การประชุมคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 1/2558

lib2

ในวันที่ 22 มกราคม 2558 ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 1/2558 ณ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ฯ จากงานฝ่ายวิคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ สถาบันอุดมศึกษาทั้ง 47 สถาบัน ซึ่งจะจัดประชุมปีละ 6 ครั้ง โดยเนื้อหาในการจัดประชุมส่วนใหญ่ก็จะเป็นการพิจารณาหัวเรื่องและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศ

สำหรับเนื้อหาในการประชุมครั้งที่ 1/2558 สรุปได้ดังนี้

  1. การพิจารณาหัวเรื่องภาษาไทยใหม่และมีมติรับในที่ประชุมจำนวน 152 หัวเรื่อง
  2. หัวเรื่องที่เป็นปัญหาและสถาบันที่รับหัวเรื่องนั้นไปตรวจสอบ จำนวน 32 หัวเรื่อง
  3. หัวเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลง จำนวน 51 หัวเรื่อง
  4. หัวเรื่องและรายการโยงที่มีการแก้ไข จำนวน 102 หัวเรื่อง

lib
นอกจากนั้นยังได้แจ้งถึงความคืบหน้าในการพัฒนา “ฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทย (ซึ่งคณะทำงานฯ ได้จัดทำโครงการพัฒนาฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ ตั้งแต่ ปี 2550 เพื่อให้บริการจัดเก็บและสืบค้นผ่านระบบเครือข่าย ) ว่า ยังมีการปรับแก้เป็นระยะๆ และจะทำการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องแม่ข่าย (Server)  เพื่อที่จะได้ทำการโอนย้ายฐานข้อมูลเดิมมาไว้ที่เครื่องใหม่และจะได้ดำเนินการเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

จากนั้นในวันที่ 23 มกราคม 2558 ได้เข้าร่วมประชุมทบทวนและสรุปข้อตกลงเรื่อง การลงรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐาน AACR2 และ MARC21 และข้อตกลงต่างๆ เกี่ยวกับการลงรายการบรรณานุกรม การกำหนดหัวเรื่องและอื่นๆ เพื่อใช้เป็นรูปแบบเดียวกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ (Union Catalog & OCLC)”  ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคณะทำงานฯ จัดประชุม เนื่องจากมีปัญหาในการโอนย้ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมทรัพยาการสารสนเทศของแต่ละห้องสมุด เข้า ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม (Union Catalog) ซึ่งเกิดจากความหลากหลายของข้อมูลของแต่ละห้องสมุด ดังนั้นเพื่อลดปัญหาดังกล่าวและเป็นแนวปฏิบัติในการสร้างมาตรฐานของข้อมูลรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศ คณะทำงานฯ จึงจัดประชุมเพื่อทบทวน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การลงรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐาน AACR2 และ MARC21 ตลอดจนการสร้าง Authority เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการลงรายการบรรณานุกรมให้ถูกต้องตามหลักมาตรฐาน เพื่อลดปัญหาในการใช้ข้อมูลร่วมกัน

ตัวอย่างเขตข้อมูลที่มีความสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ OCLC และ Union Catalog คือ  ส่วน Leader

lib3

  • REC STAT ต้องไม่ระบุเป็น d = delete **สำคัญและมีประโยชน์ในการดึงข้อมูล
  • REC TYPE  ระบุ code ให้ตรงกับประเภทของทรัพยากร
  • BIB LEVL ระบุ code ให้ตรงกับระดับการลงรายการบรรณานุกรม

*** ตำแหน่ง REC TYPE  และ BIB LEVL  ต้องสัมพันธ์กัน