โรคติดเชื้อไวรัสซิกา

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 ได้เข้าร่วมสัมมนาพิเศษ เรื่อง “โรคติดต่อไข้ซิกา” ณ ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ 1
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ของสำนักเสริมบริการและสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้จัด โดยมี แพทย์หญิงวรยา เหลืองอ่อน
ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวง
สาธารณสุข เป็นผู้บรรยาย สรุปโดยสังเขปดังนี้

โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus disease)
เป็นโรคที่เกิดจากพาหะนำโรคนั่นก็คือ ยุงลาย ระยะฟักตัว 3-12 วัน โดยเฉลี่ย 4-7 วัน
การติดต่อ/การแพร่เชื้อ สามารถแพร่เชื้อโดยยุงลายที่มีเชื้อ และไปกัดคน
อาการ
– คล้ายกับโรคที่เกิดจาก อาร์โบไวรัส (Arbovirus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค
เช่น โรคไข้สมองอักเสบ โรคไข้เหลือง และโรคไข้เลือดออก
– เป็นไข้ มีผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ
– ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ
– อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ
อาการเหล่านี้ปกติแล้วจะเป็นเพียงเล็กน้อยและอาการจะเป็นอยู่ประมาณ 2-7 วัน
การรักษา
– เป็นการรักษาแบบประคับประคอง
– ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง จึงสามารถรักษาตัวได้โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ หากมีไข้แนะนำ
ให้รับประทานยาพาราเซตามอล ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
– ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรปรึกษา และทำตามคำแนะนำของแพทย์

คำแนะนำในการควบคุมป้องกันโรค
– สำหรับผู้เดินทางที่จะเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรคไข้ซิกา ให้ระวังป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยสวมเสื้อแขนยาว
กางเกงขายาวให้มิดชิด และใช้ยาทาป้องกันยุงกัด
– หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีรายงานการระบาด ถ้ามีการติดเชื้อนี้จำทำให้เด็กที่เกิดมามี
ศีรษะเล็กตั้งแต่กำเนิด

การป้องกัน
แพทย์หญิงวรยา เหลืองอ่อน ได้แนะนำให้ระวังไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนกางมุ้ง และทายากันยุง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กำจัดลูกน้ำ
และยุงลายตัวแก่ให้หมด พร้อมแนะนำวิธี 3 เก็บมาให้นั่นก็คือ
1. เก็บบ้าน
2. เก็บขยะ
3. เก็บน้ำ
ซึ่งทั้ง 3 อย่างที่กล่าวมาข้างต้นทุกๆบ้านก็ทำอยู่แล้ว ถ้าเรารักคนใน
ครอบครัวเราควรทำ 3 อย่างนี้นะคะ
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ มีโรคติดต่ออุบัติใหม่อีกหลายๆ โรคให้รู้อีกมากมาย ถ้าเพื่อนๆ มีข้อสงสัยและอยากซักถาม โทรสายด่วนที่ เบอร์ 1422
ซึ่งเป็นสายด่วนกรมควบคุมโรคค่ะ หรือ ไปที่เว็บไซด์ของสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่