Tag Archives: หัวเรื่องภาษาไทย

การพิมพ์หัวเรื่องใหม่ภาษาไทยเข้าฐานข้อมูลหัวเรื่อง (Headin)

ฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทย (Headin) เป็นฐานข้อมูลหัวเรื่องสำหรับทรัพยากรสารนิเทศภาษาไทย ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำโดยฝ่ายวิเคราะห์วัสดุสารนิเทศ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ โดยใช้โปรแกรม WINISIS  หรือ CDS/ISIS จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือในการปฏิบัติงานของฝ่ายฯ และการบริการของสำนักหอสมุด ตลอดจนหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งสามารถสืบค้นฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยได้ทางอินเตอร์เน็ตจาก   http://203.131.219.181/heading/index.html  การให้เลขหมู่หนังสือแต่ละเล่มของบรรณารักษ์ ซึ่งต้องสัมพันธ์กับหัวเรื่องภาษาไทย บางเล่มก็มีหัวเรื่องที่สร้างแล้ว สามารถเช็คดูในฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยได้ แต่ถ้าบางเล่มยังไม่มีหัวเรื่องใหม่ก็ต้องกำหนดหัวเรื่องใหม่ก่อนเพื่อสร้างเก็บไว้ใช้ในฐานข้อมูลหัวเรื่อง โดยบรรณารักษ์จะกำหนดหัวเรื่องใหม่แล้วนำไปเรียงที่กล่องรอพิมพ์หัวเรื่อง จากนั้นในแต่ละเดือนเจ้าหน้าที่จะนำบัตรหัวเรื่องใหม่ไปบันทึกในฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้ Continue reading การพิมพ์หัวเรื่องใหม่ภาษาไทยเข้าฐานข้อมูลหัวเรื่อง (Headin)

การประชุมคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 1/2558

lib2

ในวันที่ 22 มกราคม 2558 ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 1/2558 ณ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ฯ จากงานฝ่ายวิคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ สถาบันอุดมศึกษาทั้ง 47 สถาบัน ซึ่งจะจัดประชุมปีละ 6 ครั้ง โดยเนื้อหาในการจัดประชุมส่วนใหญ่ก็จะเป็นการพิจารณาหัวเรื่องและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศ

Continue reading การประชุมคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 1/2558

แนวปฏิบัติ เรื่่อง การกำหนดหัวเรื่องและเลขหมู่ทางการแพทย์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แนวปฏิบัติ เรื่่อง การกำหนดหัวเรื่องและเลขหมู่ทางการแพทย์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยแนวปฏิบัติเรื่องการกำหนดหัวเรื่อง การกำหนดหัวเรื่องภาษาไทย การกำหนดเลขหมู่ เขตข้อมูลที่ใช้ลงรายการทางบรรณานุกรมแก่ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการแพทย์  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงานในงานจัดการข้อมูลให้มีความเข้าใจและมีแนวปฏิบัติในการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

เนื้อหาของแนวปฏิบัติ