รู้ก่อนจะทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนได้อ่านบทความเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่น่าสนใจมากจากเว็บไซต์ Contentshifu ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เชี่ยวชาญด้าน inbound marketing  เลยขอนำมาเล่าต่อกับผู้อ่านบางประเด็นดังนี้ค่ะ

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้หมายรวมถึง คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน๊ตบุค มือถือ แทปเล็ต ฯลฯ  โดย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุด ปี พ.ศ. 2560 ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกันและควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจนั่นเอง

  1. เข้าถึงระบบหรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)

การแฮคข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต หรือการปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่นเพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง หรือพวกแฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นก็มีความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

บทลงโทษ

  • เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย: จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)

ในข้อนี้จะหมายรวมถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างเช่น การกด F5 รัวๆ เพื่อทำร้ายระบบเว็บไซต์ ทำให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิดค่ะ
บทลงโทษ

  • ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11)

ข้อนี้อาจยกตัวอย่างพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่มักจะส่งอีเมล์ขายของไปให้ลูกค้าแบบถี่ๆ แบบนี้เข้าข่ายอีเมล์สแปมได้นะคะ แต่สำหรับอีเมล์ที่ส่งออกจากห้องสมุดของเรา ผู้ใช้มั่นใจได้แน่นอนว่าจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้รับบริการ ไม่ใช่สแปมเมล์แน่นอนค่า ส่วนการฝากร้านในไอจีหรือเฟสบุค  ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์นี้ ถือว่าเข้าข่ายสแปมเหมือนกันนะคะ ดังนั้นควรงดฝากร้าน  ฝากไว้แต่ข้อความดีๆ ดีกว่าค่ะ

4. นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14)

ความผิดมาตรา 14 จะระบุโทษการนำข้อมูลที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ออกเป็น 5 ข้อความผิดด้วยกันคือ

  • โพสต์ข่าวปลอม
  • โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัย
  • โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
  • โพสต์ข้อมูลลามก
  • โพสต์ด่าผู้อื่น ทำให้ได้รับความอับอาย เสียชื่อเสียง
  • กดแชร์ข่าวที่รู้อยู่แล้วว่าปลอม

บทลงโทษ

  • หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)

5. ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ (มาตรา 16)

ความผิดข้อนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลักคือ

  • การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ยกตัวอย่างเมื่อเร็วๆ นี้ คุณหมอโอ๊ค นายแพทย์สมิทธิ์ อารยะสกุล ถูกนำภาพไปประกอบป้ายโฆษณาเครื่องสำอางที่มีสรรพคุณเกินจริง ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด หลงเชื่อและซื้อผลิตภัณฑ์นั้นมาใช้ จนทำให้ได้รับความเสียหายต้องเข้าแจ้งความเพื่อเอาผิดผู้กระทำ นี่ก็ถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่ะ
  • การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต ที่ทำครอบครัวและญาติพี่น้องได้รับความอับอาย ทุกข์ใจ เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง แบบนี้มีความผิดนะคะ

บทลงโทษ

  • หากทำผิดตามนี้ ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

internet2

หากผู้อ่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่เว็บไซต์นี้ได้เลยค่ะ https://www.contentshifu.com/others/computer-law/