สมเด็จพระเทพฯ ทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเกียรติยศ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงรับรางวัลเกียรติยศ หรือตำแหน่งเกียรติยศ อาทิ เช่น

พ.ศ. 2531 ทรงรับรางวัลพระเกี้ยวทองคำ (พระเกี้ยวทองคำ ให้แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น เพื่อเชิดชูเกียรติผู้ที่ได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้สนใจศึกษาภาษาไทย นำภาษาไทยไปใช้ได้ถูกต้อง และผลิตงานเขียนซึ่งมีคุณค่าแก่การศึกษาภาษาไทย รวมทั้งเป็นตัวอย่างอันดีในการใช้ภาษาไทยในวิชาการและงานสร้างสรรค์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมรางวัลพระเกี้ยวทองคำ)

พ.ศ. 2534 เสด็จ ฯ ไปทรงรับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการชุมชน จากมูลนิธิรามอน แมกไซไซ ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ทรงบันทึกในพระราชนิพนธ์ เรื่อง ขอให้เจ้าภาพจงเจริญ)

พ.ศ. 2542 รางวัล “The Arcangelo Cultural Prize” ทูลเกล้าฯ ถวายโดยสมาคมวัฒนธรรมอิตาเลียน (The Italian Cultural Association)

พ.ศ. 2542 รางวัลสาโรช บัวศรี ปราชญ์ผู้ทรงศีล เป็นรางวัลที่ยกย่องนักการศึกษาผู้หล่อหลอมคนให้มีความรู้ประดุจนักปราชญ์ และมีความประพฤติประดุจผู้ทรงศีล

พ.ศ. 2543 รางวัลมิตรภาพภาษาและวัฒนธรรมจีน กระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทูลเกล้าฯ ถวาย  ด้วยยกย่องในพระวิริยะอุตสาหะในการเรียนภาษาจีน

พ.ศ. 2544 รางวัลวรรณคดีนานาชาติด้านความเข้าใจและมิตรภาพ โดย มูลนิธิวรรณกรรมแห่งชาติจีนและสมาคมนักเขียนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

พ.ศ. 2545 รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๕ สาขาสหวิทยาการ

พ.ศ. 2546 รางวัลสันติภาพสากล (WANGO Universal Peace Award) ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของ WANGO ที่มอบให้บุคคล ด้วยพระองค์ทรงมีส่วนช่วยอย่างมากในการสร้างสันติภาพระดับโลก

พ.ศ. 2547 รางวัลโล่เกียรติยศผู้นำดีเด่นผู้อุทิศตนเพื่อโครงการกำจัดโรคขาดสารไอโอดีนอย่างยั่งยืนในประเทศไทย

พ.ศ. 2548 เสด็จ ฯ ไปทรงรับรางวัลอินทิรา คานธี เพื่อสันติภาพ การลดอาวุธและการพัฒนา ประจำปี 2547 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย เป็นต้น

นายมันโมฮัน ซิงห์ นายกรัฐมนตรีอินเดีย ได้กล่าวสุนทรพจน์ตอน
หนึ่งว่า “วันนี้เรามาประชุมกันเพื่อเฉลิมพระเกียรติบุตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชีย ในนามบุตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียอีกท่านหนึ่งพวกเราในประเทศอินเดียต่างรู้จักสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นอย่างดีทรงเป็น
ทเคารพนับถืออย่างสูงในประเทศของเราเช่นกับ ในประเทศของพระองค์เรารู้จักพระองค์ ในฐานะทรงเป็นนักวิชาการสันสกฤตอย่างแท้จริงและ
ในฐานะที่ทรงเป็นพุทธศาสนิกที่เคร่งครัด แต่ทว่า มิได้ทรงเป็นเพียงทั้งหมดที่พรรณนามา ยังทรงเป็นที่รู้จักด้วยพระเกียรติคุณด้านอื่นๆ อีก
พระประวัติและพระราชกรณียกิจพิสูจน์ให้เห็นว่า ทรงเป็นพลเมืองผู้ยิ่งใหญ่ แห่งโลก พระราชกรณียกิจด้านเด็กและเยาวชน และด้าน
อนุรักษ์สมบัติวัฒนธรรมของประชาชนของพระองค์แสดงให้ เราเห็นอยู่เสมอว่า เราจะสามารถทาอะไรได้มาก หากมแรงบันดาลใจให้ทำ สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นทั้งตัวแทนผู้น่าชื่นชมแห่งประชาชนไทยและเป็นสัญลักษณ์อันวิเศษแห่งประชาชาติที่
ยิ่งใหญ่”

พ.ศ. 2549 เหรียญเกียรติยศ The International Presidential Honor Medal for Centenary of Pablo Neruda  สำหรับผลงาน
ที่โดดเด่นในการส่งเสริมวรรณกรรม ภาษา วัฒนธรรม และศิลปะ

พ.ศ. 2552 รางวัลพิเศษสมาพันธ์โภชนาการนานาชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติผลงานดีเด่น ในการช่วยเหลือและส่งเสริมโภชนาการของผู้ด้อยโอกาส อันเป็นพื้นฐานของการพัฒนามนุษย์

พ.ศ. 2552 รางวัลมิตรนานาชาติ 10 อันดับแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงพระองค์เดียวที่ได้รางวัลดังกล่าว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงได้รับการคัดเลือกจากประชาชนจีนให้เป็น 1 ใน 10 มิตรที่ดีที่สุดในโลกของชาวจีนด้วยคะแนนสูงมากจากกิจกรรมคัดเลือกมิตรที่ดีที่สุดในโลก 10 อันดับแรกของชาวจีนทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งสถานีวิทยุซีอาร์ไอร่วมกับสมาคมมิตรภาพวิเทศสัมพันธ์แห่งประชาชนจีน และกรมผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศแห่งประเทศจีนได้ร่วมกันจัดกิจกรรมครั้งนี้

พ.ศ. 2553 รางวัลผู้นำด้านการจัดการเทคโนโลยี (Leadership
in Technology Management Award, LTM. 2010) เป็นรางวัลสำหรับผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และการบริหารงานตามหลักการบริการจัดการเทคโนโลยี

รายการอ้างอิง

กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. พระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศ สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2558 จาก http://www.sirindhorn.net/Foreign-Affairs.php

จีนถวายรางวัลพระเทพฯ1ใน10มิตรที่ดีที่สุด. คมชัดลึก สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 จาก http://www.komchadluek.net/detail/20091208/40481/
จีนถวายรางวัลพระเทพฯ1ใน10มิตรที่ดีที่สุด.html

ปราณีต ถาวร. ดวงแก้วของแผ่นดิน. ท้องถิ่น (เมษายน 2549) : 5-9.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.  สมเด็จพระเทพฯ เจ้าฟ้านักพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงาน, 2558. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 จาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/nesdbnews/15/data_0308250315.pdf

หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.พระเกี้ยวทองคำ. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2558 จาก http://www.memohall.chula.ac.th/article/พระเกี้ยวทองคำ/

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  79)