให้เราสามารถใช้บริการในการยืมทรัพยากรสารสนเทศได้จากทุกห้องสมุด Continue reading รู้จัก … บริการ WorldShare ILL กันหรือยัง?

นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีศึกษาดูงานฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯและฝ่ายสงวนรักษาทรัพยากรฯ

เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2559 เวลา 9.30 – 11.00 นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีจำนวน 3 คน เข้าศึกษาดูงานฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯและฝ่ายสงวนรักษาทรัพยากรฯ ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ชั้น U1 หอสมุดปรีดีพนมยงค์

S__21659656

Continue reading นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีศึกษาดูงานฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯและฝ่ายสงวนรักษาทรัพยากรฯ

สำนักงานวิทยทรัพยากร จฬ. ดูงานการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC

วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. อมร  เพชรสม ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยคณะบรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศ จำนวน 13 คน เข้าศึกษาดูงานการดำเนินงานการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การให้บริการ ประกอบด้วย WorldCat Local, WorldShare ILL, ContentDM และ Connexion Service ทั้งนี้ ทีมสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  นำโดย ผอ. ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ และคณะให้การต้อนรับ พร้อมแลกเปลี่ยนและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการใช้บริการต่างๆ ของ OCLC

สำนักงานวิทยทรัพยากร จฬ. ดูงานการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC
สำนักงานวิทยทรัพยากร จฬ. ดูงานการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC
ผู้อำนวยการ ของทั้งสองแห่ง
ผู้อำนวยการ ของทั้งสองแห่ง

สาระความรู้เกี่ยวกับ OCLC

– ทำความรู้จัก WORLDCAT KNOWLEDGE BASE
– การจัดทำ CONTENTDM : วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
– ดิจิทัลคอลเล็คชั่นของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– รีโมทใช้ฐานข้อมูลออนไลน์แบบอีซี่ๆ ด้วย EZPROXY
– KARAOKE ก็ไม่ใช่ 

– WORLDSHARE INTERLIBRARY LOAN (WORLDSHARE ILL)
– โปรแกรมแปลงสาส์น (THAI ROMANIZATION)
– WORDSHARE ILL : การยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ OCLC
– OCLC MEMBERSHIP AND BENEFITS FOR ASIA PACIFIC : การเป็นสมาชิก และประโยชน์ที่ได้
– OCLC GLOBAL COUNCIL MEETING
–  OCLC Conference 2014 : Interview with FM88 MHz

ทำความรู้จัก WorldCat knowledge base

WorldShare

หลังจากที่ผู้เขียนได้เคยเขียนเรื่อง Fulltext Finder ของ EBSCO ไปแล้ว ในครั้งนี้เราจะมาทำความรู้จักการดำเนินงาน update รายชื่อทรัพยากรในระบบของทาง OCLC กันบ้างค่ะ  ฐานข้อมูลที่ใช้ในเก็บข้อมูลนี้การเรียกว่า WorldCat knowledge base

WorldCat knowledge base เป็นหนึ่งในบริการที่อยู่ใน WorldShare Management Services (WMS) ใช้สำหรับบริหารจัดการและจัดเก็บรายชื่อวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลออนไลน์ที่สำนักหอสมุดบอกรับ รวมทั้งวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่บอกรับกับสำนักพิมพ์ และหนังสืออ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ (E-Reference) ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ทำให้สามารถสืบค้นแบบ one search ด้วยกล่องสืบค้น WorldCat Local ได้

แต่เดิมการทำ knowledge base จะรวมอยู่ในระบบ OCLC Service Configurarion เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 OCLC ประกาศว่าได้ยุติการพัฒนา OCLC Service Configurarion แล้ว ซึ่ง OCLC จะทำการ migrate ข้อมูลรายชื่อทรัพยากรใน knowledge base ของเดิมจาก OCLC Service Configurarion ไปสู่ WorldShare Management Services (WMS) โดยอัตโนมัติ

คู่มือสำหรับการตั้งค่าใน WorldCat knowledge base และการแสดงผลการสืบค้นใน WorldCat Local สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ค่ะ

การประชุมคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 1/2558

lib2

ในวันที่ 22 มกราคม 2558 ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 1/2558 ณ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ฯ จากงานฝ่ายวิคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ สถาบันอุดมศึกษาทั้ง 47 สถาบัน ซึ่งจะจัดประชุมปีละ 6 ครั้ง โดยเนื้อหาในการจัดประชุมส่วนใหญ่ก็จะเป็นการพิจารณาหัวเรื่องและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศ

Continue reading การประชุมคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 1/2558

โปรแกรมแปลงสาส์น (Thai Romanization)

โปรแกรมแปลงสาส์น (Thai Romanization) เป็นโปรแกรมสำหรับถ่ายทอดเสียงข้อความอักษรภาษาไทยให้เป็นอักษรโรมัน

เนื่องจากปัจจุบันสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC (Online Computer Library Center)  ซึ่งเป็นเครือข่ายห้องสมุดระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุด รวบรวมบรรณานุกรมทรัพยากรสารนิเทศจากห้องสมุดทั่วโลก เป็นความร่วมมือระหว่างห้องสมุดเพื่อใช้ทรัพยากรสารนิเทศร่วมกัน และเพื่อให้ผู้ใช้ชาวต่างชาติสามารถสืบค้นและเข้าใจเนื้อหาทรัพยากรสารนิเทศภาษาไทย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงจำเป็นต้องลงรายการบรรณานุกรมสำหรับทรัพยากรสารนิเทศภาษาไทยในห้องสมุด โดยการถ่ายทอดเสียงข้อความอักษรภาษาไทยให้เป็นอักษรโรมันผ่านโปรแกรมแปลงสาส์น Continue reading โปรแกรมแปลงสาส์น (Thai Romanization)

รีโมทใช้ฐานข้อมูลออนไลน์แบบอีซี่ๆ ด้วย EZproxy

การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย บอกรับเป็นสมาชิก จะมีวิธีการให้ผู้ใช้ ซึ่งต้องการรีโมทเข้ามาใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ โดยการใช้ Proxy และ VPN ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบเห็นมักจะเป็นการให้ผู้ใช้ต้อง set proxy ผู้ใช้ที่ไม่คล่องหรือไม่ชอบเทคโนโลยีด้วยแล้ว อยากจะบอกศาลาในการรีโมทเข้ามาใช้ด้วย Proxy เลยทีเดียว แต่การใช้ VPN มหาวิทยาลัยและหน่วยงานหรือองค์กร ต้องใช้ Resources เยอะ แต่จะช่วยให้ผู้ใช้ของห้องสมุด หน่วยงาน หรือ องค์กรไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน สามารถเข้าถึงได้ง่าย ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร และการดูแลรักษาระบบ ดังนั้น ความสะดวก และความง่ายในการรีโมทเข้ามาใช้สำหรับผู้ใช้แล้ว ขอบอกว่า VPN สะดวกกว่าแน่นอน เพราะผู้ใช้ไม่ต้อง set อะไร เพียงแต่ใช้ url ที่องค์กรให้มา และใส่ username กับ password เพียงเท่านี้ ก็เสมือนอยู่ในเครือข่ายขององค์กรแล้ว

สำหรับห้องสมุดหรือองค์กรที่ไม่สามารถใช้หรือมี VPN ในการให้ผู้ใช้รีโมทเข้ามาใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้นั้น ตอนนี้ มีผลิตภัณฑ์ของ OCLC ที่ชื่อว่า EZproxy ออกมาทำให้การรีโมทใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ง่ายขึ้นมาอีกเยอะ สมชื่อ EZproxy เป็นการพัฒนาของ OCLC โดยเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นครั้งแรกโดย Chris Zagar ในปี ค.ศ. 1999 และมีการประกาศใช้ในเดือน มกราคม ค.ศ. 2008

EZproxy เป็น web proxy server ที่ห้องสมุดจัดหามาเพื่อให้ผู้ใช้รีโมทเข้ามาใช้เครือข่ายของห้องสมุดผ่านเข้ามาใช้ฐานข้อมูลได้ ผู้ใช้ใส่ชื่อ และรหัสผ่านเข้าระบบ และมีการตรวจสอบผู้ใช้ด้วย IP address ที่ฐานข้อมูลที่บอกรับเป็นสมาชิกอนุญาตให้ใช้ เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ก็สามารถใช้ฐานข้อมูลออนไลน์หรือฐานอื่นๆ ที่ต้องรีโมทจากทางบ้านหรือที่ไหนก็ได้โดยสะดวกมากกว่าแต่ก่อน แต่เบื้องหลังการ set ค่าต่างๆ ของแต่ละฐานข้อมูลออนไลน์เป็นหน้าที่ของห้องสมุด หรือองค์กร (รายละเอียดทางเทคนิค) ซึ่งน่าจะทำให้สะดวกกว่าเดิมในการไม่ต้องแก้ปัญหาเรื่องการ set proxy ของผู้ใช้ และทางห้องสมุดหรือองค์กร ก็สามารถเก็บสถิติการเข้าใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้โดยตรงอีกด้วย

รายการอ้างอิง

OCLC.OCLC EZproxy: An Overview (Tutorial overview). Retreived 2015, 4 May from http://www5.oclc.org/downloads/tutorials/ezproxy/default.htm

OCLC. Connect your users to e-content with a single sign-on. Retreived 2015, 4 May from https://www.oclc.org/ezproxy.en.html

FAST กับยุคใหม่ของ Cataloger (ตอนที่ 1)

FAST ย่อมาจาก Faceted Application of Subject Terminology เห็นจากชื่อ น่าจะพอเดาได้ว่า น่าจะเกี่ยวกับ หัวเรื่อง คำศัพท์ แน่ๆ OCLC กำลังพัฒนา FAST ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่เป็นหัวเรื่อง เพื่อให้ใช้กับสารสนเทศบนเว็บ โดยอยู่บนพื้นฐานของ หัวเรื่องหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (LSCH) แต่ทำเพื่อให้ใช้ได้ง่ายกว่า

ถ้าผ่านการเรียนบรรณารักษ์มาน่าจะจำได้ว่า มีระบบ Faceted Classification เป็นการจัดหมวดหมู่แบบแยกสังเคราะห์ สามารถจัดหมวดหมู่ได้ทุกแง่มุม เลยอนุมานจากชื่อก่อนว่า น่าจะเป็นการพัฒนาหัวเรื่องให้มีคำที่มีทุกแง่มุม หรือละเอียดมากขึ้น แต่ใช้ง่ายกว่าเดิม คงต้องติดตามต่อไปว่า FAST มีวิธีการอย่างไร เป็นแบบชื่อระบบ Faceted หรือไม่

OCLC วางแผนไว้ว่า FAST นี้ ช่วยให้ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานวิเคราะห์การลงรายการทางบรรณานุกรม พูดง่ายๆ ว่า ไม่ใช่บรรณารักษ์วิเคราะห์การลงรายการทางบรรณานุกรม หรือพูดให้ง่ายๆ อีกว่าไม่ใช่บรรณารักษ์น่ะ หรือไม่มีความรู้เรื่องการวิเคราะห์การลงรายการ สามารถนำ FAST ไปใช้ได้ในการหาสารสนเทศได้ เพราะถ้าเป็นบรรณารักษ์วิเคราะห์การลงรายการทางบรรณานุกรม เหล่าบรรณารักษ์งานนี้จะรู้จักแต่คำศัพท์ควบคุม แล้วใครที่ไหนจะสามารถทำได้ แม้ว่าแนวคิดในการให้หัวเรื่องควรจะเปลี่ยนแล้วก็ตาม แต่บรรณารักษ์กลุ่มงานนี้จะยังไม่เปลี่ยน หรืออีกเหตุผลหนึ่งของการพัฒนา FAST ก็คือหัวเรื่องที่ใช้อยู่เดิม ไม่พอกับสารสนเทศที่โตขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงเรื่องการขาดฟังก์ชั่นในเรื่องของระบบการจัดการเนื้อหา (Content management systems) กับหัวเรื่องของ LCSH มีการพูดถึงกันมากว่า ควรมีการทำงานข้ามระบบสารสนเทศกัน (รวมทั้งระบบที่ไม่ใช่ มาร์ค) นี่ก็น่าจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็น FAST และที่สำคัญ FAST ใช้เป็น Linked data ได้ Continue reading FAST กับยุคใหม่ของ Cataloger (ตอนที่ 1)