การตรวจสอบแยกประเภททรัพยากรสารสนเทศ

ในการดำเนินงานจัดหา/พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุดฯ นั้น ก่อนดำเนินการตัดสินใจคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศใดๆเข้าห้องสมุด จำเป็นต้องมีการตรวจสอบรายการหรือรายชื่อดังกล่าวก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ ของห้องสมุดเป็นสำคัญ ดังนี้

1

ประเภททรัพยากรที่ต้องตรวจสอบ

  1. ทรัพยากรชื่อใหม่ (New Title)

หมายถึงทรัพยากรรายการนั้นยังไม่เคยมีให้บริการในห้องสมุด ห้องสมุดได้พิจารณาแล้วว่าจัดหาตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการครอบคลุมทุกกลุ่ม ได้แก่ คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา ตลอดจนบุคลากรของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัยตามสาขาวิชาที่เปิดสอน

  1. ทรัพยากรฉบับแก้ไขปรับปรุงเนื้อหา (New Edition)

หมายถึงทรัพยากรรายการนั้นมีการแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมให้มีความทันสมัยภายในเล่ม และห้องสมุดเคยมีฉบับพิมพ์ครั้งก่อนหน้านั้นไว้บริการแล้ว และประสงค์จะจัดหาฉบับแก้ไข้ปรับปรุงใหม่เข้ามาให้บริการแก่ผู้ใช้เพิ่มเติม

  1. ทรัพยากรฉบับพิมพ์เนื้อหาซ้ำ (Reprint)

หมายถึงทรัพยากรที่มีการจัดพิมพ์เนื้อหาซ้ำกับฉบับพิมพ์ครั้งก่อน ไม่มีการแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมภายในเล่ม แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในส่วนอื่นๆ เช่น ครั้งที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ สถานที่พิมพ์ ปีพิมพ์ จำนวนหน้า เป็นต้น

  1. ทรัพยากรฉบับพิมพ์ซ้ำ (Duplication)

หมายถึงทรัพยากรที่มีการจัดพิมพ์ซ้ำครั้งใหม่โดยมีข้อมูลในส่วนต่างๆ เหมือนเดิมทุกประการ กรณีนี้ห้องสมุดอาจพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นต่อการใช้งานของผู้ใช้จึงจัดหาจำนวนฉบับเข้ามาให้บริการเพิ่มเติม

ข้อมูลและแหล่งข้อมูลสำคัญที่ใช้ตรวจสอบ

          ข้อมูลเบื้องต้นที่ใช้ตรวจสอบ ได้แก่ หมายเลขประจำหนังสือสากล (ISBN) หมายเลขประจำวารสารสากล (ISSN) ชื่อเรื่อง (Title) ชื่อผู้แต่ง (Author)

          นอกจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลสำคัญที่ใช้ตรวจสอบรายการแต่ละครั้ง ได้แก่

1.หน้าปก
2.หน้าปกใน
3.หน้าหลังหน้าปกใน
4.หน้าคำนำ
5.หน้ากิตติกรรมประกาศ
6.ปกนอก
7.ใบหุ้มปก
8.สันหนังสือ

สำหรับการจัดการข้อมูลบรรณานุกรมในฐานข้อมูล TUDB ของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ต้องทำรายการบรรณานุกรมแยกแต่ละรายการ ดังนี้

คลิกดูประเภททรัพยากรที่ทำรายการเข้าฐานข้อมูลTUDB

นอกจากนี้ กรณีหนังสือภาษาต่างประเทศฉบับแก้ไขปรับปรุง (New ed.) ที่มีการเปลี่ยนชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สามารถตรวจสอบประวัติการจัดพิมพ์เพิ่มเติมได้ที่ฐานข้อมูลตามเว็บไซต์ของห้องสมุดต่างๆ เช่น

Library of Congress, National Library of Medicine, OCLC, OhioLINK เป็นต้น

pic3