All posts by ปทุมทิพย์ ลิ้มพงศานุรักษ์

รู้ก่อนจะทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนได้อ่านบทความเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่น่าสนใจมากจากเว็บไซต์ Contentshifu ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เชี่ยวชาญด้าน inbound marketing  เลยขอนำมาเล่าต่อกับผู้อ่านบางประเด็นดังนี้ค่ะ

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้หมายรวมถึง คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน๊ตบุค มือถือ แทปเล็ต ฯลฯ  โดย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุด ปี พ.ศ. 2560 ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกันและควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจนั่นเอง

Continue reading รู้ก่อนจะทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

Searching databases like a pro!!!

การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ จะมีเทคนิควิธีในการสืบค้นเพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาและได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด ซึ่งถ้าผู้ใช้ทราบและทำความคุ้นเคยกับเทคนิคเหล่านั้น จะช่วยให้ประหยัดเวลาในการค้นหามากยิ่งขึ้น
ในแต่ละฐานข้อมูลจะมีวิธีการสืบค้นที่แตกต่างกันออกไปซึ่งผู้ใช้จะต้องทราบเบื้องต้นโดยการอ่านคู่มือของฐานข้อมูลนั้นๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว การสืบค้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การสืบค้นแบบพื้นฐาน (Basic Search) และการสืบค้นแบบขั้นสูง (Advanced Search) Continue reading Searching databases like a pro!!!

คู่มือปฏิบัติงานยืมระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

คู่มืองานบริการยืมระหว่างห้องสมุด

Keeping up-to-date was never easier!!

ไม่ทราบว่าผู้อ่านเคยสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์และลงทะเบียนเพื่อรับการแจ้งเตือน (Alerts) ข้อมูลผ่านทางอีเมล์กันบ้างไหมคะ ถ้าหากว่าเคยและยังคงใช้วิธีการนี้ในการติดตามข้อมูลงานวิจัยใหม่ๆ ในรูปแบบนี้อยู่ ผู้เขียนอยากจะเชิญชวนทุกท่านลองมาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งช่องทางการติดตามข้อมูลข่าวสารที่เรียกว่ากำลังมาแรงในยุคสมัยที่อุปกรณ์สื่อสารแบบเคลื่อนที่ (Mobile devices) ได้กลายมาเป็นปัจจัยที่ห้าในชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว

นั่นก็คือ แอพลิเคชั่นที่ชื่อว่า Research highlights ซึ่งเป็น mobile application ตัวใหม่ล่าสุดจากสำนักพิมพ์ Elsevier ที่จะทำให้นักวิจัยสามารถติดตามงานวิจัยใหม่ล่าสุดที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารกว่า 20,000 ชื่อเรื่องได้อย่างสะดวกและรวดเร็วผ่าน smart devices

Continue reading Keeping up-to-date was never easier!!

เรื่องเล่าจากฮ่องกง

เมื่อวันที่ 21-23 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการ “IET Publishing – Inspec database training session and visits to HK academic libraries”   ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อให้บรรณารักษ์จากห้องสมุดที่บอกรับฐานข้อมูล  ได้ไปฝึกอบรมฐานข้อมูล  Inspec Direct  ที่สำนักงาน IET  เขตปกครองพิเศษฮ่องกง  พร้อมกันนี้ได้มีโอกาสเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์รวมถึงการทำงานของห้องสมุด 2 แห่ง คือ Hong Kong Polytechnic university  library และ Hong Kong University of Science & Technology library  ซึ่งหลังจากที่ได้พูดคุยกันแล้ว รูปแบบและนโยบายการดำเนินงานบางอย่างก็เหมือนกับของสำนักหอสมุด มธ. แต่บางอย่างก็แตกต่างออกไป จึงอยากจะนำมาแบ่งปันต่อให้กับชาวสำนักฯ ดังนี้ค่ะ
DSCF0595

ด้านการพัฒนาทรัพยากร
นโยบายการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่  HKUST จะจัดหาเพียง 1 ฉบับต่อหนึ่งชื่อเรื่อง  กรณีรายวิชาที่มีผู้ลงทะเบียน 40 คนขึ้นไป จะเพิ่มเป็น 2 ฉบับ และสามารถจัดหาได้สูงสุด 6 ฉบับต่อ 1 ชื่อเรื่อง กรณีชั้นเรียนมีขนาดใหญ่ถึง 500 คน ส่วน Hong Kong Polytechnic มีแนวโน้มที่จะบอกรับในรูปแบบ e-Books เนื่องจากการใช้งานที่สะดวก สามารถเข้าถึงได้หลายคนพร้อมกัน รวมทั้งแก้ปัญหาชั้นเก็บหนังสือไม่เพียงพอด้วย

ส่วนการบอกรับวารสารและฐานข้อมูลออนไลน์ ค่อนข้างจะเป็นปัญหากับห้องสมุดทั้งสองแห่ง เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับมีจำนวนจำกัด และไม่ได้รับงบประมาณเพิ่มเติมจากแต่ละคณะที่เปิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย หากคณะต้องการให้บอกรับวารสารชื่อใหม่ๆ ห้องสมุดก็จำเป็นต้องยกเลิกชื่อเก่าไป
DSCF0679

ด้านสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย
Hong Kong Polytechnic มีส่วนงาน Research Support ด้วย ซึ่ง เป็นส่วนงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ เริ่มดำเนินการได้ประมาณ 6 เดือน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนาฐานข้อมูลนักวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยการจัดเก็บข้อมูล Scopus ID, ORCID ID และ Researcher ID เข้าไว้ในระบบ

ส่วนที่ HKUST ทุกๆ การเปิดภาคการศึกษาใหม่ จะมีการจัด Event แนะนำฐานข้อมูลออนไลน์ โดยเชิญตัวแทนจากแต่ละบริษัทมาแนะนำฐานข้อมูลให้กับนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรได้ทราบ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมร่วมตอบคำถามชิงรางวัล (ตัวแทนเป็นผู้สนับสนุนรางวัล เช่น iPad )  วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมนี้คือ ต้องการให้ผู้ใช้ได้รู้จักกับฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับว่ามีอะไรบ้าง  เนื้อหาครอบคลุมสาขาวิชาใด  อย่างน้อยๆ เมื่อเวลาที่นักศึกษาต้องการค้นข้อมูล จะได้นึกถึงและสืบค้นจากฐานข้อมูลเหล่านี้แทนที่จะไปหาจากแหล่งอินเทอร์เน็ตทั่วๆ ไป

ด้านการเข้าถึงทรัพยากรนอกเครือข่าย
HKUST ใช้  EZProxy ในการเข้าถึงข้อมูลจากนอกเครือข่าย ส่วน Hong Kong Polytechnic ใช้ VPN

DSCF0686

DSCF0599

ด้าน Learning spaces
ทั้งสองห้องสมุดเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาได้อ่านหนังสือกันตลอด 24 ชั่วโมง โดยเป็นการเปิดเฉพาะโซน ไม่ได้เป็นการเปิดพื้นที่ทั้งหมดของห้องสมุด นักศึกษาจะต้องใช้บัตรห้องสมุด (บัตรนักศึกษา) ในการเข้า-ออก ส่วนการดูแลความเรียบร้อยจะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัย

 

โกอินเตอร์กันเถอะ!!!

สวัสดีค่ะ หลายๆ ท่านอาจจะทราบข่าวการรับสมัครทุนระยะสั้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางภาษา ณ ต่างประเทศ สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการกันมาบ้างแล้ว รายละเอียดและเงื่อนไขการสมัครมีอะไรบ้างนั้น สามารถดูได้จากเว็บไซต์กองการเจ้าหน้าที่ http://hrfs.person.tu.ac.th/hrtuweb/ ได้ เลยนะคะ โพสต์นี้ผู้เขียนในฐานะที่เคยมีประสบการณ์ได้รับทุนนี้ ตั้งใจอยากจะแชร์ข้อมูลที่อาจจะเป็นประโยชน์กับท่านที่กำลังสนใจ รายละเอียดมีอะไรบ้างนั้น คลิกอ่านต่อกันได้เลยค่ะ

Continue reading โกอินเตอร์กันเถอะ!!!

คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานศาลยุติธรรม ศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้ฯ

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์  2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดยนางศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด และ  นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ รองผู้อำนวยการสายบริหารและพัฒนา ได้ต้อนรับคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากที่มาศึกษาดูงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อนำไปเตรียมความพร้อมในการเปิดห้องสมุดสำนักงานศาลยุติธรรมในเดือน เม.ย. ที่จะถึงนี้

1

3

พร้อมกันนี้ทางคณะได้เยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องแนวโน้มความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในปัจจุบัน  และการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในงานบริการของห้องสมุด

10

13

กู้คืนไฟล์ที่ (เผลอ) ถูกลบใน Dropbox

เมื่อ 2-3 วันก่อนเกิดเหตุการณ์ปั่นป่วนขึ้นในที่ทำงานของเรา เมื่อ Dropbox ที่เป็นเหมือนตู้ลิ้นชักเก็บเอกสารประกอบการทำงานของทุกคน จู่ๆ ก็อันตรธานหายไปอย่างไร้ร่องรอย จับมือใครดมก็ไม่ได้ (55)

จากเหตุการณ์ดังกล่าว พวกเราก็มีการทำ KM คือถามกันไป ถามกันมาเผื่อจะมีใครรู้ทางแก้ แต่ก็ไม่มี ก็เลยไปถามพี่จีจี (Google) เผื่อเคยมีคนประสบชะตากรรมเดียวกัน ปรากฎว่ามีเยอะ

เลยเป็นที่มาของการเขียน blog นี้ ถึงวิธีการกู้ไฟล์คืน แต่บอกนิดนึงนะคะว่าน่าจะใช้ได้กับกรณีไฟล์ถูกลบ กรณีไฟล์หายเพราะสาเหตุอื่นๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์โดนไวรัส คงต้องขอไป find out ต่อ Continue reading กู้คืนไฟล์ที่ (เผลอ) ถูกลบใน Dropbox

กิจกรรมอบรมการสืบค้นทรัพยากรห้องสมุด (OPAC)

10403402_10153079026989916_6721629555085416626_n
คุณรังสินี อุทัยวัฒนา กำลังบรรยายการใช้ Library Catalog

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 9.00-11.00 น.  ทีมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ นำโดยคุณรังสินี อุทัยวัฒนา ได้อบรมการสืบค้นฐานข้อมูลบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศ (Library Catalog) ให้แก่บุคลากรของหอสมุดป๋วยฯ, ห้องสมุดศูนย์รังสิต และห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี จำนวน 21 คน  เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจและสามารถสืบค้น รวมทั้งแนะนำการใช้ Library Catalog ให้แก่ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

10959433_10153079026779916_9115653668099023553_n
บรรยากาศระหว่างฝึกอบรม

การอบรมในครั้งนี้เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ กล่าวคือ ทุกคนมีส่วนร่วมฝึกปฏิบัติสืบค้นจากหน้าจอ รวมทั้งทดลองทำแบบฝึกหัดค้นหาหนังสือจาก Reading List  โดยจับเวลาว่า 1 รายการต้องใช้เวลาในการค้นเพียง 1 นาทีเท่านั้น ซึ่งทุกคนก็ให้ความร่วมมือในการหาคำตอบ ทำให้บรรยากาศในการฝึกอบรมเป็นไปอย่างสนุกสนานพร้อมทั้งได้รับความรู้ที่เพิ่มขึ้นด้วย

 

Worldshare ILL : sharing resources with thousands of libraries all over the world

ในหน้า Home ของเว็บไซต์สำนักหอสมุด www.library.tu.ac.th หากใครเคยเข้าไปใช้บริการ ก็จะเห็นว่ามีกล่องสืบค้น (search box) อยู่ 2 กล่อง กล่องแรกคือ One Search (ซึ่งจะกล่าวถึงในโอกาสต่อไป) ส่วนอีกกล่องที่อยู่ด้านล่างของหน้าจอ คือ Worldcat local ซึ่งเป็นระบบการสืบค้นรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดทั้ง 11 แห่ง (ภายใต้สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับ และหนังสือในห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลกเกือบ 7 หมื่นแห่งโดยการพิมพ์คำค้นเพียงที่เดียว (Single Search)

worldcat1

 

เมื่อผู้ใช้สืบค้นข้อมูลผ่าน Worldcat และพบว่าหนังสือที่ต้องการไม่มีให้บริการในห้องสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ใช้สามารถขอใช้บริการระหว่างห้องสมุดได้

วิธีการสืบค้น

พิมพ์คำค้นลงในช่อง Search box เมื่อได้ผลการสืบค้นแล้ว วิธีการตรวจสอบว่าหนังสือนั้นมีให้บริการที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือไม่ ให้ดูที่แต่ละรายการ หากปรากฏชื่อ Thammasat university libraries หมายความว่าห้องสมุดมีตัวเล่มให้บริการ ดังภาพ

worldcat2

 

แต่ถ้ารายการไหนที่ไม่มีในห้องสมุด มธ. จะปรากฏคำว่า
Worldcat libraries

worldcat3

 

หากต้องการขอเอกสารระหว่างห้องสมุด ให้คลิกที่ชื่อหนังสือ

worldcat4

 

จากนั้นคลิกที่เมนู     sent request
และกรอกข้อมูลตามที่ระบบ required  ดังนี้

  • First name
  • Last name
  • Telephone
  • Patron ID (ในที่นี้ให้ใช้รหัสประจำตัวสมาชิกห้องสมุด)
  • Date needed
  • Max cost (ถ้าอยากได้แบบฟรี ให้ใส่ 0.00)
  • Comment อาจจะระบุเหตุผลในการขอเช่น  for assignment
  • จากนั้นคลิก Submit

Continue reading Worldshare ILL : sharing resources with thousands of libraries all over the world