การประชุมวิชาการประจำปี 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของวันที่ 4 กันยายน 2558 ภายใต้หัวข้อ “คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่” หรือ “Librarianship : the Next Generation” ช่วงบ่าย เป็นการบรรยายหัวข้อ “ Applied Mind Map for KM” วิทยากรคือ อาจารย์ดำเกิง ไรวา เป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนเรื่องการนำ Mind Map ไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะทางด้านการตลาด การขาย การสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร และ การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ
เริ่มต้นการบรรยายอาจารย์กล่าวถึง ต้นทุนที่แพงที่สุด นั่นคือ เวลา เวลาที่เราเสียไปโดยไม่เกิดประโยชน์ เรียกว่า ค่าเสียโอกาส ตัว Mind Map หรือแผนที่ความคิดจะเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยประหยัดเวลาและยังมีประโยชน์อื่น ๆ ดังนี้
- ช่วยให้เห็นภาพรวม
- ช่วยให้เห็นกระบวนการ
- สื่อสารให้สั้นกระชับ
- โน้มน้าวใจได้
- อ่านเข้าใจง่าย
- รู้ลำดับความสำคัญ
- เห็นความรู้ฝังลึกของผู้เขียน
- ทำให้ผู้เขียนเห็นว่า ตนเองรู้อะไรและไม่รู้อะไร
การเขียน Mind map มีขั้นตอนดังนี้
1) คิดสิ่งที่จะเริ่มเขียนออกมาเป็นภาพก่อน
2) การคิดควรเริ่มจากภาพใหญ่ไปภาพเล็ก
3) ลากเส้น
4) เขียนคำสั้นๆ ลงด้านบนเส้น
การวิเคราะห์รูปเพื่อนจะเขียน Mind Map สามารถแตกเส้นได้จาก
– ลักษณะ
– ประโยชน์
– อุปมา
– พฤติกรรม
– อื่น ๆ
ตัวอย่างการวิเคราะห์รูปเป็น Mind Map
การเขียน Mind map ที่ถูกต้อง มีดังนี้
- Mind map เริ่มตรงกลาง
- ตรงกลางควรเป็นรูปภาพ
- แยกกิ่งใหญ่ก่อนแล้วจึงแตกเป็นกิ่งย่อย
- การเขียนกิ่งควรวาดเป็นเส้นโค้ง
- ใช้คำสั้นๆ
- ใช้ภาพและสีต่างๆประกอบใน My map
- ลักษณะ Mind map คือ โครงร่างไร้ระเบียบแต่เป็นระบบ
- เขียนคำบนเส้น ไม่ใช่ปลายเส้น
นอกจากการพูดเชิงทฤษฎีวิทยากรยังจัดกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมอบรมปฏิบัติ มีดังต่อไปนี้
กิจกรรมที่ 1.
เขียนรายชื่อคนที่รู้จักลงบนกระดาษ A4 ให้ได้มากที่สุด ในเวลา 4 นาที โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดูกระบวนการเรียบเรียงความคิด
ผลลัพธ์จากกิจกรรม ได้กลยุทธ์ในการนำเรียบเรียงความคิดจากผู้เข้าร่วมอบรมที่สามารถเขียนรายชื่อได้มากกว่า 105 คน ภายใน 4 นาที ซึ่งมีเทคนิคดังนี้
- ลำดับตามความเกี่ยวข้องจากคนใกล้ตัวไปหาคนไกลตัว
- แบ่งลำดับตามTimeline ของชีวิต เช่น เพื่อนสมัยประถม มัธยม ปริญญา เป็นต้น
- คิดเป็นภาพ เช่น แผนผังสถานที่ทำงาน
- ลำดับตามสายญาติ
- ถ้าเขียนแล้วความคิดไปต่อไม่ได้ ให้เริ่มเขียนเรื่องใหม่ เมื่อคิดเรื่องเก่าออกแล้วจึงค่อยกลับมาเขียนใหม่
- การเชื่อมโยงไม่สิ้นสุด
- แบ่งตามกลุ่ม เช่น กลุ่มครอบครัว กลุ่มเพื่อนเรียน กลุ่มเพื่อนที่ทำงาน
กิจกรรมที่ 2
นำกระดาษ A4 1 แผ่น พับเป็น 3 ท่อนเขียนตัวอักษรปนกับภาพให้ออกมาเป็นชื่อเล่นของตนเอง โดยแต่ละท่อนใช้ปากกาสีต่างกัน
กิจกรรมที่ 3
นำกระดาษ A4 1 แผ่น พลิกด้านไม่มีเส้น วาดภาพสัตว์ 1 ตัว ตรงกลางในแนวนอน ใช้ปากกาสี 3 สี จากนั้นสลับภาพกับเพื่อนและให้ทายว่าคือตัวอะไร
ผลลัพธ์จากกิจกรรม เห็นความคิดสร้างสรรค์ในการถ่ายทอดความคิดโดยการนำเสนอเป็นภาพ
กิจกรรมที่ 4
แบ่งกลุ่มกับคนที่ไม่รู้จักและดูรูปของเพื่อน (กิจกรรมที่ 2) และหารูปที่เชื่อมโยงน่าสนใจ
ผลลัพธ์จากกิจกรรม เห็นมุมมองของผู้อื่นต่อความคิดของเรา โดยธรรมชาติคนเรามักถ่อมตัว การให้ผู้อื่นตัดสินสามารถเป็นตัวช่วยให้ผลที่เป็นจริง
กิจกรรมที่ 5
ทดลองเขียนเป้าหมายโดยใช้ Mind map ลงบนกระดาษ A4 1 แผ่น
ผลลัพธ์จากกิจกรรม เห็นเป้าหมายในชีวิตของตนเองในแต่ละด้าน ที่ดูง่ายและชัดเจน
กิจกรรมที่ 6
นำเป้าหมายในกิจกรรมที่ 5 มาเขียนวัตถุประสงค์ว่า ทำไปทำไม (why) โดยแบ่งเป็น why เชิงบวก และ why เชิงลบ เช่น ถ้าทำแล้วจะได้อะไร ถ้าไม่ทำจะได้อะไร
ผลลัพธ์จากกิจกรรม เห็นสิ่งที่จะได้รับจากการเขียนเป้าหมายชีวิต
กิจกรรมที่ 7
ดู Mind map ของเพื่อนทั่วห้อง ถ้าเป้าหมายของใครที่ตนเองสามารถช่วยได้ให้เขียนชื่อเล่น และที่อยู่ของตนเองลงในกระดาษ ถ้าถูกใจเป้าหมายของใครเขียนดาวลงไป ให้ได้ไม่เกิน 5 ดวง
ประโยชน์ของ Mind map กับ KM
1) Transit knowledge ถ่ายทอดความรู้ออกมาในรูปแบบที่เห็นภาพรวม เห็นกระบวนการ เข้าใจง่าย ใช้เวลารวดเร็ว
2) สามารถวางแผนในภาพรวมได้
เพิ่มเติม เคล็ดลับการทำงานหรือกิจการให้ประสบผลสำเร็จ
1) ความสามารถในการอ่านเร็ว
2) หาว่าอะไรที่เป็น task (สิ่งที่ทำบ่อยๆ/งานหลัก) และฝึกทักษะจนเป็นขั้นเทพ
3) หาคนที่เจอปัญหาเหมือนกับเราหรือคนที่ประสบความสำเร็จ ศึกษาวิธีและนำมาใช้ รวมถึงศึกษาคนที่ล้มเหลว และไม่ถามตามวิธีนั้น
บรรรยากาศโดยรวม และภาพผลงานการเขียน maid map