All posts by นางสาวบุษยา เฟื่องประเสริฐ

Institute of Developing Economies, Library: IDE

การศึกษาดูงาน Institute of Developing Economies, Library : IDE เป็นกิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science
222  111
ห้องสมุด IDE เป็นห้องสมุดเฉพาะ เก็บรวบรวมหนังสือที่จะช่วยให้การวิจัย การจัดการ เศรษฐกิจ การเมืองและปัญหาสังคมของประเทศกำลังพัฒนาและภูมิภาคในเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และประเทศในคาบสมุทรแปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นในปี 1958 ปัจจุบันห้องสมุด IDEมีหนังสือมากกว่า 450,000 รายการ มีข้อมูลสถิติ มากกว่า 100,000 รายการ นอกจากนี้ยังมีหนังสือพิมพ์วารสารเย็บเล่ม แผนที่ ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช และซีดีรอม ให้บริการด้วย
1011 444 555 777666
จำนวนหนังสือที่เกี่ยวกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 61,000 เล่ม เอกสารเกี่ยวกับสถิติ 24,000 เล่ม วารสาร 151 เล่ม หนังสือพิมพ์ 22 ชื่อ ซึ่งมีทั้งที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส และภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาพม่า ภาษาเวียดนาม ภาษาลาว เป็นต้น Continue reading Institute of Developing Economies, Library: IDE

Historical Material Preservation Kojima Hall, Library of Economics, University of Tokyo

ฟังบรรยายเรื่อง Historical Material Preservation โดย คุณ Kojima Hiroyuki, the Resources and Historical Collections Office, The University of Tokyo เป็นกิจกรรมหนึ่งของ โครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science

03

เนื่องจากห้องสมุดมีเอกสารเก่าและหนังสือเยอะมากจึงต้องแยกเอกสารที่ไม่ค่อยได้ใช้งานออกมาเก็บต่างหาก เพราะถ้าเก็บไว้นานอาจเกิดความเสียหายได้จากการหักงอ หรือถูกวางทับกัน  จึงเป็นภารกิจสำคัญของห้องสมุดที่จะทำหน้าที่ในการเก็บรักษาสมบัติของชาติเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา

หนังสือและเอกสารเก่าขึ้นชั้นรอกำจัดแมลงก่อนจัดเก็บ
หนังสือและเอกสารเก่าขึ้นชั้นรอกำจัดแมลงก่อนจัดเก็บ

IFLA มีมาตรฐานในการเก็บรักษาหนังสือเริ่มจากปี 1979 ระเบียบการเก็บรักษาหนังสือเก่าจะระบุคำว่า Conservationกับ Restoration

ปี 1986ระเบียบจะเปลี่ยนไปใช้คำว่า Principles for the Preservation and Conservation of library materials

ปี 1998 เป็นต้นไป ระเบียบจะเปลี่ยนจาก เสียก็ซ่อม เป็น ทำยังไงไม่ให้มันเสีย คนที่ทำหน้าที่นี้คือ Conservator ทำหน้าที่ Conservation Continue reading Historical Material Preservation Kojima Hall, Library of Economics, University of Tokyo

Toyo Bunko

การศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์ Toyo Bunko เป็นกิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science

ป้ายบอกทาง
ป้ายบอกทาง

1111

สถาบัน Toyo Bunko ประกอบด้วย 3 หน่วยงานได้แก่ ห้องสมุด สถาบันวิจัย และพิพิธภัณฑ์ ซึ่งสถาบันนี้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1924 โดย Hisaya Iwasaki ซึ่งได้ซื้อหนังสือเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียและศิลปะมาจากกรุงปักกิ่งล็อตแรกประมาณ 2หมื่นกว่าเล่มและมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ666       1000

ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ
ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ
ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ
ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อหารายได้ให้กับหน่วยงาน Toyo Bunko เป็นหนึ่งในห้าห้องสมุดวิจัยด้านเอเชียศึกษาที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุด มีหนังสือมากกว่า 1 ล้านเล่ม เน้นการเก็บรักษาหนังสือที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยเฉพาะการวิจัยเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออก (จีน) และแอฟริกา มีห้องนิทรรศการศิลปะ และห้องอุปกรณ์ภาพและเสียงที่แสดงถึงสมบัติทางวัฒนธรรม มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับแผนที่โลกและจะเปลี่ยนหัวข้อไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมีร้านขายของที่ระลึกด้วย(Marco Polo shop)

ร้านขายของที่ระลึกภายในพิพิธภัณฑ์
ร้านขายของที่ระลึกภายในพิพิธภัณฑ์
ของที่ระลึกบางส่วน
ของที่ระลึกบางส่วน

 

เวลาเปิดบริการ 10.00-19.00 น. ค่าเข้าชมคนละ 900 เยน
ปิดบริการ ทุกวันอังคาร

 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมแลกเปลี่ยนในโครงการ “SAKURA EXCHANGE PROGRAM IN SCIENCE : JAPAN-ASIA YOUTH EXCHANGE PROGRAM IN SCIENCE”

NATIONAL DIET LIBRARY, KANSAIKAN (NDL)

MAP ROOM , CENTER FOR SOUTHEAST ASIAN STUDIES, KYOTO UNIVERSITY

TEPIA MUSEUM

Historical Material Preservation Kojima Hall, Library of Economics, University of Tokyo

INSTITUTE OF DEVELOPING ECONOMIES, LIBRARY: IDE

CSEAS LIBRARY : ห้องสมุดศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

KYOTO UNIVERSITY : MAIN LIBRARY

TEPIA MUSEUM

การศึกษาดูงาน TEPIA (Association for Technological Excellence Promoting Innovative Advances) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Sakura Exchange Program in Science

TEPIA เป็นสมาคมเอกชนที่ทำวิจัยเกี่ยวกับ แนวโน้มของเทคโนโลยีขั้นสูง เช่นเครื่องจักร ,เทคโนโลยีสารสนเทศ, วัสดุใหม่ , เทคโนโลยีชีวภาพ, พลังงาน ฯลฯ การก้าวล้ำของเทคโนโลยีที่ทันสมัย ​​ใหม่ล่าสุดที่สามารถช่วยแก้ปัญหาที่สำคัญเช่นปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือการสร้างอุตสาหกรรมใหม่โดยคำนึงถึงการเข้าถึงได้ ง่ายต่อการเข้าใจและพัฒนาสังคมในอนาคต

เช็คอายุกันหน่อย +- 5 ปี
เช็คอายุกันหน่อย +- 5 ปี
มีหุ่นยนต์ต้อนรับอยู่ด้านหน้า
มีหุ่นยนต์ต้อนรับอยู่ด้านหน้า
analyze
เพียงแค่ยืนอยู่หน้าจอเครื่องก็สแกนให้เห็นถึงข้างใน

ชั้น 1 มีห้องจัดนิทรรศการTEPIA Advanced Technology Galleryแบ่งออกเป็น 4 โซน ที่แสดงถึงนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น หุ่นยนต์ (พูดได้เฉพาะภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น ยังไม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาอื่นได้)มีบริการข้อมูลเทคโนโลยีชั้นสูงที่นำเสนอ​​โดยใช้ภาพวิดีโอการพิมพ์ภาพ 3 มิติ

การ์ตูนแอนิเมชั่น
การ์ตูนแอนิเมชั่น

นวัตกรรมล้ำสมัย

นวัตกรรมล้ำสมัย
ชั้น 2 มีห้องฉายภาพยนตร์จำนวน 30 ที่นั่ง และมีวิดีโอให้ดูบนหน้าจอ 110 นิ้ว

หุ่นยนต์จิ๋ว
หุ่นยนต์จิ๋ว20150620_115650

พิพิธภัณฑ์ TEPIA เปิดบริการเวลา  10.00-18.00 น.

เสาร์-อาทิตย์ วันหยุดอื่นๆ 10.00-17.00 น.

ปิดบริการ วันจันทร์

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง:
กิจกรรมแลกเปลี่ยนในโครงการ “SAKURA EXCHANGE PROGRAM IN SCIENCE : JAPAN-ASIA YOUTH EXCHANGE PROGRAM IN SCIENCE”

NATIONAL DIET LIBRARY, KANSAIKAN (NDL) 

MAP ROOM , CENTER FOR SOUTHEAST ASIAN STUDIES, KYOTO UNIVERSITY

CONSTRUCTING SEASIA PERIODICAL DATABASE

TOYO BUNKO

HISTORICAL MATERIAL PRESERVATION KOJIMA HALL, LIBRARY OF ECONOMICS, UNIVERSITY OF TOKYO

TEPIA MUSEUM

CSEAS LIBRARY : ห้องสมุดศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

KYOTO UNIVERSITY : MAIN LIBRARY

ขั้นตอนการส่งหนังสือซื้อ

การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุดประเภทสั่งซื้อและเสนอขาย เมื่อดำเนินการสั่งซื้อแล้ว ร้านค้าหรือตัวแทนจำหน่ายได้จัดหาหนังสือและส่งตัวเล่มพร้อมใบส่งของ ใบเสนอราคา และใบสั่งซื้อ อย่างละ 3 ชุด (ต้นฉบับ 1 ชุด สำเนา 2 ชุด)

001      003

เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบว่าได้รับหนังสือครบตามรายการที่สั่งซื้อ พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและความสมบูรณ์ของตัวเล่ม (ถ้าเล่มชำรุดสามารถแจ้งเปลี่ยนตัวเล่มได้) จากนั้นจะนำตัวเล่มมาตรวจสอบกับฐานข้อมูล Koha เพื่อแยกประเภททรัพยากรฯ และตรวจสอบกับโปรแกรม Senayan เพื่อเขียนชื่อผู้สั่งซื้อในใบสลิป พร้มระบุรหัสห้องสมุด ลำดับที่ในใบส่งของ รหัสย่อของร้านค้าหรือตัวแทนจำหน่าย และราคาเต็มของหนังสือ (ใบส่งของจะระบุทั้งราคาเต็มและราคาส่วนลด)

j007002

ที่ตัวเล่มของหนังสือระบุรหัสห้องสมุดที่เป็นเจ้าของที่หน้าปกใน หลังจากตรวจสอบตัวเล่มแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำต้นเรื่องแนบไปกับใบส่งของ ใบเสนอราคาทั้ง 3 ชุด เพื่อส่งฝ่ายบริหารจัดการฯ เมื่อฝ่ายบริหารจัดการฯ รับเล่มครบแล้ว จะเซ็นรับสำเนาใบส่งของ 1 ชุดพร้อมระบุวันที่แล้วส่งคืนห้องสมุด เพื่อเก็บเป็นหลักฐานการสั่งซื้อตามรายชื่อร้านค้า ส่วนต้นฉบับและสำเนาอีก 2 ชุด จะถูกส่งไปงานการเงินเพื่อดำเนินการต่อไป

ในกรณีที่ร้านค้าไม่สามารถจัดหาเล่มให้กับห้องสมุดได้ทันตามกำหนด (ซึ่งกำหนดไว้ 60-90 วัน) ร้านค้าจะแจ้งกับทางห้องสมุดถึงปัญหาในการสั่งซื้อและขอคำยืนยันในการสั่งซื้อหรือยกเลิกการสั่งซื้อสำหรับหนังสือเล่มที่มีปัญหาต่อไป

การตรวจสอบและแยกประเภททรัพยากรสารนิเทศ

งานตรวจสอบและแยกประเภททรัพยากรสารนิเทศ เป็นงานที่ทำหน้าที่คัดกรองทรัพยากรฯ ที่คัดเลือกแล้วมาตรวจสอบเพื่อป้องกันการจัดหาซ้ำ การตรวจสอบจะทำตามลำดับความสำคัญของการจัดหาทรัพยากรฯ เข้ามาในห้องสมุด คือตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรฯ ที่ต้องการสั่งซื้อ (Order) หรือ รายการเสนอแนะจากผู้ใช้ (Book Suggestion) เป็นลำดับแรก เพราะจะเกี่ยวข้องกับระยะเวลาในการให้ร้านค้าไปดำเนินการจัดหาตัวเล่มให้และต้องควบคุมงบประมาณในการจัดหาด้วย ตามด้วยหนังสือที่ร้านค้านำตัวเล่มมาเสนอขาย เป็นลำดับที่สอง และตรวจสอบทรัพยากรฯที่ได้เปล่าหรือได้รับบริจาคจากแหล่งต่างๆ เป็นลำดับสุดท้าย แต่ถ้ามีรายการใดที่ผู้ใช้ต้องการด่วนจะต้องตรวจสอบให้ก่อนเป็นลำดับแรกเสมอ ซึ่งการทำงานมีขั้นตอนดังนี้
Picture 014

Continue reading การตรวจสอบและแยกประเภททรัพยากรสารนิเทศ

หนังสือใต้ทางลอด หน้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์

ในช่วงวันพฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์ สัปดาห์สุดท้ายของทุกเดือน บริเวณทางเข้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์ สำนักหอสมุดได้อนุญาตให้ร้านค้าเข้ามาจำหน่ายหนังสือในราคาลดพิเศษให้แก่ นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัย และบุคคลภายนอกที่เดินผ่านทางเดินดังกล่าว โดยทางสำนักหอสมุดได้เก็บค่าสถานที่เป็นหนังสือจากร้านต่างๆ ในราคาไม่เกิน 2,000 บาท/1 ร้านค้า จากราคาที่ปรากฎที่หน้าปก
Picture 021         Picture 017
ในแต่ละเดือนมีร้านค้าหมุนเวียนเข้ามาจำหน่ายหนังสืออยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งที่มาจาก สำนักพิมพ์ บริษัท มูลนิธิ และบุคคลภายนอก ตัวอย่างร้านค้าที่เข้ามาจำหน่ายหนังสือ เช่น ร้านขายหนังสือสำหรับเด็ก ได้แก่ ร้านหนังสือชมรมเด็ก หนังสือหมวด ปรัชญา ศาสนา ได้แก่ สำนักพิมพ์ กรีน ปัญญาญาณ จำกัด  หนังสือประเภทสารดคี วิชาการทั่วไป ได้แก่ สำนักพิมพ์ Open Book บริษัท ยิปซี กรุ๊ป จำกัด สำนักพิมพ์ ฟ้าเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจำหน่ายนิตยสารต่างประเทศชั้นนำ เช่น TIME ซึ่งได้แก่ บริษัท แมกกาซีน อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด

Picture 020

ซึ่งในส่วนของห้องสมุดจะมีผู้รับผิดชอบทำหน้าที่คัดเลือกหนังสือจากร้านต่างๆ นำมาพิมพ์รายชื่อเพื่อเก็บเป็นหลักฐาน และนำตัวเล่มมาตรวจสอบกับฐานข้อมูล Koha เพื่อพิจารณาเลือกเข้าห้องสมุด ถ้าเป็นฉบับพิมพ์ซ้ำและหอสมุดปรีดีมีตัวเล่มแล้ว ก็อาจรับเข้าห้องสมุดสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาจากเนื้อหาของหนังสือ เช่น หมวดกฎหมาย อาจพิจารณาเพิ่มให้ห้องสมุดบุญชู ตรีทอง (ลป) หรือหมวดบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาให้ห้องสมุดศูนย์พัทยา เป็นต้น

Picture 022

ประโยชน์ที่หอสมุดปรีดี พนมยงค์ได้รับจากการเข้ามาขายหนังสือใต้ทางลอด คือ ห้องสมุดได้รับหนังสือใหม่ หลากหลายประเภท เป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ ทำให้ห้องสมุดมีปริมาณทรัพยากรฯ ให้บริการเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการห้องสมุดยังได้เลือกซื้อหนังสือเพื่อใช้ส่วนตัวได้ในราคาถูกด้วย

การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การสืบค้นข้อมูลออนไลน์

ด้วยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่และนักวิจัย ของคณะรัฐศาสตร์ เรื่อง การสืบค้นและการอ้างอิงข้อมูลด้านการวิจัย ในวันที่ 23 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ และการใช้โปรแกรม EndNote ในการเขียนรายการบรรณานุกรม วิทยากรนำทีมโดย คุณจุฑาทิพย์ โอสนานนท์ และมีผู้ช่วย 2 คนได้แก่ คุณเจนจิรา อาบสีนาค และคุณบุษยา เฟื่องประเสริฐ

S__3997703                                  S__3997704        
Continue reading การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การสืบค้นข้อมูลออนไลน์

พรีเซนต์งานให้เป็นเลิศ (Stand & deliver)

พรีเซนต์งานให้เป็นเลิศ (Stand & deliver)

 Stand and deliver
โดย Mark Barnes และ Mary-Jane Barnes เรียบเรียงโดย ภิเษก ชัยนิรันดร์

หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการนำเสนอที่ดี เหมาะสำหรับใช้เป็นคู่มือและแนวทางสำหรับผู้ฝึกสอนและผู้ที่ต้องนำเสนอผลงาน เนื้อหาในเล่มแบ่งหัวข้อออกเป็น 4 ส่วนได้แก่

ส่วนแรก  ผู้เขียนได้กล่าวถึง กระบวนการและเครื่องมือที่จำเป็น ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ กลุ่มผู้ฟัง เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง และสื่อหรือวิธีการ

ส่วนที่ 2 อธิบายถึงอำนาจของภาษากายที่เราแสดงออกมาขณะนำเสนอ การใช้เสียงพูดที่เสียงดังฟังชัด มีจังหวะจะโคน รวมถึงการแต่งกายที่เหมาะสมเป็นการสร้างภาพพจน์เชิงบวก และเป็นภาพลักษณ์ภายนอกที่ดูเป็นมืออาชีพ

ส่วนที่ 3 เป็นเรื่องของการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะเพิ่มความสำคัญและทำให้เนื้อหาชัดเจนขึ้น

ส่วนที่ 4 ในส่วนสุดท้ายเป็นการจัดการกับปัญหา ซึ่งผู้เขียนแนะนำว่าไม่ควรกังวลกับปัญหามากนักเพราะการตั้งคำถามของผู้ฟังทำให้เรามีโอกาสที่จะสร้างความชัดเจนในประเด็นหลักที่ได้นำเสนอไปแล้ว และผู้เขียนยังได้พูดถึงเคล็ดลับที่ควรรู้ในการนำเสนองานที่ดี และการสร้างความประทับใจ น่าจดจำหลังจากจบการนำเสนอ

Reference
บาร์เนส, มาร์ค, บาร์เนส แมรี่แอน เขียน ; เรียบเรียงโดย ภิเษก ชัยนิรันดร์ . พรีเซนต์งานให้เป็นเลิศ (Stand & deliver). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2552. 216 หน้า. ภาพประกอบ.

 

แนะนำการใช้โปรแกรม EndNote X7

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดอบรมโปรแกรม EndNote X7 ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาเอก คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน จำนวน 7 คน เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ 1 โดยวิทยากรที่แนะนำการใช้คือ คุณสุมนา วัสสระ และ บุษยา เฟื่องประเสริฐ เป็นผู้ช่วยวิทยากร ซึ่งถือว่าเป็นวิทยากรหน้าใหม่ทั้งคู่ของสำนักหอสมุดเลยค่ะ

มาทำความรู้จักกับ โปรแกรมนี้กันสักเล็กน้อยนะคะ โปรแกรม EndNote X7 เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดที่มีให้บริการในห้องสมุดขณะนี้ โปรแกรมนี้ใช้สำหรับการจัดการทางบรรณานุกรม ได้แก่ การสืบค้น การจัดเก็บ และการจัดการรูปแบบรายการบรรณานุกรม ที่ผู้ใช้ได้สืบค้นมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และนำรายการนั้นไปจัดการในส่วนของรายการบรรณานุกรมหรือรายการอ้างอิงในตัวเล่มวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น
วิทยากรได้บรรยายเริ่มจากการดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม การนำข้อมูลเข้าเอง การ import ข้อมูลที่สืบค้นได้จากฐานข้อมูลต่างๆ และทดลองให้นักศึกษาแต่ละคนสืบค้นจากฐานข้อมูลที่แตกต่างกัน เพื่อจะได้ทราบถึงตัว filter ที่หลากหลายที่จะใช้ในการ export ข้อมูลไปยังโปรแกรม EndNote

บรรยากาศในห้องบรรยาย
บรรยากาศในห้องบรรยาย

หลังจากจบการบรรยายแล้วได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการแนะนำในวันนี้ ซึ่งผลสรุปส่วนมากพึงพอใจ และบอกว่าเป็นโปรแกรมที่ดีและสามารถนำมาใช้งานได้จริง สุดท้ายวิทยากรยังได้แนะนำการใช้โปรแกรมว่าไม่ควรนำไปให้ผู้อื่นใช้ เพราะเป็นโปรแกรมที่เกี่ยวเนื่องกับลิขสิทธิ์ สำนักหอสมุดจัดหามาให้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรที่สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น และท้ายสุดได้เชิญชวนนักศึกษาให้เข้าร่วมอบรมฐานข้อมูลต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของห้องสมุด และหวังว่านักศึกษาจะให้ความสนใจเป็นอย่างดี