All posts by นางญาณภา สมนึก

ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการซ่อมและเย็บเล่มหนังสือขนาดใหญ่

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา Preservation CoP  ร่วมกับห้องสมุดศูนย์รังสิต ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการซ่อมและเย็บเล่มหนังสือขนาดใหญ่ ให้แก่บุคลากรของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่สนใจจะเรียนรู้เกี่ยวกับการซ่อมหนังสือ การอบรมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 10 คน โดยมาจาก ห้องสมุดสาขาทั้งท่าพระจันทร์และรังสิต 6 คน จากงานพัฒนาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 2 คน และจาก หอจดหมายเหตุ มธ.1 คน นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 1 คน ส่วนวิทยากรที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การซ่อมหนังสือ คือ นายธีวัฒ อมาตยสุนทร บุคลากรของห้องสมุดศูนย์รังสิต Continue reading ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการซ่อมและเย็บเล่มหนังสือขนาดใหญ่

การป้องกันมิให้หนังสือชำรุดเสียหาย

หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นฉบับพิมพ์ไว้ให้บริการ ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ ซึ่งจำนวนของของทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นสิ่งพิมพ์มีดังนี้

หนังสือ                               1,220,408       ฉบับพิมพ์

วารสาร (ภาษาไทย)                 1,132            ชื่อเรื่อง

วารสาร (ภาษาต่างประเทศ)        683              ชื่อเรื่อง

หนังสือพิมพ์ (ภาษาไทย)           16                ชื่อเรื่อง

หนังสือพิมพ์ (ภาษาต่างประเทศ)   4                  ชื่อเรื่อง Continue reading การป้องกันมิให้หนังสือชำรุดเสียหาย

แนวทางการนำส่งทรัพยากรสารสนเทศเข้าคลังหนังสือ

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมา ห้องสมุดสาขาบางแห่งได้จัดส่งทรัพยากรสารสนเทศเข้ามาจัดเก็บไว้ในคลังหนังสือเป็นระยะๆ ซึ่งการจัดส่งของห้องสมุดสาขานั้น พบว่ามีการจัดส่งทรัพยากรสารสนเทศในหลายลักษณะ เช่น หนังสือฉบับซ้ำ หนังสือชำรุด หนังสือปีพิมพ์ใหม่ หนังสือที่ผู้ใช้บริการยังคงมีการใช้อย่างต่อเนื่อง หนังสือNo Bib หนังสือNo Item เป็นต้น ซึ่งหนังสือลักษณะดังกล่าวนั้นไม่ควรที่จะนำมาเก็บไว้ในคลังหนังสือ เพราะเคยมีการกำหนดเกณฑ์ไว้แล้วแต่ไม่ได้ปฏิบัติตาม พื้นที่การจัดเก็บของคลังหนังสือจึงเหลือน้อยลง และเป็นการเพิ่มกระบวนการการทำงานของคลังหนังสือทำให้หนังสือที่รอดำเนินการมีปริมาณที่มากขึ้น ไม่สามารถที่จะให้บริการได้เมื่อมีผู้ใช้บริการร้องขอ อีกทั้งกระบวนการการนำส่งหนังสือเข้าคลังนั้นยังไม่เคยมีการกำหนดขั้นตอนและแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ทำให้มีการดำเนินการที่แตกต่างกันไป ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน การที่จะแก้ไขมิให้เกิดปัญหาตามที่กล่าวมาแล้วนั้น คลังหนังสือจึงมีแนวทางการนำส่งทรัพยากรสารสนเทศเข้าคลังหนังสือ เพื่อให้ห้องสมุดสาขาและคลังหนังสือได้ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งแนวทางที่จะกล่าวต่อไปนี้ คลังหนังสือจะดำเนินการส่งแนวทางให้กับห้องสมุดสาขาของสำนักหอสมุดทุกแห่ง ได้ช่วยกันพิจารณา แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ หากทั้งคลังหนังสือและห้องสมุดสาขามีความเห็นที่จะแก้ไขหรือปรับปรุงส่วนใด ก็จะมีการปรับปรุงแนวทางการนำส่งทรัพยากรสารสนเทศเข้าคลังหนังสือให้สามารถนำมาใช้เป็นแนวปฏิบัติร่วมกันระหว่างห้องสมุดสาขาและคลังหนังสือต่อไป Continue reading แนวทางการนำส่งทรัพยากรสารสนเทศเข้าคลังหนังสือ

การวิเคราะห์บริการยืมระหว่างห้องสมุด(Book Delivery) ของห้องสมุดศูนย์รังสิต ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2554-2557

จากการรวบรวมข้อมูลการบริการยืมระหว่างห้องสมุด(Book Delivery)ของห้องสมุดศูนย์รังสิต ที่มีการใช้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ.2554-2557 โดยวิเคราะห์จาก 1) ข้อมูลในฐานข้อมูลยืมระหว่างห้องสมุด(Book Delivery) 2) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทั้งผู้ให้บริการ และผู้นำส่งเอกสาร ซึ่งข้อมูลที่รวมรวม คือ

  • รายการสิ่งพิมพ์ที่ผู้ใช้บริการขอยืม
  • รายชื่อผู้ใช้บริการที่ขอยืมสิ่งพิมพ์
  • รายชื่อห้องสมุดที่ผู้ใช้บริการระบุในการรับตัวเล่ม
  • วันที่ที่ผู้ใช้บริการขอยืม
  • รายการความสำเร็จและไม่สำเร็จของการให้บริการ
  • ปัญหาที่พบในขณะที่ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

Continue reading การวิเคราะห์บริการยืมระหว่างห้องสมุด(Book Delivery) ของห้องสมุดศูนย์รังสิต ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2554-2557

การบริหารงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา

จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมอบรม หลักสูตร การบริหารงานอุดมศึกษาระดับกลาง รุ่นที่ 15 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ ในช่วงวันที่ 7 กรกฎาคม-3 กันยายน 2558 ที่ผ่านมานั้น ผู้เขียนได้ฟังบรรยายเกี่ยวกับการบริหารงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเนื้อหาที่ได้รับฟังมานั้นมีความน่าสนใจ ซึ่งโดยสรุปมีดังนี้

การบริหารจัดการงานวิจัยภายในมหาวิทยาลัยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งในฐานะหัวหน้างานจะต้องมีการทำวิจัย จะชอบหรือไม่ก็ต้องทำ ถือว่าเป็นหน้าที่อย่างหนึ่ง มหาวิทยาลัยทุกแห่งก็ไม่สามารถปฏิเสธการทำวิจัยได้ ในปัจจุบันนับได้ว่างานวิจัยมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อมหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยใด ไม่มีผลงานวิจัยย่อมแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยานั้นไม่ประสบความสำเร็จ

Continue reading การบริหารงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา

ยุงตัวผู้กับยุงตัวเมีย เหมือนหรือต่างกันตรงไหน

เคยสงสัยกันหรือเปล่าว่า ยุงที่กัดเรานั้นเป็นยุงตัวผู้หรือยุงตัวเมีย และยุงตัวผู้กับยุงตัวเมียนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร

คนไทยเราคุ้นเคยกับยุงเป็นอย่างดี แถมให้เกียรติแมลงชนิดนี้อย่างมาก ดังจะเห็นได้จากสำนวนเกี่ยวกับยุงที่มีมากมาย เช่น ยุงร้ายกว่าเสือ ยุ่งเหมือนยุงตีกัน หรือแม้แต่ศีลห้าข้อแรก ก็โดนแปลงเป็น “หนึ่งห้ามฆ่าสัตว์  ถ้ายุงกัด เราต้องตบ” Continue reading ยุงตัวผู้กับยุงตัวเมีย เหมือนหรือต่างกันตรงไหน

อาชีพแปลกในสมัยก่อน

คนไทยสมัยก่อนมีความขยันขันแข็ง จึงทำให้เกิดอาชีพต่างๆมากมาย แต่ในที่นี้จะขอแนะนำให้รู้จัก 5 อาชีพแปลก ที่มีในสมัยก่อน แต่เนื่องจากยุคสมัย สังคม และวัฒนธรรมต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้อาชีพแปลกนี้ได้หายไป ตามกาลเวลา 5 อาชีพแปลกที่จะกล่าวถึง คือ

           อาชีพคนหาบน้ำขาย

            อาชีพพนักงานแซะดินออกจากรางรถราง

            อาชีพเหลาไม้แก้งก้น

            อาชีพรับจ้างนั่ง

            อาชีพรับจ้างนอน

Continue reading อาชีพแปลกในสมัยก่อน

ชื่อเมืองกรุงของเรา

bangkok

กรุงเทพฯหรือกรุงเทพมหานคร  เมืองหลวงของเรา มีชื่อเต็มๆ ซึ่งนักปราชญ์ราชบัณฑิตได้บรรจงตั้งไว้อย่างไพเราะและยาวเหยียด เป็นถ้อยคำที่บรรจุด้วยความหมายและนัยประวัติ เป็นมงคลอย่างพร้อมสรรพ ความจริงการตั้งชื่อเช่นนี้ได้รับแบบอย่างมาจากการตั้งชื่อพระนครศรีอยุธยานั่นเอง ข้อนี้เป็นความจำเป็นและไม่เสียหายแต่อย่างใด กลับเป็นผลดีต่อจิตใจประชาชนเสียอีก เพราะในช่วงสร้างกรุงนั้นผู้คนยังอาลัยอาวรณ์กรุงศรีอยุธยาเมืองหลวงเก่า ซึ่งมีอายุสืบมากกว่า 400 ปี เพื่อเป็นการเอาใจสร้างขวัญด้านจิตวิทยาสังคมศาสตร์ การก่อสร้างถาวรวัตถุจึงลอกเลียนแบบกรุงศรีอยุธยามาแทบทั้งหมด และเพื่อแสดงว่ากรุงศรีอยุธยามิได้ล่มจมสูญหายไปไหน เป็นแต่เพียงเปลี่ยนสภาพพระนครใหม่ที่สดใสเกรียงไกรกว่าเก่าดุจลอยลงมาจากสวรรค์ชั้นฟ้า นับตั้งแต่มีการย้ายเมืองหลวง มาจากกรุงศรีอยุธยา ได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงใหม่ ตามลำดับดังนี้

Continue reading ชื่อเมืองกรุงของเรา

ผ้าขี่ม้า ?

เคยสงสัยกันหรือเปล่าว่าสาวๆสมัยก่อนที่มีวันนั้นของเดือนเขาทำกันอย่างไร และใช้อะไรทำ…  เรื่องกวนตัวที่ตามมากวนใจสาวน้อยสาวใหญ่อยู่เป็นประจำทุกเดือน เห็นจะหนีไม่พ้นเรื่องของประจำเดือน หรือสมัยก่อนนิยมเรียกว่า ระดู การมีระดูแต่ละเดือนของคนยุคก่อนถือเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะต้องทำผ้าอนามัยใช้เอง คนโบราณเรียกผ้าอนามัยว่า “ผ้าขี่ม้า” ตามการใช้งานที่ต้องใส่เหมือนกับการขี่ม้า และเรียกช่วงเป็นประจำเดือนนี้ว่า “ถึงผ้า” บ้างก็ใช้ กาบมะพร้าวทุบ หรือ นุ่นหรือแกลบมาสอดใส้ในเนื้อผ้าและเย็บให้เป็นสีเหลี่ยมผืนผ้า โดยจะมีเชือกกล้วยผูกระหว่างหัวท้ายก่อนนำมาผูกติดเอว  เมื่อจะใช้งานก็จะวางสอดใต้ขาก่อนนุ่งโจงกระเบน หรือใช้เศษผ้ายาวๆผูกกับเอวเอาไว้ เหมือนเป็นการนุ่งผ้าเตี่ยวที่ซูโม่เค้านุ่งกัน เมื่อมีเวลาว่างคราวใด สาวๆก็ต้องเตรียมผ้าขี่ม้าไว้ใช้ในแต่ละเดือน ถ้าสาวคนไหนทำผ้าขี่ม้าไม่เรียบร้อย ก็จะทำให้โจงกระเบนหย่อนลงมาดูแล้วไม่สวย ยิ่งเป็นสาวๆชาววังด้วยแล้วจะยิ่งเน้นความประณีตเรียบร้อยในการทำผ้าขี่ม้าเป็นพิเศษ โดยนำผ้ามาซ้อนทับกันแล้วเย็บเก็บไว้ใช้งาน

Continue reading ผ้าขี่ม้า ?

งานวันสัญญา ธรรมศักดิ์ ปี 2558

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน 2558 ที่ผ่านมาผู้เขียนมีโอกาสได้ไปร่วมงาน วันสัญญา ธรรมศักดิ์ ประจำปี 2558 โดยทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์ กองทุนศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ และสมาคมศิษย์เก่าจัดขึ้น ซึ่งจัดที่ บริเวณลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ โดยมี ฯพณฯ ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี เป็นประธานในพิธี งานเริ่มตั้งแต่ เวลา 7.30 น. ซึ่งเป็นพิธีสักการะอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ โดยมีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์  มีพิธีวางพานพุ่มดอกไม้/ช่อดอกไม้สักการะอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งสำนักหอสมุดของเรามีตัวแทนเข้าร่วมพิธีจำนวน 10 คน ดังนี้

Continue reading งานวันสัญญา ธรรมศักดิ์ ปี 2558