Tag Archives: การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ

การป้องกันมิให้หนังสือชำรุดเสียหาย

หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นฉบับพิมพ์ไว้ให้บริการ ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ ซึ่งจำนวนของของทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นสิ่งพิมพ์มีดังนี้

หนังสือ                               1,220,408       ฉบับพิมพ์

วารสาร (ภาษาไทย)                 1,132            ชื่อเรื่อง

วารสาร (ภาษาต่างประเทศ)        683              ชื่อเรื่อง

หนังสือพิมพ์ (ภาษาไทย)           16                ชื่อเรื่อง

หนังสือพิมพ์ (ภาษาต่างประเทศ)   4                  ชื่อเรื่อง Continue reading การป้องกันมิให้หนังสือชำรุดเสียหาย

นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีศึกษาดูงานฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯและฝ่ายสงวนรักษาทรัพยากรฯ

เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2559 เวลา 9.30 – 11.00 นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีจำนวน 3 คน เข้าศึกษาดูงานฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯและฝ่ายสงวนรักษาทรัพยากรฯ ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ชั้น U1 หอสมุดปรีดีพนมยงค์

S__21659656

Continue reading นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีศึกษาดูงานฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯและฝ่ายสงวนรักษาทรัพยากรฯ

จากวันวาน …สู่วันนี้ ของโสรัตน์ กาลออง

Guru (1)

สืบเนื่องจาก กิจกรรม เรื่องเล่าจาก … Guru สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา  คุณโสรัตน์ กาลออง  เจ้าหน้าที่ห้องสมุด สังกัดฝ่ายสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ 1 ใน Guru ที่มาเล่าเรื่องชีวิตการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ความภาคภูมิใจในการทำงาน รวมทั้งข้อคิดที่ฝากให้กับน้องๆ

คุณโสรัตน์ กาลออง เล่าถึงการทำงานที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า เริ่มต้นทำงานที่สำนักหอสมุด มธ.ตั้งแต่ปี 2528 ถือเป็นที่ทำงานแห่งแรกและแห่งเดียวหลังจากที่เปลี่ยนชีวิตมาเป็นฆราวาส เพราะก่อนหน้านี้บวชเป็นพระภิกษุมาตลอด Continue reading จากวันวาน …สู่วันนี้ ของโสรัตน์ กาลออง

ซอฟต์แวร์ประกอบชิ้นส่วนกระดาษคืนเป็นเอกสารแบบเดิมได้

วันที่ 4 กรกฎาคม 2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรหอจดหมายเหตุของสำนักงานคณะกรรมาธิการสหพันธ์ด้านการเก็บรักษาบันทึกประวัติศาสตร์ของกระทรวงข่าวกรองอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง มีเรื่องการสืบประวัติผู้คน ส่วนหนึ่งพูดถึงเรื่องการพยายามทำลายเอกสารช่วงก่อนสงครามสิ้นสุด โดยการย่อยเป็นริ้ว ๆ แต่สมัยนี้มีซอฟต์แวร์ที่สามารถนำเอาชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบคืนเป็นเอกสารดั้งเดิมได้

ข่าวสั้น ๆ แต่ทำให้คิดถึงระบบในนิยายวิทยาศาสตร์ที่ใช้เครื่องย่อยหนังสือแล้วเป่าผ่านกล้องเพื่อไปประกอบกลับเป็นต้นฉบับเดิมด้วยซอฟต์แวร์ นิยายวิทยาศาสตร์ดังกล่าว คือ เรื่อง Rainbows End แต่งโดย Vernor Vinge หนังสือเรื่องนี้แต่งในปี ค.ศ. 2006 และได้รับรางวัล Hugo (Hugo Award for Best Novel) นิยายยอดเยี่ยม ประจำปี ค.ศ. 2007 หน้า 117-119 มีผู้รู้เล่าเรื่องนี้ให้ฟัง จับใจความได้ดังนี้ Continue reading ซอฟต์แวร์ประกอบชิ้นส่วนกระดาษคืนเป็นเอกสารแบบเดิมได้

Historical Material Preservation Kojima Hall, Library of Economics, University of Tokyo

ฟังบรรยายเรื่อง Historical Material Preservation โดย คุณ Kojima Hiroyuki, the Resources and Historical Collections Office, The University of Tokyo เป็นกิจกรรมหนึ่งของ โครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science

03

เนื่องจากห้องสมุดมีเอกสารเก่าและหนังสือเยอะมากจึงต้องแยกเอกสารที่ไม่ค่อยได้ใช้งานออกมาเก็บต่างหาก เพราะถ้าเก็บไว้นานอาจเกิดความเสียหายได้จากการหักงอ หรือถูกวางทับกัน  จึงเป็นภารกิจสำคัญของห้องสมุดที่จะทำหน้าที่ในการเก็บรักษาสมบัติของชาติเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา

หนังสือและเอกสารเก่าขึ้นชั้นรอกำจัดแมลงก่อนจัดเก็บ
หนังสือและเอกสารเก่าขึ้นชั้นรอกำจัดแมลงก่อนจัดเก็บ

IFLA มีมาตรฐานในการเก็บรักษาหนังสือเริ่มจากปี 1979 ระเบียบการเก็บรักษาหนังสือเก่าจะระบุคำว่า Conservationกับ Restoration

ปี 1986ระเบียบจะเปลี่ยนไปใช้คำว่า Principles for the Preservation and Conservation of library materials

ปี 1998 เป็นต้นไป ระเบียบจะเปลี่ยนจาก เสียก็ซ่อม เป็น ทำยังไงไม่ให้มันเสีย คนที่ทำหน้าที่นี้คือ Conservator ทำหน้าที่ Conservation Continue reading Historical Material Preservation Kojima Hall, Library of Economics, University of Tokyo

กระดาษไร้กรด (Acid-free Paper) นั้นสำคัญไฉน ?

กระดาษไร้กรด (Acid-free Paper) ถือเป็นวัสดุที่สำคัญที่ใช้ในการซ่อมแซม อนุรักษ์ และสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด     ศูนย์สารสนเทศ และหอจดหมายเหตุให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น     โดยจะใช้กับหนังสือ หรือเอกสารที่มีค่าหายากทางประวัติศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ในต่างประเทศส่วนมากจะใช้กระดาษไร้กรดในการผลิตหนังสือ หรือวารสารวิชาการเพื่อให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน   Continue reading กระดาษไร้กรด (Acid-free Paper) นั้นสำคัญไฉน ?

Encapsulation VS Lamination

Encapsulation คือ การประกบ หรือผนึกเอกสารที่มีลักษณะแบนราบด้วย แผ่นฟิล์มไมลาร์ (Mylar Film)  2 แผ่น แผ่นฟิล์มไมลาร์มีความหนาหลายขนาด ที่นิยมใช้จะหนาประมาณ 75 ไมคอน

Encapsulation เป็นเทคนิคการป้องกันการจับต้องเอกสารต้นฉบับโดยตรง ช่วยให้เอกสารต้นฉบับคงทน และมีอายุการใช้งานยาวนาน     เหมาะสำหรับจัดเก็บแผนที่ แผนผัง แบบแปลน ภาพขนาดใหญ่ และ เอกสารที่มีคุณค่าหายากทางประวัติศาสตร์

ข้อควรระวัง คือ เอกสารที่มีคุณค่าหายากทางประวัติศาสตร์ ที่จะนำมาทำ  Encapsulation ต้องเป็นเอกสารไร้กรด (acid-free) และผ่านการซ่อมแซม หรือขบวนการอนุรักษ์มาเรียบร้อยแล้ว

ข้อดี

  1. ผู้ใช้สามารถถ่ายสำเนาเอกสารจากต้นฉบับได้ โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายเอกสารนั้นออกจากแผ่นฟิล์มไมลาร์
  2. ถ้าแผ่นฟิล์มไมลาร์ชำรุด หรือเสื่อมสภาพ ก็สามารถนำเอกสารต้นฉบับมาทำ Encapsulation ใหม่ได้ โดยเอกสารต้นฉบับนั้นยังคงอยู่ในสภาพดี และไม่ได้รับความเสียหาย

Continue reading Encapsulation VS Lamination

การทำPhase Box และซองกระดาษ เพื่อการเก็บรักษาหนังสือหายาก

12

การทำ Phase Box   มีจุดประสงค์ เพื่อป้องกันแสง ฝุ่นละออง การจับถือ  กันการกระแทก และลดการจับต้องตัวเล่มหนังสือโดยตรง เหมาะสำหรับใส่/เก็บรักษาหนังสือเก่า หรือหนังสือหายาก (Rare Book) ที่มีสภาพชำรุดมาก หรือเล่มที่มีขนาดบางไม่สามารถวางตั้งได้

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ทำ Phase Box และซองกระดาษ เช่น Continue reading การทำPhase Box และซองกระดาษ เพื่อการเก็บรักษาหนังสือหายาก