Historical Material Preservation Kojima Hall, Library of Economics, University of Tokyo

ฟังบรรยายเรื่อง Historical Material Preservation โดย คุณ Kojima Hiroyuki, the Resources and Historical Collections Office, The University of Tokyo เป็นกิจกรรมหนึ่งของ โครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science

03

เนื่องจากห้องสมุดมีเอกสารเก่าและหนังสือเยอะมากจึงต้องแยกเอกสารที่ไม่ค่อยได้ใช้งานออกมาเก็บต่างหาก เพราะถ้าเก็บไว้นานอาจเกิดความเสียหายได้จากการหักงอ หรือถูกวางทับกัน  จึงเป็นภารกิจสำคัญของห้องสมุดที่จะทำหน้าที่ในการเก็บรักษาสมบัติของชาติเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา

หนังสือและเอกสารเก่าขึ้นชั้นรอกำจัดแมลงก่อนจัดเก็บ
หนังสือและเอกสารเก่าขึ้นชั้นรอกำจัดแมลงก่อนจัดเก็บ

IFLA มีมาตรฐานในการเก็บรักษาหนังสือเริ่มจากปี 1979 ระเบียบการเก็บรักษาหนังสือเก่าจะระบุคำว่า Conservationกับ Restoration

ปี 1986ระเบียบจะเปลี่ยนไปใช้คำว่า Principles for the Preservation and Conservation of library materials

ปี 1998 เป็นต้นไป ระเบียบจะเปลี่ยนจาก เสียก็ซ่อม เป็น ทำยังไงไม่ให้มันเสีย คนที่ทำหน้าที่นี้คือ Conservator ทำหน้าที่ Conservation

ความแตกต่างของ 2 คำนี้คือ

Preservation = การควบคุมดูแล บริหารจัดการ วางแผนนโยบาย

Conservation = เชิงเทคนิค นำนโยบายมาปฏิบัติ

IPM : Integrated Pest Management คือวิธีการจัดการกับความเสียหายที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น แมลงที่กัดกินหนังสือ ปลวก เชื้อรา เป็นวิธีการควบคุมปริมาณของมันไม่ให้เพิ่มขึ้น มี 5 ขั้นตอน

  1. Avoid คือ การหลีกเลี่ยงไม่ให้มีอาหารของมัน การทำให้สะอาด
  2. Block คือ การปิดทางเข้า-ออกของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้
  3. Detect คือ การตรวจสอบดูแลอยู่เสมอ
  4. Respond คือ ถ้าพบมันต้องคิดหาวิธีการจัดการ เช่น ควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมความชื้น
  5. Recover/Treat คือ ถ้าพบมันต้องดำเนินการ เช่น ลดอุณหภูมิ

มาตรฐานอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการจัดเก็บเอกสาร
กระดาษ 22 องศา +- 2          ความชื้น 55 % +- 5 %
เอกสารดิจิตอล 10-25 องศา    ความชื้น 40-60 %
ไมโครฟิล์ม 21 องศา            ความชื้น มากกว่า 15 % ต่ำกว่า 35 %

เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น
เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น
อุปกรณ์วัดความเป็นกรดของกระดาษ
อุปกรณ์วัดความเป็นกรดของกระดาษ

ห้องสมุดเศรษฐศาสตร์มี 2 ส่วน คือ ห้องสมุดและห้องเก็บเอกสาร (Library and Storage Room)
1.ห้องสมุด ทำหน้าที่เป็นห้องสมุดทางด้านเศรษฐศาสตร์ ใช้เก็บเอกสาร หนังสือทางด้านเศรษฐศาสตร์ สถิติ เศรษฐกิจ  เป็นหนังสือที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไป มีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
2.ห้องเก็บเอกสาร ใช้เก็บเอกสารจดหมายเหตุ ธนบัตรที่นำไปจัดนิทรรศการ เอกสารของบริษัท ธนาคารที่ปิดตัวลงเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เอกสารในห้องนี้ไม่มีขายทั่วไป ไม่สามารถยืม-คืนได้

เก็บลงกล่องแล้วคลุมด้วยแผ่นพลาสติกเพื่ออบด้วย Co2
เก็บลงกล่องแล้วคลุมด้วยแผ่นพลาสติกเพื่ออบด้วย Co2
ถังก๊าซ Co2 สำหรับอบหนังสือ
ถังก๊าซ Co2 สำหรับอบหนังสือ

ห้องเอกสารกับห้องทำงานอุณหภูมิจะแตกต่างกัน ซึ่งห้องเก็บเอกสารไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปภายใน หลอดไฟที่ใช้ในห้องนี้จะเป็น UV touch กำแพงทำเป็น 2 ชั้น มีฉนวนกันความร้อนไว้ข้างนอกเพื่อไม่ให้ความร้อนปะทะกับหนังสือโดยตรง การปูพื้นยางจะไม่ให้มีรอยต่อ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฝุ่นละออง หนังสือที่จะนำมาเก็บในห้องนี้ต้องผ่านกระบวนการกำจัดแมลงก่อน โดยนำหนังสือลงกล่องครั้งละประมาณ 50 กล่อง แล้วคลุมด้วยพลาสติก จากนั้นฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ แต่ถ้าหนังสือที่จะนำมาเก็บมีปริมาณไม่มากก็ใช้วิธีการกำจัดแมลงโดยการแช่แข็งที่อุณหภูมิ -40 องศา ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์

กล่องเก็บเอกสารที่จ้างบริษัทเอกชนผลิต
กล่องเก็บเอกสารที่จ้างบริษัทเอกชนผลิต
ซองใส่เอกสารที่ทำขึ้นเองจากกระดาษไร้กรด
ซองใส่เอกสารที่ทำขึ้นเองจากกระดาษไร้กรด
ซองใส่เอกสารที่จัดทำขึ้นเองจากกระดาษไร้กรด
ซองใส่เอกสารที่จัดทำขึ้นเองจากกระดาษไร้กรด
เครื่องทำไมโครฟิล์ม
เครื่องทำไมโครฟิล์ม

222

และเนื่องจากหนังสือที่รอจัดเก็บมีปริมาณมากจึงมีบางส่วนที่จัดทำเป็นไมโครฟิล์มไว้ด้วย

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมแลกเปลี่ยนในโครงการ “SAKURA EXCHANGE PROGRAM IN SCIENCE : JAPAN-ASIA YOUTH EXCHANGE PROGRAM IN SCIENCE”

NATIONAL DIET LIBRARY, KANSAIKAN (NDL)

MAP ROOM , CENTER FOR SOUTHEAST ASIAN STUDIES, KYOTO UNIVERSITY

TEPIA MUSEUM

Toyo Bunko

INSTITUTE OF DEVELOPING ECONOMIES, LIBRARY: IDE

CSEAS LIBRARY : ห้องสมุดศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

KYOTO UNIVERSITY : MAIN LIBRARY