การบริหารงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา

จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมอบรม หลักสูตร การบริหารงานอุดมศึกษาระดับกลาง รุ่นที่ 15 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ ในช่วงวันที่ 7 กรกฎาคม-3 กันยายน 2558 ที่ผ่านมานั้น ผู้เขียนได้ฟังบรรยายเกี่ยวกับการบริหารงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเนื้อหาที่ได้รับฟังมานั้นมีความน่าสนใจ ซึ่งโดยสรุปมีดังนี้

การบริหารจัดการงานวิจัยภายในมหาวิทยาลัยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งในฐานะหัวหน้างานจะต้องมีการทำวิจัย จะชอบหรือไม่ก็ต้องทำ ถือว่าเป็นหน้าที่อย่างหนึ่ง มหาวิทยาลัยทุกแห่งก็ไม่สามารถปฏิเสธการทำวิจัยได้ ในปัจจุบันนับได้ว่างานวิจัยมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อมหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยใด ไม่มีผลงานวิจัยย่อมแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยานั้นไม่ประสบความสำเร็จ

  1. ความสำคัญของงานวิจัยกับมหาวิทยาลัย
    • งานวิจัยคือปัจจัยที่อธิบายความแตกต่างระหว่างโรงเรียนกับมหาวิทยาลัย

อาจารย์ผู้สอนภายในมหาวิทยาลัยมีหน้าที่ที่สำคัญอีกอย่างคือจะต้องทำวิจัย ให้กับมหาวิทยาลัยที่ตนสังกัด ซึ่งมหาวิทยาลัยใดที่อาจารย์ผู้สอนไม่ทำวิจัย มหาวิทยาลัยนั้นก็ไม่แตกต่างจากโรงเรียนทั่วๆไป งานวิจัยเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัยกับโรงเรียน

  • งานวิจัยเป็นการพัฒนาผู้สอนในมหาวิทยาลัยหลังสำเร็จการศึกษามาแล้ว

อาจารย์ผู้สอนภายในมหาวิทยาลัย มีหน้าที่ในการสอนนักศึกษา การสอนหนังสือของอาจารย์ในแต่ละปีจะต้องมีการสอนที่ไม่เหมือนเดิม มีการพัฒนาการสอนอยู่ตลอดเวลา อาจารย์ผู้สอนที่ทำวิจัยสามารถที่จะนำเอาผลการวิจัยมาช่วยพัฒนาการเรียนการสอน งานวิจัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้สอนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

  • งานวิจัยทำให้มหาวิทยาลัยผลิตองค์ความรู้ใหม่ให้แก่สังคมได้

อาจารย์ภายในมหาวิทยาลัย จะต้องถูกบังคับจากมหาวิทยาลัยที่ตนสังกัดให้คิด ให้เขียนผลงานวิชาการ ให้คิดอะไรใหม่ๆ ผลิตองค์ความรู้ใหม่เพื่อมาพัฒนาการสอน พัฒนามหาวิทยาลัย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป งานวิจัยเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม หากมหาวิทยาลัยใดมีผลงานวิจัยมาก แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยนั้นมีอาจารย์และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยที่ช่วยกันคิดอะไรใหม่ ผลิตองค์ความรู้ใหม่ๆในการพัฒนามหาวิทยาลัยและพัฒนาสังคมได้อย่างแน่นอน

  • งานวิจัยเป็นปัจจัยชี้วัดระดับความก้าวหน้าและความสำเร็จของมหาวิทยาลัย

หากมหาวิทยาลัยใดมีการทำวิจัยมาก ซึ่งการทำวิจัยมากต้องมีการศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ ผลิตองค์ความรู้ใหม่ๆและ

นำผลการวิจัยนั้นมาพัฒนามหาวิทยาลัย พัฒนาสังคมรอบข้างได้ ย่อมแสดงถึงความก้าวหน้าและความสำเร็จของมหาวิทยาลัย การที่มหาวิทยาลัยจะประสบความสำเร็จได้ ดูจากการที่มีนักศึกษาเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้น มีการได้รับการสนับสนุนจากสถาบันต่างๆ หากมหาวิทยาลัยไม่มีการทำวิจัย มหาวิทยาลัยก็ไม่สามารถที่จะพัฒนาสังคมหรือพัฒนาประเทศชาติได้ มหาวิทยาลัยเป็นผู้ที่ต้องแบกรับความคาดหวังจากสังคม  มหาวิทยาลัยจะเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีได้ ย่อมดูจาก ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยนั้นๆ มหาวิทยาลัยของไทยที่ไม่ได้มาตรฐานของโลก ก็เนื่องมาจากมหาวิทยาลัยนั้นๆไม่ผลิตผลงานวิชาการ ไม่ทำงานวิจัย ซึ่งผลงานวิชาการ งานวิจัย แสดงถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยได้

เหตุผลของการที่มหาวิทยาลัยจะเกิดขึ้นหรือดำรงอยู่ได้นั้น มหาวิทยาลัยจะต้องสร้างผลงานวิจัย ซึ่งเป็นปัจจัยที่

อธิบายความแตกต่างระหว่างโรงเรียนกับมหาวิทยาลัย งานวิจัยเป็นการพัฒนาผู้สอนในมหาวิทยาลัยหลังสำเร็จการศึกษามาแล้ว งานวิจัยทำให้มหาวิทยาลัยผลิตองค์ความรู้ใหม่ๆให้แก่สังคมได้ ทั้งสามเหตุผลที่กล่าวมานี้ คือสิ่งที่จะทำให้มหาวิทยาลัยดำรงอยู่ได้ และงานวิจัยก็เป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าและความสำเร็จของมหาวิทยาลัยได้

  1. ปัญหาโดยรวมของการวิจัยในมหาวิทยาลัย
    • การขาดทรัพยากรที่เพียงพอและเหมาะสมสำหรับนักวิจัย

มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางสำหรับการทำวิจัย มหาวิทยาลัยต่างๆควรยึด

หลักความเสมอภาค มีการจัดสรรงบประมาณอย่างเท่าเทียมกัน

  • การขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการวิจัย

ประเทศไทยมีคนเก่งมากแต่ไม่ค่อยมีคนทำงานวิจัย และคนที่เก่ง ทำงานวิจัยไม่ค่อยเข้ามาทำงานในมหาวิทยาลัย ทำ

ให้มหาวิทยาลัยไม่ประสบความสำเร็จ และที่สำคัญมหาวิทยาลัยคิดว่าไม่จำเป็นต้องทำ ทำวิจัยแล้ว งานวิจัยไม่ได้ให้อะไร จึงทำให้มหาวิทยาลัยขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำวิจัย

  • การขาดการจัดระบบงานที่สนับสนุนการวิจัย

มหาวิทยาลัยต่างๆไม่ได้มีการจัดระบบงานที่ช่วยสนับสนุนการวิจัย หากมหาวิทยาลัยต่างๆมีการจัดระบบงานที่

สนับสนุนการวิจัยก็จะทำให้มีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำวิจัยอยู่ตลอดเวลา ย่อมกระตุ้นให้การทำวิจัยเพิ่มมากขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่สนับสนุนการทำวิจัยคือ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(TU- RAC) เป็นหน่วยงานหลักในการให้บริการด้านการบริหารงานวิจัยและดำเนินการวิจัยในนามมหาวิทยาลัย โดยมีการบริหารงานที่คล่องตัวนอกระบบราชการ ทั้งนี้ สถาบันถือเป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเพียงหน่วยงานเดียวที่สามารถให้บริการการวิจัย ให้คำปรึกษา และฝึกอบรมสัมมนา นอกจากนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังมีกองบริหารการวิจัย เป็นหน่วยงานด้านการบริหารการวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง

  • การขาดแรงจูงใจที่จะชักนำไปสู่การวิจัย

มหาวิทยาลัยต่างๆไม่ได้สร้างแรงจูงใจแก่บุคลากร ให้ทำงานวิจัย เมื่อไม่มีแรงจูงใจก็ไม่สนใจที่จะทำเพราะทำแล้ว

คิดว่าไม่ได้อะไร ในส่วนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการให้ทุนสำหรับผู้ทำวิจัย มีการประกวดผลงานวิจัย ให้รางวัลทั้งที่เป็นเงินและโล่เกียรติยศ เพื่อยกย่องผู้ทำวิจัย ทำป้ายยกย่องผู้มีผลงานวิจัยดีเด่น สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยมีแรงจูงใจที่จะสร้างผลงานวิจัย เพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนามหาวิทยาลัยให้ก้าวหน้าต่อไป

  1. แนวทางการจัดการกับปัญหาเกี่ยวกับการวิจัยในมหาวิทยาลัย
  •   การจัดระบบงบประมาณเฉพาะสำหรับรองรับการวิจัย

มหาวิทยาลัยจะต้องมีการจัดระบบงบประมาณเฉพาะสำหรับรองรับการวิจัย มหาวิทยาลัยต้องคิดหาหนทางที่จะมี

งบประมาณในการทำวิจัยโดยเฉพาะ มีหลักเกณฑ์อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่นั้นจะไม่ค่อยเห็นผลเร็ว ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะต้องการมองการณ์ไกล มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ก็จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนงานวิจัยได้

  • การจัดระบบการสร้างและบ่มเพาะนักวิจัย

เมื่อมหาวิทยาลัยมีการจัดสรรงบประมาณเฉพาะสำหรับรองรับการวิจัยแล้ว ก็จะต้องสร้างบุคลากรภายใน

มหาวิทยาลัยให้มามีส่วนร่วมในการทำวิจัย เช่น มหาวิทยาลัยจะต้องสร้างระบบนักวิจัย ต้องมีผู้เริ่มต้นในการทำวิจัย สร้างระบบฟูมฟักการทำวิจัย มหาวิทยาลัยต้องจัดระบบสนับสนุนให้ผู้ทำวิจัย

  • การสร้างระบบบริหารจัดการที่เอื้อต่อการพัฒนาการวิจัย

มหาวิทยาลัยจะต้องหาคนมาบริหารจัดการระบบ จัดทีมงานที่เข้าใจในงาน ต้องเลือกบุคลากรที่มีความสามารถที่จะประสานงานกับอาจารย์ได้ ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติพิเศษ มีความคิดริเริ่ม ซึ่งเป็นงานที่ต้องรับผิดชอบต่อความเป็นความตายของมหาวิทยาลัย

  • การให้ความสำคัญและส่งเสริมงานวิจัยและนักวิจัย

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะต้องให้ความสำคัญและส่งเสริมงานวิจัย และนักวิจัย ถึงแม้มหาวิทยาลัยจะมีการจัดระบบ

งบประมาณ มีการจัดระบบการสร้างและบ่มเพาะนักวิจัย มีการสร้างระบบบริหารจัดการที่เอื้อต่อการพัฒนาการวิจัย แต่ถ้าหากมหาวิทยาลัยไม่ได้ให้ความสำคัญและส่งเสริมงานวิจัยและนักวิจัย มหาวิทยาลัยนั้นๆย่อมไม่ประความสำเร็จทางด้านการวิจัย

  • การกำหนดให้มีหน่วยงานเฉพาะเพื่อบริหารงานวิจัย

มหาวิทยาลัยต่างๆจะต้องมีหน่วยงานเฉพาะเพื่อบริหารงานวิจัย ต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำ

วิจัย มีการให้ทุนต่างๆ มีการให้รางวัล เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการวิจัยขึ้นในองค์กร การกำหนดให้มีหน่วยงานเฉพาะเพื่อบริหารการวิจัย ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง

  • การขยายผลของงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จ

ทุกวันนี้โลกหมุนเร็วขึ้น มีการประเมินมหาวิทยาลัย ทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆต้องแก้ปัญหาเกี่ยวกับการทำวิจัย ต้องมี

ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการทำวิจัยอย่างจริงจัง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยทุกคนต้องมีภาระหน้าที่ในการทำวิจัยเพื่อให้มหาวิทยาลัยพัฒนา และเจริญก้าวหน้า ประสบความสำเร็จต่อไป

4.กรณีศึกษาเรื่องการพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • การจัดตั้งหน่วยงานประสานกลางสำหรับงานวิจัยภายนอก

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่สนับสนุนการทำวิจัยคือ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่ง

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(TU- RAC) เป็นหน่วยงานหลักในการให้บริการด้านการบริหารงานวิจัยและดำเนินการวิจัยในนามมหาวิทยาลัย โดยมีการบริหารงานที่คล่องตัวนอกระบบราชการ ทั้งนี้ สถาบันถือเป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเพียงหน่วยงานเดียวที่สามารถให้บริการการวิจัย ให้คำปรึกษา และฝึกอบรมสัมมนา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยงานราชการ เป็นหน่วยงานที่หารายได้ให้กับมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก เมื่อมีรายได้เข้ามาก็สามารถนำรายได้นั้นไปช่วยสนับสนุนการทำวิจัยของมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี

  • การจัดระบบจัดการงานวิจัยของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยคือกองบริหารการวิจัย เป็นหน่วยงานด้านการบริหารการ

วิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง กองบริหารการวิจัยทำหน้าที่ในการจัดระบบ วางระบบ มีการตรวจสอบและติดตามการวิจัยของบุคลากร มีการตั้งระเบียบ กฎเกณฑ์ สร้างกลไกในการติดตามความคืบหน้าของบุคลากรที่ทำวิจัย

  • การกำหนดให้มีงบประมาณสำหรับการวิจัยโดยเฉพาะ

มหาวิทยาลัยมีการกำหนดให้มีงบประมาณสำหรับการวิจัยโดยเฉพาะ ซึ่งการที่จะกำหนดงบประมาณได้นั้น ก็ต้องดู

รายได้ของหน่วยงานประสานกลางสำหรับงานวิจัยภายนอกเป็นหลัก

  • การกำหนดให้มีหน่วยงานกลางโดยเฉพาะสำหรับงานวิจัย

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีหน่วยงานกลางโดยเฉพาะสำหรับงานวิจัยคือ กองบริหารการวิจัย ที่จะทำหน้าที่ในการ

ส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยให้พัฒนาต่อไป

  • การสร้างบรรยากาศให้ความสำคัญแก่งานวิจัยและนักวิจัย

มหาวิทยาลัยจะต้องหาวิธีการที่จะทำให้บุคลากรเห็นความสำคัญของการทำวิจัย เช่น มีการเพิ่มหน่วยงานที่ดูแลเรื่อง

การทำวิจัย จัดสรรงบประมาณที่เพียงพอสำหรับการทำวิจัย ยกย่อง เชิดชู ให้เกียรติแก่ผู้ที่ทำผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยจะต้องทำให้บุคลากรมีความรู้สึกว่า ถ้าทำผลงานวิจัยแล้ว จะเป็นผู้ที่มีความสำคัญ มีความรู้สึกดีต่อการทำวิจัย

  • การจัดตั้งหน่วยงานจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดตั้งหน่วยงานจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ ชื่อว่า สำนัก

ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มีหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูล ส่งเสริมการจดทะเบียน การนำไปใช้ประโยชน์ การสร้างรายได้ การคุ้มครองสิทธิและรักษาผลประโยชน์จากงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย ซึ่งหน่วยงานนี้ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาการทำวิจัยของมหาวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป เมื่อมหาวิทยาลัยมีงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ก็ย่อมจะนำไปสู่การมีเงินงบประมาณเข้ามาสนับสนุนมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น

  1. ปัญหาร่วมของการจัดการงานวิจัยกับการบริหารมหาวิทยาลัย
  • การขาดความต่อเนื่องของนโยบายและการดำเนินงาน

เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารบ่อยครั้ง ทำให้นโยบายต่างๆเปลี่ยนไป ทำให้การบริหารจัดการ

งานวิจัยก็ต้องขาดความต่อเนื่องไปด้วย มหาวิทยาลัยต่างๆประสบปัญหาขาดแคลนคนที่มีประสบการณ์ทำให้การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง

  • การขาดแคลนทรัพยากร

มหาวิทยาลัยต่างๆ มีงบประมาณที่จะสนับสนุนการทำวิจัยน้อยมาก  และขาดแคลนอัตรากำลังที่จะจัดระบบ

งานวิจัย ทำวิจัย จึงทำให้การวิจัยของมหาวิทยาลัยมีน้อย มหาวิทยาลัยพัฒนาและไม่เจริญก้าวหน้า

  • การขาดระบบการตัดสินใจในเชิงนโยบายและการแก้ปัญหาที่ครอบคลุมและเชื่อมโยงกับ ระบบงานอื่นๆ

มหาวิทยาลัยไม่ได้มีการอบรมบุคลากรที่จะมาทำหน้าที่ในการบริหารจัดการงานวิจัย

ของมหาวิทยาลัย ทำให้ขาดระบบการตัดสินใจในเชิงนโยบายและการแก้ปัญหาที่ครอบคลุมและเชื่อมโยงกับ ระบบงานอื่นๆ

  • การขาดความกระตือรือร้นและบรรยากาศในการทำงาน

การที่มหาวิทยาลัยจะออกไปเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จะมีส่วนที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยมีความเป็น

อิสระในการบริหารจัดการ จะช่วยให้บุคลากรมีความกระตือรือร้นในการทำงานได้

  • วามหลากหลายของภาระงานที่มีในมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยต่างๆมีภาระงานที่หลากหลาย ทำให้การที่จะมุ่งพัฒนาการวิจัยนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก

  • การขาดความเป็นเจ้าของในมหาวิทยาลัยของรัฐ

มหาวิทยาลัยของรัฐนั้นมีผู้บริหารที่เข้ามาในระยะเวลาอันสั้น ทำให้ไม่ได้คิดว่าตนเองเป็นเจ้าของมหาวิทยาลัย เมื่อ

ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของ ก็ย่อมที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยแบบเรื่อยๆ ซึ่งการบริหารจัดการงานวิจัยนั้นต้องอาศัยผู้บริหารที่ตั้งใจจริง จึงประสบความสำเร็จจ็็

  1. การเปลี่ยนแปลงในเรื่องการวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์

                จุดมุ่งหมายประการหนึ่งในการเข้ามาบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของ ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ คือ การขับเคลื่อนให้ธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ท่านได้นำเสนอให้สภามหาวิทยาลัยเห็นชอบให้ประกาศให้ปี 2551 เป็นปีแห่งการวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านมีความมุ่งมั่นในการที่จะเปลี่ยนแปลงเรื่องการวิจัยให้อยู่บนพื้นฐานของการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมสี่ประการที่เชื่อว่าจะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในเรื่องการวิจัยของมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จและส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเรื่องการวิจัยได้อย่างแท้จริงได้แก่

ประการแรก การเพิ่มงบประมาณสนับสนุนการวิจัย ท่านได้เสนอขอให้สภามหาวิทยาลัยเห็นชอบแนวทางการเพิ่มงบประมาณสำหรับการวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยขอกำหนดเป็นสัดส่วน จากงบประมาณในส่วนของงบพิเศษ  งบประมาณแผ่นดิน และงบประมาณที่มาจากหน่วยงานต่างๆ

ประการที่สอง การสร้างบรรยากาศการยกย่องและเชิดชูเกียรติสำหรับผู้ประสบความสำเร็จในการวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ริเริ่มจัดงานวันนักวิจัย และได้จัดต่อเนื่องกันทุกปีมาตั้งแต่ปี 2549 จัดให้มีรางวัลนักวิจัยดีเด่น รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม และรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นในระดับคณะ และยกย่องผู้ประสบความสำเร็จในทางการวิจัยที่ได้รับรางวัลหรือการเชิดชูเกียรติจากองค์กรภายนอก

ประการที่สาม การจัดระบบสนับสนุนการดำเนินการวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดให้มีทุนสนับสนุนการวิจัยประเภทต่างๆอย่างหลากหลายสอดคล้องกับสาขาวิชาต่างๆ และสอดคล้องกับอายุการทำงานของอาจารย์ และมีการวางระบบให้มีการจัดตั้งหน่วยงานวิจัยเฉพาะทางขึ้นภายในมหาวิทยาลัย

ประการที่สี่ การจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการวิจัย  ซึ่งเป็นการวางรากฐานและอำนวยการส่งเสริมพัฒนางานวิจัยในมหาวิทยาลัย เพื่อรับผิดชอบส่งเสริมและดูแลงานด้านการวิจัยในทุกๆด้าน ภายใต้คณะกรรมการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่มีอธิการบดีเป็นประธาน