Category Archives: 05-Information Literacy / Digital Literacy CoP

การสอนสืบค้น การสอน EndNote การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์
การใช้ห้องสมุด TU-eThesis รูปแบบการอ้างอิง การประเมินคุณค่าวารสาร / แนะนำแหล่งวารสารเพื่อการตีพิมพ์ การตรวจสอบการคัดลอก (Plagiarism) การใช้งาน Worldshare ILL
การใช้งาน TU THAIPUL การใช้งาน One Search (EDS, WorldCat Local ของ OCLC) การใช้งาน KOHA เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ทางลัดเข้าถึงวิทยานิพนธ์ มธ.

Travel 2020รวมวิทยานิพนธ์ มธ.  ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถดาวน์โหลด เพื่อใช้ประโยชน์ได้ โดยผ่านคลังข้อมูลวิทยานิพนธ์ ของหอสมุดฯ ได้แก่ Continue reading ทางลัดเข้าถึงวิทยานิพนธ์ มธ.

ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU e-Theses)


แต่เดิมการค้นหาวิทยานิพนธ์สักเล่ม ผู้ใช้บริการต้องเข้ามาค้นหา และใช้งานภายในห้องสมุดเท่านั้น หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึง ได้จัดทำฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (TU eTheses) ขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้จากทุกที่ ทุกเวลา นอกจากนั้น ยังเป็นการลดจำนวนตัวเล่มของวิทยานิพนธ์ เพื่อให้มีพื้นที่ภายในห้องสมุดเพิ่มขึ้นอีกด้วย

2DA4991E-5331-48F4-91CC-2DD7F19CF211

Continue reading ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU e-Theses)

Journal Index คืออะไร?

Journal Index คืออะไร?


Journal Index คือ เครื่องมือที่ทำให้เราค้นหาบทความที่เราต้องการด้วย #ชื่อบทความ #ชื่อผู้เขียน #ชื่อวารสาร ได้จากระบบสืบค้น และยังสามารถกำหนด #ปีที่เผยแพร่ ได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังบอกด้วยว่าวารสารนั้น มีให้บริการที่ห้องสมุดใด

Journal Index

—-
ความพิเศษของ TU Journal Index คือ ถ้าวารสารเล่มใดมี Full Text ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดมาอ่านได้เลยภายในเครือข่ายมหาวิทยาลัย

ไปลองใช้งานกันได้ที่ >> https://index.library.tu.ac.th

การใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์ภายนอกเครือข่ายมหาวิทยาลัย

banner-50_3

การใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์ต่าง ๆ กว่า 100 ฐานข้อมูล ที่หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีให้บริการอยู่นั้น นอกจากการใช้งานในเครือข่ายมหาวิทยาลัย เช่น ใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ที่คณะ สถาบัน หรือ ผ่าน Wi-Fi ของมหาวิทยาลัย ผู้ใช้บริการที่เป็นนักศึกษา และบุคลากรยังสามารถใชงานฐานข้อมูลเหล่านั้นได้จากที่บ้าน หรือนอกมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย

ปัจจุบันการเข้าใช้งานไม่ได้ยุ่งยาก หรือ ซับซ้อนเหมือนเมื่อก่อน ที่ผู้ใช้บริการต้องตั้งค่า Proxy มากมายกว่าจะใช้งานได้แต่ละครั้ง เนื่องจากหอสมุดได้นำ EZproxy มาให้บริการ ซึ่งช่วยลดขั้นตอนการใช้งานได้มาก

Continue reading การใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์ภายนอกเครือข่ายมหาวิทยาลัย

รวมรายชื่อ “วิทยานิพนธ์ดีเด่น คณะนิติศาสตร์” มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2553 – 2559

รวมรายชื่อ วิทยานิพนธ์ดีเด่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีการศึกษา 2553 – 2559 จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมรายการวิทยานิพนธ์ที่ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นในระดับคณะ พร้อมลิงค์ดาวน์โหลด Full Text เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจศึกษาค้นคว้าได้อย่างสะดวก
ดูรายละเอียดได้ที่ https://goo.gl/RTBx9V

Best

ที่มา : ประกาศคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่องวิทยานิพนธ์ดีเด่น

รายชื่อวิทยานิพนธ์ “คณะนิติศาสตร์” แยกตามสาขาวิชา

รายชื่อวิทยานิพนธ์ของคณะนิติศาสตร์ แยกตามสาขาวิชา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป ในการค้นหาข้อมูลวิทยานิพนธ์ในสาขาที่ตนเองสนใจ พร้อมลิงค์ Full Text สำหรับดาวน์โหลดรายการที่ต้องการ ข้อมูล update 28-05-2018

ค้นหาวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กว่า 25,000 รายการ ในรูปแบบ Full Text ได้ที่นี่ 
http://beyond.library.tu.ac.th/cdm/search/collection/thesis

ay

#สาขากฎหมายอาญา ระหว่างปีการศึกษา 2551 – 2559
ดูรายชื่อได้ที่นี่ http://bit.ly/2QGKiIs

Continue reading รายชื่อวิทยานิพนธ์ “คณะนิติศาสตร์” แยกตามสาขาวิชา

รวมรายชื่อ “วิทยานิพนธ์ดีเด่น” มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2552 – 2558

thesis

รายชื่อวิทยานิพนธ์ดีเด่น มธ. ปี 2552 – 2558 พร้อมลิงค์ Full Text* / ตัวเล่ม ที่มีสถานะเป็น In Process กำลังไปตามเก็บให้อยู่ ครบแล้วจะมาอัพเดทกันอีกทีนะครับ เข้าไปดูตรงนี้ >> https://goo.gl/nBRQRv

ค้นหาและดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ที่เป็น Full Text ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งหมด กว่า 25,000 ได้ที่
http://beyond.library.tu.ac.th/cdm/search/collection/thesis

Continue reading รวมรายชื่อ “วิทยานิพนธ์ดีเด่น” มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2552 – 2558

รู้ก่อนจะทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนได้อ่านบทความเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่น่าสนใจมากจากเว็บไซต์ Contentshifu ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เชี่ยวชาญด้าน inbound marketing  เลยขอนำมาเล่าต่อกับผู้อ่านบางประเด็นดังนี้ค่ะ

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้หมายรวมถึง คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน๊ตบุค มือถือ แทปเล็ต ฯลฯ  โดย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุด ปี พ.ศ. 2560 ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกันและควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจนั่นเอง

Continue reading รู้ก่อนจะทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

การใช้ LINE@ ในงานบริการของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

LINE@ คืออะไร
LINE@ คือ การพัฒนาการจาก Application LINE ซึ่งเป็นที่รู้จักและใช้ติดต่อกันอย่างกว้างขวาง จากบริการฟรีที่ทำให้คนในปัจจุบันสามารถสื่อสารกันได้อย่างง่าย และสะดวก เพราะถึงแม้เราจะไม่ว่างคุยก็ยังสามารถทิ้งข้อความไว้และตอบกลับภายหลังได้ เป็นแนวทางสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อก่อให้เกิดรายได้ โดยการนำช่องทาง การสื่อสารทางธุรกิจ และเรียกเก็บค่าบริการ ซึ่งธุรกิจใหม่ๆก็จะอาศัยบริการในส่วนของ Official Account เพื่อโปรโมทธุรกิจของตัวเอง  แต่เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง จึงเอื้อแต่ประโยชน์แก่ธุรกิจใหญ่ๆเท่านั้น ซึ่งยังไม่ตอบโจทย์ธุรกิจเล็กๆ ต่อมาจึงได้มีการเปิดตัวบริการใหม่ที่ชื่อว่า LINE@ ขึ้น ที่ทำมาเพื่อผู้ประกอบการรายย่อยด้วยการทำในลักษณะการดาวน์โหลดแอพที่เรียกว่า LINE@ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้ง Android และ iOS ลักษณะการทำงานของ LINE@ นั้นสามารถเทียบชั้นได้กับ fanpage ใน facebook ที่เป็นชุมชนที่เป็นช่องทางในการสื่อสารทางธุรกิจมากกว่าจะเป็นการสื่อสารส่วนตัว LINE@ จึงนับเป็นพัฒนาการเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก ด้วยค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม

ทำไมหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงเลือกใช้ LINE@
ในยุคปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่มีสมาร์ทโฟน และมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยประมาณ 57 ล้านคน และใช้งาน Social Media ประมาณ 51 ล้านคน โดยการสำรวจล่าสุดของประเทศไทย พบว่า คนไทยใช้ Facebook มาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ LINE และ Facebook Messenger  และผู้ใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 18-34 ปี ซึ่งตรงกับกลุ่มผู้ใช้บริการของหอสมุดฯ คือ นักศึกษา อาจารย์ และบุคคลากร ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Continue reading การใช้ LINE@ ในงานบริการของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Searching databases like a pro!!!

การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ จะมีเทคนิควิธีในการสืบค้นเพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาและได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด ซึ่งถ้าผู้ใช้ทราบและทำความคุ้นเคยกับเทคนิคเหล่านั้น จะช่วยให้ประหยัดเวลาในการค้นหามากยิ่งขึ้น
ในแต่ละฐานข้อมูลจะมีวิธีการสืบค้นที่แตกต่างกันออกไปซึ่งผู้ใช้จะต้องทราบเบื้องต้นโดยการอ่านคู่มือของฐานข้อมูลนั้นๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว การสืบค้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การสืบค้นแบบพื้นฐาน (Basic Search) และการสืบค้นแบบขั้นสูง (Advanced Search) Continue reading Searching databases like a pro!!!