All posts by sivaporn

การตรวจสอบแยกประเภททรัพยากรสารสนเทศ

ในการดำเนินงานจัดหา/พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุดฯ นั้น ก่อนดำเนินการตัดสินใจคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศใดๆเข้าห้องสมุด จำเป็นต้องมีการตรวจสอบรายการหรือรายชื่อดังกล่าวก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ ของห้องสมุดเป็นสำคัญ ดังนี้

1 Continue reading การตรวจสอบแยกประเภททรัพยากรสารสนเทศ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Koha!

งานจัดการข้อมูล ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมใช้ระบบฐานข้อมูล Koha โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Cataloging Module ซึ่งต้องมีการใช้ข้อมูลร่วมกันกับงานบริการ ระหว่างที่มีการใช้งานโปรแกรมมักได้รับคำถามบางประการจากผู้ปฏิบัติงานฝ่ายต่างๆ เกี่ยวกับข้อสงสัยในบางเรื่อง จึงรวบรวมบางคำถามมาตอบและอธิบายเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความเข้าใจยิ่งขึ้นค่ะ

Question: ทำไมในระบบ Koha พบว่า หนังสือบางเล่ม มีภาพปกหนังสือ บางเล่มไม่มี?
Answer: เหตุที่หนังสือบางเล่มไม่มีภาพปกหนังสือ เนื่องจากว่าระบบ Koha นั้นได้ตั้งค่าอัตโนมัติให้ดึงข้อมูลรูปภาพปกหนังสือมาจากเว็บไซต์ Amazon.com เป็นหลัก โดยการใช้หมายเลข ISBN link ภาพมาให้ หาก Amazon ไม่มีภาพปกหนังสือเล่มนั้น Koha ก็จะไม่มีภาพปกหนังสือเช่นเดียวกัน สำหรับหนังสือที่ยังไม่มีภาพหน้าปก ในอนาคตอาจมีโครงการสแกนภาพหน้าปกหนังสือเข้าในฐานข้อมูล Koha ค่ะ

Question: ในระบบ Koha ยังมีการพิมพ์สารบัญอยู่หรือไม่?
Answer: ปัจจุบัน ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศใช้วิธีสแกนหน้าสารบัญของหนังสือ จัดเก็บไว้ในระบบ เพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดจากการพิมพ์ นอกจากนี้เหตุที่ต้องสแกนหน้าสารบัญ โดยเฉพาะหนังสือภาษาไทยที่มีสารบัญจำนวนหลายหน้า เมื่อพิมพ์เข้าระบบ Koha พบว่ามีจำนวนอักขระมากเกินกว่าที่ระบบกำหนดไว้ ทำให้เป็นปัญหาต่อการสืบค้นรายการบรรณานุกรมค่ะ

ข้อมูล ณ วันที่ 29 พ.ค. 2558

ขนมถ้วย…ไม่ยากอย่างที่คิด ใครๆ ก็ทำทานได้!

kanomthuai1

ส่วนผสม

  1. แป้งข้าวเจ้า ตราช้างสามเศียร 1/2 ก.ก.
  2. มะพร้าวขูด 1/2 ก.ก.
  3. น้ำตาลปีบ
  4. น้ำตาลทราย
  5. เกลือป่น

Continue reading ขนมถ้วย…ไม่ยากอย่างที่คิด ใครๆ ก็ทำทานได้!

Shelving Location ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha

หลังจากที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปลี่ยนระบบฐานข้อมูลมาเป็น Koha โดยเริ่มใช้งานจริงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 มาจนถึงปัจจุบันนั้น ผู้ปฏิบัติงานจะพบว่ามีข้อมูลบางส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากระบบเดิมที่เคยใช้มาอย่าง Horizon อาทิเช่น Shelving Location นอกจากนี้ห้องสมุดบางแห่งมีการเปิด Collection พิเศษ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ ดังนั้นจึงขอรวบรวมและสรุป Shelving Location ที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ เพื่อทบทวนการใช้งานอีกครั้ง

Shelving Location คือ ชั้นวางหนังสือแต่ละประเภทในห้องสมุดแต่ละแห่ง โดยปกติแล้ว สามารถแบ่ง Shelving Location ได้อย่างกว้างๆ ดังนี้ Continue reading Shelving Location ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha

“คุณค่า (ฆ่า) เวลา”

khunkhawela

“คุณค่า (ฆ่า) เวลา” เป็นหนังสือที่เขียนโดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ท่าน ว. วชิรเมธี ได้รับการตีพิมพ์มาแล้วหลายครั้ง
เนื้อหาภายในเล่ม ประกอบด้วย 5 บทหลักได้แก่

  1. งานสัมฤทธิ์ ชีวิตรื่นรมย์
  2. หนึ่งตนตาย ล้านคนตื่น
  3. ความทุกข์มาโปรด ความสุขโปรยปราย
  4. เรียนรู้ทุกข์ ได้สุขเป็นกำไร
  5. ก้าวไปให้ถึงรักแท้

ในแต่ละบทจะมีเรื่องย่อยหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น โดยมีการอธิบายสั้นๆ แบบปุจฉา วิสัชนา ถามตอบเรื่องธรรมะในชีวิตประจำวัน บางเรื่องพระอาจารย์ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ให้ข้อคิดสอนใจขณะไปบรรยายธรรมตามสถานที่ต่างๆ บางเรื่องนำมาจากประสบการณ์จริงของผู้มาฟังธรรม เช่น อะไร คืองานที่สำคัญที่สุด สันติวิธีแห่งการทำงานร่วมกัน แง่มุมต่างๆ ในการทำงาน พลิกทุกข์ให้เป็นสุข การใช้ประโยชน์จากการเป็นทุกข์ การให้ผลของกรรม อย่าเสียเวลากับความหลัง การใช้เวลาให้คุ้มค่ามากที่สุด หรือแม้แต่ข้อคิดเกี่ยวกับความรัก หลักการเลือกคนรัก คำถามของความรัก เพลงที่ควรฟังเมื่ออกหัก “Live and learn” ของ บอย โกสิยพงษ์ ขับร้องโดย กมลา สุโกศล หรือ เพลง “You are not alone” ของ ไมเคิล แจ็คสัน เพื่อเป็นกำลังใจในการใช้ชีวิต เป็นต้น   พระมหาวุฒิชัยได้นำมาเขียนเล่าเรื่องด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายเหมาะแก่ผู้อ่านโดยทั่วไป

ที่มา: พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2558). คุณค่า (ฆ่า) เวลา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : มูลนิธิชลลดา.

“จัดการเงินเป็น อนาคตปึ้ก” คืออะไร?

หากใครต้องการวางแผนทางการเงิน แล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงดี วันนี้เรามีเว็บไซต์ที่สามารถเป็นที่ปรึกษาการจัดการทางการเงินสำหรับคุณมาแนะนำกัน ที่สำคัญปรึกษาฟรีด้วยนะคะ เรามาเริ่มทำความรู้จักกันค่ะ

ข้อมูลเบื้องต้น

ชื่อเว็บไซต์: www.จัดการเงินเป็น.com

ประเภทของเว็บไซต์: ให้บริการแนะแนวทางจัดการการเงินแก่ผู้สนใจทาง   ออนไลน์โดยไม่หวังผลทางกำไร

วัตถุประสงค์: เชิญชวนคนไทยวางแผนจัดการการเงินของตัวเองโดยอาศัย   หลัก 3 ประการ คือ 1.ลดรายจ่าย 2. เก็บก่อนใช้ 3. แบ่งไปลงทุน

กลุ่มเป้าหมาย: กลุ่มวัยเริ่มทำงานและบุคคลผู้สนใจทั่วไป

วันเปิดตัวอย่างเป็นทางการ: มีนาคม 2558 เป็นต้นไป

หน่วยงานที่เป็นเจ้าของ/ผู้พัฒนาเว็บไซต์: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยมีเว็บมาสเตอร์จาก Dek-Dee.com เป็นผู้ออกแบบและพัฒนา

เนื้อหาของเว็บไซต์: เป็นโปรแกรมการคำนวณทางการเงิน โดยมีเมนูรายการให้เลือกคำนวณรายรับรายจ่ายตามหมวดต่างๆ ทั้งหมด 8 เมนูคือ Continue reading “จัดการเงินเป็น อนาคตปึ้ก” คืออะไร?

การอบรมเชิงปฏิบัติการ การลงรายการบรรณานุกรมในรูปแบบ MARC 21

การอบรมเชิงปฏิบัติการ การลงรายการบรรณานุกรมในรูปแบบ MARC 21 และการจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification System)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับเชิญจากศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา ให้เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “การลงรายการบรรณานุกรมในรูปแบบ MARC 21 และการจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification system) แก่บรรณารักษ์ งานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการพัฒนาบุคลากรงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศแก่บรรณารักษ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา” โดยจัดให้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคม 2557 เวลา 9.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งมีบุคลากรงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จำนวน 12 ท่าน เข้ารับการอบรม พร้อมฝึกปฏิบัติการลงรายการบรรณานุกรมและจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันแก่ทรัพยากรสารสนเทศ โดยมีบรรณารักษ์งานจัดการข้อมูล ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ นางสาวศิวาพร อุทัยสาร์ เป็นวิทยากร และ นางสาวสมหมาย เที่ยงในญาติ เป็นผู้ช่วยวิทยากร ในการอบรมครั้งนี้

IMG_4035
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
IMG_4059
ดร. พรพรรณ จันทร์แดง ท่านผู้อำนวยการ และบุคลากร ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา
IMG_4016
บรรยากาศระหว่างการฝึกอบรม