ผลเลือดนั้นสำคัญไฉน ?

เป็นธรรมเนียมไปแล้วสำหรับการตรวจสุขภาพประจำปี เมื่อตรวจสุขภาพเสร็จ เราก็จะได้ผลการตรวจสุขภาพ ซึ่งหนึ่งในผลตรวจนั้นก็คือผลการตรวจเลือด ซึ่งมีข้อมูลการวิเคราะห์ค่าต่าง ๆ เพียงคร่าว ๆ เท่านั้น ทำให้เกิดความสงสัยว่าค่าที่ได้จากการวิเคราะห์นี้ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร วันนี้เลยมีคำตอบมาให้คลายสงสัยกันค่ะ

เลือดประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ของเหลว (พลาสมา หรือ
น้ำเหลือง) และของแข็ง (เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด)
อื่น ๆ ได้แก่ น้ำตาล ไขมัน โปรตีน กลูโคส วิตามิน ฮอร์โมน
ของเสียต่าง ๆ

นี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมตรวจสุขภาพทุกครั้งเราจะต้องเจาะเลือดด้วย เพราะผลเลือดสามารถสะท้อนถึงสุขภาพร่างกายได้นั่นเองค่ะ ต่อมาเราก็จะมา ทราบผลการวิเคราะห์ผลเลือดว่าค่าแต่ละตัวมีความหมายอย่างไร

รูปภาพ 1

  • CBC (Complete Blood Count)
    คือ ความสมบูรณ์ของเกล็ดเลือด ซึ่งวัดได้จาก 3 สิ่ง คือ
    – ความเข้มข้นของเลือด = ปริมาณเม็ดเลือดแดงที่เรามีทั้งหมด หากน้อยกว่าค่าปกติ อาจเสี่ยงต่อโรคโลหิตจาง
    – เกล็ดเลือด = ทำให้เลือดแข็งตัวปิดปากแผล หากมีเกล็ดเลือดน้อยเกินไปจะทำให้เลือดแข็งตัวช้า หากมากไปอาจทำให้เกิดการอุดตันได้
    – เม็ดเลือดขาว = คอยต่อสู้กับเชื้อโรค มีน้อยไปทำให้ภูมิต้านทานต่ำ มีมากไปก็ทำให้ไปอุดตันตามส่วนต่าง ๆ หรือกัดกินตัวเอง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
  • การจำแนกแยกชนิดเม็ดเลือดขาว (Differential Count)
    คือ การตรวจเม็ดเลือดขาวให้ละเอียดโดยแยกเป็นหลายประเภท หากมีมากเกินค่าปกติแสดงว่าร่างกายอยู่ในสภาวะติดเชื้อ ได้แก่
        – นิวโตรฟิล (Neutrophil) = หน้าที่กินแบคทีเรีย
        – ลิมโฟไซท์ (Lymphocyte) = หน้าที่กินไวรัส
  • ระดับน้ำตาลในเลือด (Blood Sugar)
    คือ ปริมาณน้ำตาลในเลือด เป็นส่วนที่ส่งพลังไปเลี้ยงร่างกาย หากมีมากน้ำตาลส่วนเกินจะเข้าไปอยู่ตามเซลล์ต่าง ๆ เมื่อมีบาดแผลจะทำให้แผลหายช้า เพราะเนื้อเยื่อที่ชุ่มน้ำตาลจะเป็นอาหารของแบคทีเรีย ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้
  • การทำงานของไต (Renal Function)
    วัดได้จากของเสียสองชนิด คือ
        – BUN
        – Creatinine
    ทั้งสองเป็นของเสียจากการย่อยโปรตีน หากมีมากกว่าค่าปกติจะบ่งบอกถึงภาวะโรคไต เนื่องจากร่างกายขับของเสียออกไปไม่ได้
  • ไขข้อ
    ตรวจวัดได้จากกรดยูริก (Uric acid) เป็นของเสียจากการย่อยโปรตีน พบมากในอาหารประเภทผักยอดอ่อน สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ หากมีในปริมาณที่สมดุลร่างกายจะขับทิ้งได้ทุกวัน แต่หากมีมากไปจะไปเกาะสะสมตามข้อต่อทำให้เจ็บปmzzวดเมื่อเคลื่อนไหว และอาจกลายเป็นโรคเกาต์ต่อไปได้
  • ไขมัน (Serum Lipid)
         – คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ชนิดไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดอุดตันได้
        – เอชดีแอล (HDL) เป็นไขมันดี ทำให้หน้าที่ทำความสะอาดร่างกาย ไม่ให้ไขมันอุดตันในหลอดเลือด
       – แอลดีแอล (LDL) เป็นไขมันชนิดเลว ตรงข้ามกับเอชดีแอล (HDL) ถ้าเกิดเรามีค่าคอเลสเตอรอลและไตรกรีเซอไรด์สูง ให้กลับมาดูค่าเอชดีแอล (HDL) ประกอบด้วยเรื่องไขมันนี้มีคำแนะนำเพิ่มเติมจาก นพ. จิตจำลอง หะริณสุต อายุรแพทย์ระบบหัวใจและหลอดเลือด ดังนี้ https://youtu.be/dwjKAqCSthU
  • การทำงานของตับ (Liver Function)
    วัดได้จากเอนไซม์หลายตัว ได้แก่ SGOT, SGPT หากเซลล์มีการแตกสลาย ลงด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง เช่น ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ตับแข็ง หรือถูกกระแทกอย่าง รุนแรง อาจทำให้ฮอร์โมนกระจายออกมาในกระแสเลือดได้

ไขข้อสงสัยแล้วนะคะสำหรับคำอธิบายผลการตรวจเลือด ว่าแต่ละค่าส่งผลต่อ ร่างกายอย่างไร ดังนั้นเราควรหมั่นดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย และ
รับประทาน อาหารที่มีประโยชน์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ค่ะ

สุดท้ายหากสนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอ่านผลเลือด มีโปรแกรมมาแนะนำค่ะ นั่นคือโปรแกรมอ่านแปลผลการตรวจเลือดและปัสสาวะเบื้องต้น พัฒนาโดยคุณโดย พิพัฒน์พันธุ์ สุวรรณอักษร ขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ค่ะ

รายการอ้างอิง
กองบรรณาธิการนิตยสาร Health & Cuisine. Healthy body & healthy mind สุขกาย สบายใจ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์สุขภาพ, 2551.