Collaborative Management of Institutional Assets: The University of Hong Kong’s CRIS

“Collaborative Management of Institutional Assets: The University of Hong Kong’s CRIS” เป็นหัวข้อที่น่าสนใจหัวข้อหนึ่งในการประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกของ OCLC ครั้งที่ 6 (OCLC 6th Asia Pacific Regional Council 2014 Membership Conference) เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2557 นำเสนอ โดย David Palmer ซึ่งเป็น Associate University Librarian for Digital Strategies & Technical Services and Principal Investigator for The HKU Scholars Hub ที่มหาวิทยาลัยฮ่องกง

มหาวิทยาลัยฮ่องกงได้สร้างระบบการจัดเก็บและรักษาผลงานวิจัยซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยขึ้น ในการจัดสร้างระบบ Palmer ได้กล่าวถึง ทรัพยสินที่สำคัญและปัญหาต่าง ๆ ที่พบ พอสรุปได้ดังนี้

 

  1. ชื่อเสียง (Reputation)  
    ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย เกิดจาก “ชื่อเสียงของนักวิชาการแต่ละคน” ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเห็นคุณค่า จึงพยายามพัฒนาและเผยแพร่ชื่อเสียงของนักวิชาการเหล่านั้น และทำให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ส่งออกไปสู่ภายนอกมีความถูกต้องแม่นยำ ในการเก็บรักษาชื่อเสียง นอกจากจัดเก็บตัวผลงานวิจัยแล้ว ยังต้องจัดเก็บข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย สถาบันที่สนับสนุนงานวิจัย และแหล่งเงินทุนต่าง ๆ เป็นต้น                                                                                             

10

2. การระบุตัวตน (Identity)                                                                                       ปัญหาการระบุตัวตนของนักวิชาการหรือมหาวิทยาลัย   มีปัญหา ดังนี้

2.1 ปัญหาชื่อมหาวิทยาลัย: ทุกมหาวิทยาลัยในฮ่องกงจะใช้ชื่อเหมือน ๆ กัน ทำให้ยากต่อการค้นหาข้อมูล เช่น

  • University of Hong Kong
  • Chinese University of Hong Kong
  • City University of Hong Kong
  • Polytechnic University of Hong Kong
  • Baptist University of Hong Kong
  • Hong Kong University of Science & Technology

2.2 ปัญหาชื่อคน: นอกจากปัญหาชื่อซ้ำกันแล้ว ยังพบปัญหาอื่น ๆ อีก ได้แก่
2.2.1 คนเดียวแต่มีหลายชื่อ เช่น

1. บัตรประชาชนของชาวฮ่องกง: มีชื่อภาษาอังกฤษ และชื่อภาษาจีน ซึ่งทั้ง
2 ชื่อนี้ ไม่มีความหมายหรือเสียงที่เกี่ยวข้องกัน เช่น

Wong, Danny Wai Ming Roman
黃偉明 Chinese (漢字 – hanzi)

2. ชื่อย่อในงานเขียนทางวิชาการ เช่น

  • Wong,WMD
  • Wong, WM
  • Wong, DW 

3. ชื่อที่เขียนตามการออกเสียงของแต่ละประเทศ: ชื่อคนเดียวกัน แต่เมื่ออยู่ต่างประเทศกัน ก็จะขียนต่างกัน เพื่อให้คนท้องถิ่นในประเทศนั้น ๆ จำได้ง่าย และเข้าใจง่ายกว่า เช่น

  • Hanyu Pinyin (Mandarin) Huang Weiming
  • WadeGiles(Taiwan) Huang Wei-ming
  • Fokkien people inTaiwan Hwang, Wai-ming
  • Korean: Huang Wim Yeong

2.2.2 ชื่อเดียวแต่หมายถึงคนหลายคน ซึ่งเป็นปัญหาในทางตรงกันข้ามกับข้อด้านบน                                                                                                                             1. ชื่อย่อทางวิชาการ: ชื่อย่อทางวิชาการชื่อหนึ่งอาจหมายถึงคนได้หลายคน เช่น Wong, DWM อาจเป็น Wong, Daniel Wai Ming หรือ Wong, David Wing Man ก็ได้
2. ตัวอักษรที่ใช้ในการเขียน: จากภาษาอังกฤษเขียนเป็นตัวอักษรจีน อาจเขียนได้หลายลักษณะ กล่าวคือ เขียนแบบตัวเต็ม หรือตัวย่อก็ได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นชื่อของคน ๆ เดียวกันก็ตาม เช่น

  • Wong, Wai-ming
  • 黃偉明 (traditional)
  • 黄伟明 (simplified)
  • 王偉明

และในทางกลับกัน จากตัวอักษรภาษาจีน พอเขียนกลับเป็นภาษาอังกฤษก็สามารถเขียนได้ หลายแบบเช่นกัน ตามแต่มาตรฐานของแต่ละที่ เช่น
黄偉明

  • Wong, Wai-ming (Hong Kong customary)  แบบทั่วไปที่ใช้ในฮ่องกง
  • Huang, Weiming (Hanyu Pinyin) แบบที่ใช้ในภาษาจีนกลาง (พินอิน)
  • Huang, Wei-ming (Taiwan Wade-Giles)
  • Hwang, Wai-ming (Fokkien customary)  แบบทั่วไปในภาษาฮกเกี้ยน

3. ผลกระทบที่เกิดขึ้น (Impact)                                                                                ต้องตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ตัววัดแบบไหน หรือใช้วิธีอะไรในการวัดผลกระทบของงานวิจัยนั้นๆ ซึ่งมีแหล่งข้อมูลหลายที่ที่สามารถนำมาใช้เพื่อ “วัด” ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยนั้น ๆ

The HKU Scholars Hub      มีประวัติ ดังนี้

  • ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 2005 มีลักษณะเป็น Institutional Repository (IR) เก็บรวบรวมผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
  • ในปี ค.ศ. 2009 มหาวิทยาลัยได้จัดทำโครงการ “แลกเปลี่ยนความรู้” (HKU’s Knowledge Exchange : KE) ขึ้น มหาวิทยาลัยถือว่าโครงการนี้สำคัญมาก เป็นพันธกิจข้อที่สามของมหาวิทยาลัย นอกจากการวิจัย แลการสอน โครงการนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับสาธารณะเพื่อจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันทั้งในเชิงสังคม เชิงพาณิชย์ หรือเชิงวัฒนธรรม หน้าที่หลักที่สำคัญของโครงการ คือ ขยายขอบเขต The HKU Scholars Hub ให้กลายเป็นสื่อกลางสำคัญในการแลกเปลี่ยนความรู้
  • สิ่งที่สำนักหอสมุดต้องทำ คือ ขยายขอบเขต  The HKU Scholars Hub ให้ใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ของมหาวิทยาลัยฮ่องกง และทำให้เห็นถึงศักยภาพของการวิจัยและความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย จึงได้พัฒนาจาก Institutional Repository (IR) มาเป็น Current Research Information System (CRIS)

                                                    ความแตกต่างระหว่าง IR และ CRIS                  

                       IR                                CRIS
เก็บรวบรวมผลงานวิจัย  (Fulltext publications) และรักษาผลงานวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย (Research Objects) เช่น ผลงานวิจัย (Publications) ผู้วิจัย (Researchers) โครงการ (Projects) และสิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities) เป็นต้น
เปิดให้เข้าถึงได้ (Open Access) แสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่มีต่อการวิจัยอย่างชัดเจน
มีข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ
มีรายละเอียดแหล่งเงินทุนที่สนับสนุนการวิจัย 
มี Tech Transfer
มีการให้สื่อของฮ่องกงเชิญผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยไปพูดเกี่ยวกับหัวข้อที่วิจัยเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์   

 

สำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัยฮ่องกง จะต้องพัฒนาให้ก้าวข้าม  การอ้างอิงบรรณานุกรมแบบเก่าที่เมื่อกดเข้าไปในบรรณานุกรมแล้ว  มีแต่สิ่งพิมพ์  (น่าจะหมายถึงบทความ) และกดเข้าไปอีกก็มีแต่สิ่งพิมพ์   (ตัวบทความ) ซึ่งในกระบวนการวิจัยและกระบวนการสอนนั้น มันมีมากกว่าบทความ ดังนั้น ห้องสมุดจะต้องบริหารจัดการงานวิจัยและการอ้างอิงให้มีการเชื่อมโยงไปยังข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย (Research Objects) และลักษณะของการวิจัยในมหาวิทยาลัย โดยในปีนี้หน้าเว็บเพจของ   The HKU Scholars Hub ได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย (Research Objects) และลักษณะของการวิจัยในมหาวิทยาลัย ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. Researchers
ประวัติของนักวิจัยบนหน้าเว็บ (Researchers’ profile) จะเห็นข้อมูลต่อไปนี้

  • ชื่อของนักวิจัย (ที่มีทั้งภาษาอังกฤษ และตัวอักษรจีนอยู่) และนามปากกาที่ใช้ ด้านล่างตรง Cited as ก็จะมีนามปากกาอื่นปรากฏอยู่ด้วย
  • ตำแหน่งหน้าที่การงานของนักวิจัย
  • แผนกที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์และที่ทำงานของนักวิจัย
  • คณะที่ประจำ
  • ประวัติส่วนตัว สามารถดาวน์โหลดไปดูความน่าเชื่อถือได้
  • เรื่องที่สนใจเป็นพิเศษ
  • มีการเชื่อมไปอีกหน้าเพจหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับนักวิจัย (อาจเป็นบล็อกหรืองานเขียนของนักวิจัย)
  • มี Email Alert และ RSS Feed

กุญแจสำคัญคือ: มีการเชื่อมต่อไปยังเรื่องอื่น ๆ โดยการทำลิ้งค์ เช่น ตรงแผนกที่อยู่ / ที่ที่ทำงาน / คณะ / หัวข้อที่สนใจ เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนที่เข้ามาดูสามารถลิ้งค์ต่อไปยังเรื่องหรือสิ่งที่เขาต้องการได้ทันทีภายในหน้าเดียวกัน

1

แต่จะมีนักวิจัยบางประเภท บางสาขาที่ใช้หน้าเว็บแสดงประวัติแบบนี้ไม่ได้ เช่น สาขาสถาปัตยกรรม ซึ่งควรจะปรับหน้าเว็บประวัติให้เป็นในลักษณะของ “รางวัลที่ได้รับ” หรือ “การแข่งขันที่ผ่านมา” เพื่อนำเสนอ background ของนักวิจัยได้ดีกว่า โดยระบุวันเดือนปี ที่ได้รับรางวัลนั้นมา ได้มาเพราะอะไร ได้ที่เท่าไร ได้มาจากงานอะไร ใครเป็นคนจัดการแข่งขันนี้ ประเภทของรางวัลที่ได้คืออะไร

11

บางประเภทก็จะไม่มีรางวัล แต่อาศัย “ผลงานการเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์”  ที่น่าสนใจ   อย่างในคณะครุศาสตร์ต้องมีสถานะของวิทยานิพนธ์แต่ละเล่มว่า ตอนนี้อาจารย์ท่านนี้กำลังให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์เรื่องไหนอยู่ ชื่อเรื่อง ขอบเขตที่ศึกษา นักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้คือใคร ปีไหน ซึ่งการทำแบบนี้ เป็นผลดีกับนักศึกษาที่กำลังหาอาจารย์ที่ปรึกษา ทำให้ได้อาจารย์ที่ปรึกษาที่ตรงสาขาที่อยากทำ

12

2. Publications
ประกอบด้วยข้อมูล ดังต่อไปนี้:

  • งานวิจัยแต่ละเล่มจะมีไฟล์ให้ดาวน์โหลดและมีปุ่มให้ส่งอีเมลไปหาผู้เขียนวิจัยเรื่องนั้น ๆ ได้
  • สถิติที่ผลงานวิจัยถูกนำไปอ้างอิง (Citation) (อ้างอิงจาก Scopus ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ใช้สากลในการอ้างอิงผลงานต่าง ๆ เป็นบทความทางวิชาการที่ดัง ๆ และน่าสนใจ http://www.scopus.com)
  • จำนวนครั้งที่มีการถูกอ้างอิงผ่านทางโซเชียลมีเดีย หรือสื่อออนไลน์อย่าง Twitter  Facebook  Mendeley  CiteULike
  • การให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับงานวิจัยโดยระบุองค์กรที่                    ให้ความช่วยเหลือ หมายเลขของผู้ขอการช่วยเหลือ และรายละเอียดในการขอความช่วยเหลือ
  • Grants ให้รายชื่องานวิจัยที่ได้รับทุนสนับหนุน
  • ตรงส่วนท้ายเป็น Author Affilliations คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้เขียน ซึ่งนำมาจาก Scopus

3

3. Organizations ให้ข้อมูล ดังต่อไปนี้:

  • ข้อมูลทั่วไป และรายละเอียดต่าง ๆ ในคณะ เช่น ชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ เว็บไซต์ คณบดี
  • ผลงานทางวิชาการของคณะนั้น ๆ โดยแบ่งตามประเภทของผลงาน เช่น บทความ หนังสือ บทหนึ่งในหนังสือ เอกสารการประชุม วารสารที่ใช้
  • เงินทุน แสดงรายชื่อผู้ขอรับเงินทุนสนับสนุนในการวิจัยล่าสุด                   โดยระบุชื่อผลงาน ผู้ขอเงินทุน จำนวนเงินที่ใช้ และปีที่ขอ (เรียงจากล่าสุดเป็นอันดับแรก)
  • Editorships บรรณาธิการสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น วารสาร หรือการประชุม โดยระบุชื่อของผู้ที่เคยทำงานด้านบรรณาธิการ ระยะเวลาที่ทำ ตำแหน่งที่ทำ และชื่อของวารสารหรือการประชุมที่เคยทำ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับนักวิจัยในคณะนั้น ๆ และทำให้รู้ถึงขอบเขตที่นักวิจัยแต่ละท่านสนใจด้วย
  • ตารางแสดงจำนวนการถูกอ้างอิงของนักวิจัยในคณะ                                      โดยอ้างอิงจากวารสารหรือการประชุมที่เกี่ยวข้องกับสายงานนั้น ๆ

4

Bibliometrics

วิธีการทำดัชนีวรรณกรรม (Bibliometrics) มี 3 ระดับ ได้แก่

1. Article Level : ระดับบทความ

  • ดูจำนวนครั้งที่ผลงานถูกอ้างอิงในวารสารจากฐานข้อมูลชื่อดังต่าง ๆ อาทิ Scopus      WoS          PubMed, etc.
  • Alt Metrics: ระบบการวัดการอ้างอิงออนไลน์                                                        เช่น F 1000     Altmetrics.com  เป็นต้น โดยดูจำนวนครั้งที่มีคนเข้ามาดู   งานวิจัย จำนวนที่ดาวน์โหลดงานวิจัยนี้ไป หรือจำนวนบล็อกอื่น ๆ ที่มีการนำงานวิจัยนี้ไปอ้างถึง

5

2. Author Level : ระดับผู้แต่ง

  • ดูจำนวนครั้งที่ผลงานถูกอ้างอิงจาก Scopus   AU-ID   ResearcherID Google Scholar Citation
  • Alt Metrics: ระบบการวัดการอ้างอิงออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับผู้เขียน               งานวิจัย ดูยอดดาวน์โหลด ยอดการเข้ามาดู

6

3. Journal Level : ระดับวารสาร

  • ดูค่า Impact Factor
  •  SCImago Journal & Country Rank
    ดูอันดับของนักวิจัยแต่ละคนเมื่อเทียบกับทั้งประเทศจากนิตยสาร             หรือวารสารที่มีความน่าเชื่อถือ

สำหรับ Slide ที่ 32 และ 33 เป็นภาพจำลองการร่วมมือทางการวิจัย ยกตัวอย่าง ศาสตรจารย์ Bacon-Shone, John Hugh จะเป็นจุดที่อยู่ตรงกลาง และกระจายออกไปเชื่อมกับผู้ร่วมงานวิจัยของเขาซึ่งคนเหล่านี้เป็นไปได้ว่าจะมีการใช้ Keyword สำหรับการค้นหาที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น หัวข้อในบทความคล้ายกัน มี Keyword เหมือนกัน อยู่ในคณะเดียวกัน เป็นต้น เมื่อคลิกชื่อของผู้ร่วมงานวิจัยขึ้นมา อย่างในกรณีนี้ คลิกไปที่ Wong, Chit Ming ทางด้านซ้ายมือก็จะปรากฏข้อมูลโดยย่อของนักวิจัยคนนี้ขึ้นมา และมีข้อมูลเกี่ยวกับงานที่เคยทำร่วมกับศาสตรจารย์ Bacon-Shone, John Hugh วิธีการนี้มีประโยชน์มากสำหรับนักวิจัยหน้าใหม่ ในตอนแรกเราอาจจะไม่มีฐานข้อมูลว่า ถ้าอยากทำวิจัยเรื่องหนึ่ง จะหาผู้ร่วมงานได้จากไหน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้นักวิจัยหน้าใหม่ได้รู้จัก เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนร่วมงานของเพื่อนร่วมงานต่อกันไปเป็นทอดๆ หรือวิธีการเหล่านี้ก็ยังทำให้รู้จักนักวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในคณะ และทำให้เราได้รู้ว่า นักวิจัยคนที่มีความน่าเชื่อถือ หรือมีความสนใจเรื่องเดียวกัน และเก่งกาจนั้นอยู่ที่ไหน และเป็นใครได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

7

8

การจัดการกับการระบุตัวตนของนักวิจัย (Identity Management)      สามารถดำเนินการได้ดังนี้

1.) Individual Scholar:
นักวิจัยแต่ละคนสามารถจัดการเรื่องเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง โดยจัดการกับการอ้างอิงต่าง ๆ เช่น Google Scholar Citation/ImpactStory,                            Research Gate, etc. / Researcher ID & ORCID

2.) Library :
ส่วนทางหอสมุดก็สามารถทำได้โดยการ
– Scopus CleanUp
– Researcher ID
– ORCID
ซึ่งสามารถสร้างให้กับนักวิจัยได้ง่าย ๆ ตามตัวอย่าง

13

14

The HKU Scholars Hub (The Hub)- –
A Current Research Information System (CRIS)
โดยสรุป CRIS เป็นระบบที่พัฒนาร่วมกันระหว่าง The University of Hong Kong กับ CINECA ของอิตาลี โดยใช้โปรแกรม DSpace ซึ่งเป็น open source เริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลากหลายที่ ทั้งจาก HKU Sources ได้แก่ Registry    Research Services    Graduate School   Public Affairs   และTech Transfer รวมทั้งข้อมูลจากภายนอก เช่น Scopus   WoS    ResearchID    SSRN    ACM Digital Library และGoogle Scholar Citations เป็นต้น โดยมีบรรณารักษ์ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล    เก็บรักษาและอัพเดทข้อมูลเหล่านั้น มีนักวิจัยและคณะต่าง ๆ ทำหน้าที่แก้ไขปรับปรุงข้อมูล การรวบรวมนี้เรียกว่า “คลังปัญญา” หรือ Collective Intelligence ซึ่งระบบนี้จะเพิ่มความสามารถในการค้นหาข้อมูล หรือเพิ่มจำนวนข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น ตลอดจนเป็นระบบที่ช่วยในการบริหารจัดการเรื่อง ชื่อเสียง (Reputation) การระบุตัวตน (Identity) และผลกระทบที่เกิดขึ้น (Impact) ของมหาวิทยาลัยฮ่องกงได้เป็นอย่างดี

9

รายการอ้างอิง:
Palmer, David . (2014). Collaborative management of institutional                          assets: The University of Hong Kong’s CRIS . (Slide).