All posts by นางจันทร์เพ็ญ เล่าอิทธิโชติ

อาเซียน ไทย และ มหาอำนาจ ในยุคแห่งการปฏิรูป

20150521_09460820150521_094807

การสัมมนา TU-ASEAN Forum ครั้งที่ 10 เรื่อง   “อาเซียน  ไทย และ มหาอำนาจ  ในยุคแห่งการปฏิรูป” วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2558 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ ฟอร์จูน การสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายเชิดเกียรติ  อัตถากร รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ มากล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยกล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างไทย อาเซียน และมหาอำนาจ ใน 3 ประเด็น ได้แก่

  1. ความท้าทายในภูมิภาค ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความซับซ้อน เศรษฐกิจกำลังเติบโตไปข้างหน้า ขณะที่ความขัดแย้งในภูมิภาคก็เพิ่มมากขึ้น มีการเผชิญหน้าระหว่างประเทศกันมากขึ้น เกิดการผงาดขึ้นของจีน (The Rise of China) จีนจัดตั้ง Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) มีประเทศที่เข้าร่วมถึง 51 ประเทศ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งของ International Monetary Fund (IMF) และ World Bank ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นหัวเรือใหญ่ และ Asian Development Bank (ADB) ที่มีญี่ปุ่นเป็นหัวโจก    ขณะที่ญี่ปุ่นเองก็ปรับยุทธศาสตร์เพิ่มงบประมาณทางทหารเพื่อป้องกันประเทศ ทางสหรัฐอเมริกาก็แสดงบทบาทด้านความมั่นคงและทางทหารมากขึ้นในภูมิภาค
  2. ความท้าทายของอาเซียนในปัจจุบัน การรวมตัวของอาเซียนได้รับการยอมรับและมีจุดแข็งที่สามารถเข้ากับมหาอำนาจได้ อาเซียนเป็นประชาคมที่ยึดหลัก “ฉันทามติ”  มีบรรทัดฐานร่วมกัน และ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน” เป็นประชาคมที่ทำให้ภูมิภาคสงบสุข และแข็งแกร่ง ตลอดจนมีพลวัตและมองไปยังโลกภายนอก นอกจากนี้อาเซียนยังเป็นกลไกความร่วมมือของภูมิภาค รักษาความเป็นกลางในการดำเนินความสัมพันธ์ต่างๆ กับต่างประเทศที่เป็นคู่เจรจา สำหรับบทบาทของอาเซียนกับมหาอำนาจ หลังปี 2558 ประชาคมอาเซียนจะเน้นย้ำเรื่องความมั่นคง การใช้หลักธรรมาภิบาล และหลักสิทธิมนุษยชน
  3. ไทยจะดำเนินทิศทางอย่างไรในกรอบอาเซียนและกรอบมหาอำนาจ ไทยมีจุดแข็งในเชิงภูมิศาสตร์ เป็นศูนย์กลางการขยายการลงทุนของอาเซียน ขณะที่อาเซียนมีการเชื่อมโยงกับมหาอำนาจภายนอก มีการจัดทำการค้าเสรีกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ฯลฯ โดยสรุป ในการขับเคลื่อนประเทศไทยในศตวรรษที่ 21  ต้องคำนึงถึงบรรทัดฐานและค่านิยมในความร่วมมือระหว่างประเทศ และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจต้องรักษาสมดุลของประเทศสมาชิกและมหาอำนาจ ตลอดจนผลประโยชน์โดยรวม เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งและยั่งยืน

Continue reading อาเซียน ไทย และ มหาอำนาจ ในยุคแห่งการปฏิรูป

กระดาษไร้กรด (Acid-free Paper) นั้นสำคัญไฉน ?

กระดาษไร้กรด (Acid-free Paper) ถือเป็นวัสดุที่สำคัญที่ใช้ในการซ่อมแซม อนุรักษ์ และสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด     ศูนย์สารสนเทศ และหอจดหมายเหตุให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น     โดยจะใช้กับหนังสือ หรือเอกสารที่มีค่าหายากทางประวัติศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ในต่างประเทศส่วนมากจะใช้กระดาษไร้กรดในการผลิตหนังสือ หรือวารสารวิชาการเพื่อให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน   Continue reading กระดาษไร้กรด (Acid-free Paper) นั้นสำคัญไฉน ?

Encapsulation VS Lamination

Encapsulation คือ การประกบ หรือผนึกเอกสารที่มีลักษณะแบนราบด้วย แผ่นฟิล์มไมลาร์ (Mylar Film)  2 แผ่น แผ่นฟิล์มไมลาร์มีความหนาหลายขนาด ที่นิยมใช้จะหนาประมาณ 75 ไมคอน

Encapsulation เป็นเทคนิคการป้องกันการจับต้องเอกสารต้นฉบับโดยตรง ช่วยให้เอกสารต้นฉบับคงทน และมีอายุการใช้งานยาวนาน     เหมาะสำหรับจัดเก็บแผนที่ แผนผัง แบบแปลน ภาพขนาดใหญ่ และ เอกสารที่มีคุณค่าหายากทางประวัติศาสตร์

ข้อควรระวัง คือ เอกสารที่มีคุณค่าหายากทางประวัติศาสตร์ ที่จะนำมาทำ  Encapsulation ต้องเป็นเอกสารไร้กรด (acid-free) และผ่านการซ่อมแซม หรือขบวนการอนุรักษ์มาเรียบร้อยแล้ว

ข้อดี

  1. ผู้ใช้สามารถถ่ายสำเนาเอกสารจากต้นฉบับได้ โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายเอกสารนั้นออกจากแผ่นฟิล์มไมลาร์
  2. ถ้าแผ่นฟิล์มไมลาร์ชำรุด หรือเสื่อมสภาพ ก็สามารถนำเอกสารต้นฉบับมาทำ Encapsulation ใหม่ได้ โดยเอกสารต้นฉบับนั้นยังคงอยู่ในสภาพดี และไม่ได้รับความเสียหาย

Continue reading Encapsulation VS Lamination

การทำPhase Box และซองกระดาษ เพื่อการเก็บรักษาหนังสือหายาก

12

การทำ Phase Box   มีจุดประสงค์ เพื่อป้องกันแสง ฝุ่นละออง การจับถือ  กันการกระแทก และลดการจับต้องตัวเล่มหนังสือโดยตรง เหมาะสำหรับใส่/เก็บรักษาหนังสือเก่า หรือหนังสือหายาก (Rare Book) ที่มีสภาพชำรุดมาก หรือเล่มที่มีขนาดบางไม่สามารถวางตั้งได้

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ทำ Phase Box และซองกระดาษ เช่น Continue reading การทำPhase Box และซองกระดาษ เพื่อการเก็บรักษาหนังสือหายาก

อาทิตย์อัสดง ที่หาดจอมเทียน

 public-photo-thumb-2011041419471792262-640x480

                                         บรรยากาศ หาดจอมเทียน ถ่ายจากที่สูง

ที่มาของภาพ: http://www.teedin108.com/land/view/20578/

สงกรานต์ปีนี้ พาครอบครัวหลบร้อน ไปเล่นน้ำทะเล ที่ “หาดจอมเทียน” หาดทรายสะอาด    ทอดตัวเป็นแนวยาวประมาณ 6 กิโลเมตร อยู่ห่างจากพัทยาใต้ 4 กิโลเมตร ตามถนนเลียบชายหาดหรือแยกขวาจากถนนสุขุมวิท   ตรงกิโลเมตรที่ 150.5 เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร

Continue reading อาทิตย์อัสดง ที่หาดจอมเทียน

เว็บไซต์ใหม่ ห้องสมุดศาสตราจารย์ดิเรก ชัยนาม

เว็บไซตืห้องสมุดศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม
                                            เว็บไซตืห้องสมุดศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม

ห้องสมุดศาสตราจารย์ดิเรก ชัยนาม ได้พัฒนาเว็บไซต์ใหม่ โดยมี URL: http://main.library.tu.ac.th/direk2014/v2/  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรสารเทศ ข้อมูล และข่าวสารต่าง ๆ ของห้องสมุดได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องเดินทางมาที่ห้องสมุด ( anytime anywhere) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ของห้องสมุด และใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างห้องสมุดกับผู้ใช้บริการ เขียนโดยใช้โปรแกรม WordPress 3.9.3 เนื้อหามีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  แนะนำให้เปิดดูเว็บไซต์โดยใช้ Chrome  และยังพัฒนาให้ใช้ได้บนโทรศัพท์มือถืออีกด้วย

1425628963012

Continue reading เว็บไซต์ใหม่ ห้องสมุดศาสตราจารย์ดิเรก ชัยนาม

Collaborative Management of Institutional Assets: The University of Hong Kong’s CRIS

“Collaborative Management of Institutional Assets: The University of Hong Kong’s CRIS” เป็นหัวข้อที่น่าสนใจหัวข้อหนึ่งในการประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกของ OCLC ครั้งที่ 6 (OCLC 6th Asia Pacific Regional Council 2014 Membership Conference) เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2557 นำเสนอ โดย David Palmer ซึ่งเป็น Associate University Librarian for Digital Strategies & Technical Services and Principal Investigator for The HKU Scholars Hub ที่มหาวิทยาลัยฮ่องกง

มหาวิทยาลัยฮ่องกงได้สร้างระบบการจัดเก็บและรักษาผลงานวิจัยซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยขึ้น ในการจัดสร้างระบบ Palmer ได้กล่าวถึง ทรัพยสินที่สำคัญและปัญหาต่าง ๆ ที่พบ พอสรุปได้ดังนี้

 

Continue reading Collaborative Management of Institutional Assets: The University of Hong Kong’s CRIS