คนอยู่เวร (มนุษย์ห้องสมุด)

คำว่า “อยู่เวร” แน่นอนว่าต้องเป็นงานนอกเวลาราชการอยู่แล้ว  แต่ที่เรากำลังจะพูดถึงนี้ เป็นงานที่เกี่ยวกับงานบางส่วนของห้องสมุดเท่านั้นคะ นั่นก็คือการ อยู่เวรแยกหนังสือ

กรณีที่จะเขียนวันนี้ คือการ อยู่เวรแยกหมวดหมู่หนังสือและการเรียงหนังสือ ณ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มธ.ท่าพระจันทร์

รายละเอียดตามนี้เลยคะ

  • นำหนังสือจากจุดบริการยืม-คืน และหนังสือที่ผู้ใช้มาใช้บริการไปรวมกันที่ห้องสำหรับแยกหมวดหมู่หนังสือ
  • แยกหนังสือตามประเภทเช่น หนังสือทั่วไป ภาษาไทย, ภาษาต่างประเทศ, วิทยานิพนธ์, นวนิยาย, หนังสือ อ้างอิงเป็นต้น,
  • ต่อมาเรามาแยกหมวดย่อยเพิ่มขึ้นอีก ที่เราเรียกว่า การแยกย่อย การแยกย่อยนี้ความหมายคือ แยกออกเป็นหมวดๆ ตามเลขหมู่หนังสือ ให้กับเจ้าหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบของแต่ละคน โดยมีชื่อเจ้าของชั้นหนังสืออยู่หน้าตู้หนังสือในห้องแยกหนังสือ
  • ต่อมาเรามาเรียงวิทยานิพนธ์กันค่ะ (อยากบอกว่าตัวเล่มบางเล่มค่อนข้างหนักจริงๆ นะค่ะ) บางวันผู้ใช้บริการหยิบออกมาใช้เยอะมาก  ผู้เรียงนี่เจ็บข้อมือเลยทีเดียวกว่าจะเรียงเสร็จ (ประสบการณ์ตรงจากผู้เขียนเองคะ)
  • ต่อมาเราก็เรียงหนังสือที่เรารับผิดชอบของแต่ละคนได้เลย
  • หน้าที่ต่อมาของผู้อยู่เวรแยกหนังสือ  คือ การเดินเก็บหนังสือตามโต๊ะ ของชั้น U ต่างๆ เพื่อมาแยกรอบที่สองของวัน

มาดูวิธีการเรียงหนังสือแบบง่ายๆ (บางครั้งอาจไม่ง่ายถ้าเราท่อง ก-ฮ ไม่ถูกต้องอาจเกิดการสับสนขึ้นก็ได้ คะ)

สมมุติ มีหนังสือที่มีเลขหมู่ตามนี้

  1. BQ4570 ช83 พ8

2. BQ4570 ก7พ9

3. BQ 4570 ก7 พ5

4. BQ4570 ช83ฉ65

การเรียงที่ถูกต้องคือ เรียงจากลำดับที่ 3,2,4,1 คะ และที่สำคัญ ผู้ที่จะเรียงหนังสือได้ถูกต้องนั้น จะต้องท่องพยัญชนะทั้ง ก-ฮ  และ A-Z ให้ได้มิฉะนั้นคุณอาจจะต้องมายืนท่อง ก ข ค ง  หรือ  A B C  ขณะเรียงหนังสือก็เป็นได้  ดีไม่ดีอาจต้องหันไปถามคนข้างๆ เลยทีเดียว คงน่าอาย เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่ห้องสมุดหรือผู้ที่อยู่เวรแยกหนังสือ  อย่าลืมหมั่นฝึกท่องตัวอักษร  ทั้งภาษาไทย ทั้งภาษาต่างประเทศกันให้แม่นๆ นะคะ