Tag Archives: การจัดการความรู้

3 สิ่งสำคัญในการจัดประชุมวิชาการสำหรับบรรณารักษ์และงานห้องสมุด

paper_people_free_photo1-690x457

จากประสบการณ์ในการเป็นคณะทำงานในจัดประชุมวิชาการประจำปี ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งในรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการ การได้มีโอกาสได้ช่วยงานหลายๆ ส่วน และได้ร่วมทำงานกับพี่ๆ ที่เก่งงาน และเก่งในการจัดการแก้ปัญหา ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีในการทำงาน ถึงแม้ว่าโดยส่วนตัวแล้วอาจจะรับผิดชอบงานเฉพาะส่วนเท่านั้น แต่เบื้องหลังการทำงานที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันและมีการสื่อสารกันอย่างใกล้ชิดทำให้เห็นภาพการจัดงานและการเชื่อมประสานกันในแต่ละส่วนเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ     Continue reading 3 สิ่งสำคัญในการจัดประชุมวิชาการสำหรับบรรณารักษ์และงานห้องสมุด

Applied Mind Map for KM

การประชุมวิชาการประจำปี 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของวันที่ 4 กันยายน 2558 ภายใต้หัวข้อ “คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่” หรือ “Librarianship : the Next Generation”  ช่วงบ่าย เป็นการบรรยายหัวข้อ “  Applied Mind Map for KM”  วิทยากรคือ อาจารย์ดำเกิง ไรวา   เป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนเรื่องการนำ Mind Map ไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะทางด้านการตลาด  การขาย การสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร และ การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

Mindmap1

My map 1

Continue reading Applied Mind Map for KM

ตัวบ่งชี้คุณภาพสำนักหอสมุด ปีการศึกษา 2557-ตัวบ่งชี้ สกอ.5.1

ตัวบ่งชี้ สกอ. 5.1 เป็นตัวตัวบ่งชี้คุณภาพที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้หน่วยงานในกลุ่มสำนัก/สถาบันสนับสนุนวิชาการดำเนินการ มีค่าเป้าหมายและรายละเอียดตัวบ่งชี้ ดังนี้

สกอ. 5.1 : การบริหารของสำนักหอสมุดเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และ เอกลักษณ์ของหน่วยงาน

วัตถุประสงค์ คือ การพัฒนาแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของสำนักหอสมุด และมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยง การจัดการความรู้ และการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

เป้าหมาย : จะดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้ง 7 ข้อ เพื่อให้การบริหารจัดการและการพัฒนาบรรลุเป้าหมายตามพันธกิจ/วิสัยทัศน์สำนักหอสมุด

เกณฑ์มาตรฐาน :

  1. พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของสำนักหอสมุดและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสำนักหอสมุด รวมทั้งสอดคล้องกับมหาวิทยาลัยและเอกลักษณ์ของสำนักหอสมุด และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในการดำเนินงานสนับสนุนวิชาการ สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนา บุคลากร การบริการ อย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการสนับสนุนวิชาการ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการบริการ และโอกาสในการแข่งขัน
  3. ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักหอสมุดและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม
  4. บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง10ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
  5. ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจการสนับสนุนวิชาการ จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
  6. การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร
  7. ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสำนักหอสมุด ที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานสำนักหอสมุดตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

Continue reading ตัวบ่งชี้คุณภาพสำนักหอสมุด ปีการศึกษา 2557-ตัวบ่งชี้ สกอ.5.1

ถอด…ความรู้จากภูมิปัญญา ครู/ศิลปิน/ปราชญ์พื้นถิ่นเพื่อการเรียนรู้และแบ่งปัน

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2558 บุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ รองผู้อำนวยการสายบริหารและพัฒนา และนางสาวนพวรรณ วัฒนะนนท์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด เข้าร่วมการสัมมนาโครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ “ดี” ในการจัดการความรู้ของคณะ/หน่วยงาน/ส่วนกลาง มธ. ปีการศึกษา 2556 ณ ห้องประชุมแพทย์โดม 2 อาคารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

วิทยากรภายนอกที่ได้ร้บเชิญมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “ถอด…ความรู้จากภูมิปัญญา ครู/ศิลปิน/ปราชญ์พื้นถิ่นเพื่อการเรียนรู้และแบ่งปัน” คือ อาจารย์วัลลภ ทองอ่อน จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ซึ่งเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ภาคสนาม ที่อาจารย์ได้ลงพื้นที่ในการนำศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อหาพื้นที่ๆ เหมาะสมในการปลูกพืช และต่อมามีการขยายขอบเขตมาในเรื่องการจัดการทรัพยากร/อุบัติภัย

ประสบการณ์แรกที่อาจารย์วัลลภ นำมาเล่าสู่กันฟัง คือ ความรู้การทำนาเหมืองฝาย ที่หมู่บ้านหนองปิ้งไก่ นาบ่อคำ กำแพงเพชร ของลุงแปง วงค์ตา เนื่องจากชุมชนในพื้นที่นี้ อพยพมาจากลำปาง จึงมีความรู้ในการทำนาเหมืองฝายในพื้นที่เชิงเขา ทำนาเหมืองฝายได้ปีละ 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ในการถอดความรู้การทำนาเหมืองฝาย จากชุมชน นั้น เริ่มจาก

  1. การเตรียม ตัวเรา เตรียมตัวคนที่จะไปขอความรู้
  2. เครื่องมือ “เรื่องเล่าของลุงแปง”
  3. พลังคำถาม เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะต้องตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ เช่น คืออะไร เป็นอย่างไร ทำไมต้องเป็นเช่นนั้น
    เมื่อได้รับเรื่องราวที่ถ่ายทอดจากลุงแปง ซึ่งเป็นความรู้ชุมชนแล้ว นำมาผนวกกับความรู้ทางสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจะได้เป็นความรู้ใหม่ส่งต่อให้ชุมชนต่อไป

Continue reading ถอด…ความรู้จากภูมิปัญญา ครู/ศิลปิน/ปราชญ์พื้นถิ่นเพื่อการเรียนรู้และแบ่งปัน

งานวิจัยในมุมมองของ KM

มีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และงานวิจัย  ซึ่งมีความเหมือนและแตกต่าง ของการจัดการความรู้และงานวิจัย  ชื่อว่า “งานวิจัยในมุมมองของ KM”  ซึ่งผู้เขียน คุณจงจิต วงษ์สุวรรณ, คุณเจนจิรา อาบสีนาค, คุณศุภณัฐ เดชวิถี และคุณพรพิมล ช่างไม้  สรุปประเด็นได้ 7 ข้อ ดังนี้

  1. ขั้นตอนเริ่มต้น
  2.  การปฏิบัติ
  3. ชนิดของความรู้ที่เน้น
  4. ตัวแปร
  5. การยืดหยุน
  6. วิธีคิด
  7. ทิศทางการดำเนินงานความรู้

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

จงจิต วงษ์สุวรรณ  เจนจิรา อาบสีนาค ศุภณัฐ เดชวิถี และ พรพิมล ช่างไม้  (2552)  “งานวิจัยในมุมมองของ KM”  วารสารโดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552)  : 22:27

 

แนวทางการจัดการความรู้ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

มีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับด้านการจัดการความรู้ ในสถาบันอุดมศึกษา ชื่อว่า  “แนวทางการจัดการความรู้ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง Knowledge Management Tendency in King Mongkut’s Institute of Technology Lard Krabang”   ซึ่งผู้เขียน คุณกาญจนา จันทร์วัน  ดร.นันทวัน อินทชาติ  และ ดร.ศิรินทร ภู่จินดา ได้สรุปว่ามีกระบวนการจัดการความรู้ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมี 6 กระบวนการ ดังนี้

  1. การสร้างและแสวงหาความรู้
  2. การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ
  3. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
  4. การเข้าถึงความรู้
  5. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
  6. การประยุกต์ใช้ความรู้

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

กาญจนา จันทร์วัน  นันทวัน อินทชาติ  และ ศิรินทร ภู่จินดา (2552)  “แนวทางการจัดการความรู้ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง Knowledge Management Tendency in King Mongkut’s Institute of Technology Lard Krabang”                             วารสารโดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552)

 

การจัดการความรู้ : ประสบการณ์ของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

การจัดการความรู้เป็นเรื่องที่องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญและนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความรู้ของแต่ละหน่วยงาน ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข  เป็นอีกหนึ่งห้องสมุดที่มีการจัดการความรู้และ ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการใช้ KM กับหน่วยงาน  เริ่มจากมีการเสวนาแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน (Morning Talk)  มีการจัดกิจกรรม CoP การใช้เทคโนโลยี Web 2.0 กับการจัดการความรู้ (KM) และ บล็อก (Blog) บล็อกเป็นการจดบันทึกความรู้ส่วนบุคคลและเป็นบันทึกประจำวันแบบสาธารณะ หรือ Public Diary ที่ให้คนอื่นอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ เมื่อนำมาใช้กับหน่วยงานจะยิ่งเป็นประโยชน์  สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง

รุจเรขา  วิทยาวุฑฒิกุล. 2552. การจัดการความรู้ : ประสบการณ์ของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข. โดมทัศน์  ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)

 

ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP): Digital Literacy – เครื่องมือประเมินคุณภาพการวิจัย

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดกิจกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) : Digital Literacy เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 9.00 – 12.00 น. ที่ผ่านมา ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ 2 ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในหัวข้อ “เครื่องมือประเมินคุณภาพการวิจัย (Research Programme Evaluation)” โปรแกรม InCites และ Scival

20150126_092155
การบรรยายภาพรวมของเครื่องมือประเมินคุณภาพการวิจัย SciVal

Continue reading ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP): Digital Literacy – เครื่องมือประเมินคุณภาพการวิจัย

การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในวันเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำบริการ ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยสารสนเทศและเทคโนโลยีนำสมัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ  จึงใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ของบุคลากรในสำนักหอสมุดฯ เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการ เพื่อให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์ข้างต้น ดังนี้

  • การใช้ Blog ในการนำเสนอบทความด้วยการเล่าเรื่องทางวิชาการ การปฏิบัติงาน ประสบการณ์ต่างๆ แนวปฏิบัติที่ดี  เป็นต้น ผ่านการจัดหมวดหมู่และการทำดัชนี เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง และยังได้เผยแพร่ความรู้เหล่านั้น สู่สาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุด และบุคคลทั่วไปในวงกว้างต่อไปทาง http://main.library.tu.ac.th/km/
  • การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ได้แก่ Training the trainers และ Digital literacy  เพื่อฝึกทักษะให้กับบุคลากรจากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าในการเป็นวิทยากรที่ดีในการให้บริการและส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศต่อไป
  • การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ รวมทั้งการอบรมจากวิทยากรภายนอก เช่น การนำเสนออย่างทรงพลัง  Smart Click คลิกทันสื่อ เป็นต้น20141216-Presentation4
    การอบรมวิทยากรจากภายนอก
     

    คลิก Knowledge Management เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์  KM
    คลิก Knowledge Management เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ KM

    คลิก  Knowledge Management ที่หน้าเว็บไซต์สำนักหอสมุดฯ (http:// library.tu.ac.th/) หรือ http://main.library.tu.ac.th/km/  จะเข้าสู่เว็บไซต์การจัดการความรู้ของสำนักหอสมุดฯ

    ตัวอย่างผลงานบทความที่เผยแพร่

  • GUIDE TO WRITING ACADEMIC ARTICLES เป็นชุดเผยแพร่การเขียนทางวิชาการ
  • PATHFINDER เส้นทางการหาสารสนเทศ
  • PLAGIARISM AND HOW TO AVOID IT
  • OVERVIEW OF INFORMATION LITERACY RESOURCES WORLDWIDE
  • แหล่งสารสนเทศวิทยานิพนธ์
  • ALTMETRIC 100 อันดับแรกของผลงานทางวิชาการ ของปี 2014
  • การแนะนำการใช้ฐานข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ควรทราบเพื่อ การเรียน การสอน การศึกษา ค้นคว้า วิจัย
  • ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ปัจจุบัน มีบทความเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้สารสนเทศ มากกว่า 200 บทความ และมีจำนวนยอดผู้ชมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

KNOWLEDGE SHARING ครั้งที่ 6 การเขียนบทความขึ้น BLOG ด้วย WORDPRESS

เมื่อวันที่  12 ธันวาคม 2557 เวลา 13.00 -16.00 น. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีโอกาสจัดกิจกรรมการส่งเสริมการรู้สารสนเทศการเขียนบทความขึ้น BLOG ด้วย WordPress ให้แก่บุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ณ ห้องนิเทศการศึกษา ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์

ภาพบรรยาการการอบรมการเขียน Blog ด้วย WordPress
ภาพบรรยาการการอบรมการเขียน Blog ด้วย WordPress

Continue reading KNOWLEDGE SHARING ครั้งที่ 6 การเขียนบทความขึ้น BLOG ด้วย WORDPRESS