การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital letters) ในส่วนการลงรายการข้อมูลบรรณานุกรม

การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital letters) ในส่วนการลงรายการข้อมูลบรรณานุกรม

1. ชื่อย่อและอักษรย่อ
ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ในชื่อย่อและอักษรย่อขององค์กรที่เป็นที่รู้จัก โดยให้ยึดหลักตามองค์กรตามที่ปรากฏ เช่น

EU  (European Union)

WTO (World Trade Organization)

TU (Thammasat University)

2. หัวเรื่องชื่อบุคคล สถานที่ และชื่อนิติบุคคล

2.1 ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ในหัวเรื่องและหัวเรื่องย่อยที่เป็นชื่อบุคคล สถานที่ และนิติบุคคล  เช่น

Rowling, J. K.

Somchai Richupan

Thammasat University. Faculty of Law

International Criminal Court

2.2 ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ในคำหรือวลีที่แสดงถึงลักษณะบ่งชี้ตัวบุคคลแล้วใช้เป็นหัวเรื่อง เช่น

Physician

Lady of Quality

Citizen of Albany

2.3. การเพิ่มคำอธิบายของหัวเรื่องชื่อบุคคล นิติบุคคลและสถานที่
ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่สำหรับการเพิ่มคำอธิบายของชื่อบุคคล นิติบุคคล เช่น

Alfonso XIII, King of Spain

John, Abbot of Ford

Brown, George, Rev.

แต่ถ้ามีการเพิ่มคำอธิบายในวงเล็บ ให้อักษรตัวแรกในวงเล็บใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนพวกคำบุพบทและคำสันธานให้เป็นตัวพิมพ์เล็ก และคำอื่นให้ตามกฎการใช้ภาษาที่เกี่ยวข้อง เช่น

Thomas (Anglo-Norman poet)

Bounty (Ship)

General Agreement on Tariffs and Trade (Organization)

3. ชื่อเรื่องแบบฉบับ คือ ชื่อเรื่องที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ลงรายการหนังสือเรื่องเดียวกัน แต่มีหลายฉบับ หลายชื่อเรื่อง โดยให้หนังสือที่เป็นเรื่องเดียวกันอยู่รวมกันในที่เดียว

3.1 ชื่อเรื่องแบบฉบับที่มีเพียงชื่อบุคคล หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบหนังสือ ให้ลงชื่อนั้นเป็นชื่อเรื่องโดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น

Georges Brassens

Nicene Creed

The Department of Teacher Training

3.2 ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ตัวแรกของชื่อเรื่องแบบฉบับ ส่วนคำหลังให้ใช้ตามกฎการใช้ภาษาที่เกี่ยวข้อง เช่น

Short stories

Seven sages of Rome (Southern version)

Guillaume (Chanson de geste)

4. ส่วนชื่อเรื่องและการแจ้งความรับผิดชอบ คือ ข้อมูลที่ลงในส่วนชื่อเรื่องและการแจ้งความรับผิดชอบ ซึ่งชื่อเรื่อง คือ ชื่อหนังสือที่ปรากฏในหน้าปกใน และการแจ้งความรับผิดชอบ คือ การระบุชื่อบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำหนังสือ ได้แก่ ผู้แต่ง ผู้แปล บรรณาธิการ ผู้รวบรวม เป็นต้น

4.1 ตามกฎการลงรายการชื่อเรื่อง ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ของคำแรกในชื่อเรื่องหลัก ชื่อเรื่องรองหรือชื่อเรื่องเทียบเคียง ส่วนคำหลังให้ใช้ตามกฎการใช้ภาษาที่เกี่ยวข้อง เช่น

The materials of architecture

The economic consequences of the Vietnam War

TU-GET grammar: error identification sentence completion

The global minotaur: America, Europe and the future of the world economy

4.2 ไม่ใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่หลังใช้เครื่องหมายยัติภังค์ (-) คั่น ที่เชื่อมหรือแสดงประโยคที่ไม่สมบูรณ์ เช่น

—and master of none

4.3 กรณีเชื่อมชื่อวารสารสองชื่อ หลังคำเชื่อม ชื่อเรื่องที่สองจะไม่ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น

Farm chemicals and crop life      ไม่ใช้      Farm chemicals and Crop life

4.4 ชื่อเรื่องส่วนที่สองที่บ่งบอกภาคหรือตอนหลังเครื่องหมายมหัพภาค (.) ให้ใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น

Faust. Part one

Advanced calculus. Student handbook

Journal of biosocial science. Supplement

ถ้ามีชื่อตอนที่เป็นตัวเลขและตามด้วยชื่อตอน หลังเครื่องหมายจุลภาค (,) ใส่อักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกัน เช่น

Progress in nuclear energy. Series 2, Reactors

4.5 ไม่ใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ของคำที่บอกประเภทวัสดุ เช่น

[music]

[map (braille)]

[computer file]

4.6. การแจ้งความรับผิดชอบ คือ การลงรายการการแจ้งความรับผิดชอบที่ปรากฏอย่างเด่นชัดในหน้าปกใน โดยลงรายการตามที่ปรากฏ ใช้ตามหลักภาษาศาสตร์ ให้ใช้เป็นอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ในชื่อบุคคล นิติบุคคล ยศ ตำแหน่ง ชื่อสมาคม บริษัท เป็นต้น เช่น

. . . / by Mrs. Charles H. Gibson

. . . / by Walter de la Mare

. . . / by Alfred, Lord Tennyson

5. ส่วนฉบับพิมพ์ คือ ข้อมูลที่ลงในส่วนครั้งที่พิมพ์ ประกอบด้วยการแจ้งครั้งที่พิมพ์ และการแจ้งความรับผิดชอบเกี่ยวกับครั้งที่พิมพ์

5.1 ถ้าฉบับพิมพ์ขึ้นต้นด้วยคำหรืออักษรย่อ อักษรตัวแรกใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ และคำหลังตามกฎภาษาที่เกี่ยวข้อง เช่น

Household ed.

Facsim. ed.

1st standard ed.

World’s classics ed., New ed. rev.

หมายเหตุ  Facsim. ย่อมาจาก Facsimile (สำเนา) และ Rev. ย่อมาจาก Revised (แก้ไข)

6. ส่วนรายละเอียดเฉพาะของวัสดุ (หรือประเภทของสิ่งพิมพ์) คือ ลงข้อมูลรายละเอียดเฉพาะของวัสดุ เช่น ให้ระบุปีที่ ฉบับที่ และวัน เดือน ปีของสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องฉบับแรกที่ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เป็นต้น
ถ้าขึ้นต้นด้วยอักษรย่อหรือคำ อักษรตัวแรกใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนอื่นลงตามกฎของภาษาที่เกี่ยวข้อง เช่น

Scale 1:500,000

Computer program (2150 statements)

Vol. 1, no. 1 (Jan./Mar. 1974)-

7. ส่วนสถานที่พิมพ์ ผู้จัดจำหน่าย สถานที่ของโรงพิมพ์ คือ ลงรายการเกี่ยวกับสำนักพิมพ์ การเผยแพร่ ผู้จัดจำหน่าย โรงพิมพ์

7.1 ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่สำหรับสถานที่พิมพ์ ผู้จัดจำหน่าย โรงพิมพ์ยกเว้น คำว่า S.l.  ให้ S ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้น ส่วน s.n. ให้เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งสองคำ เช่น

Presses universitaires de France

New York : Released by Beaux Arts

Toronto : Published in association with the Pulp and Paper Institute of Canada by University of Toronto Press

[S.l. : s.n.]

8. ส่วนลักษณะทางกายภาพ คือ ข้อมูลที่ลงในส่วนลักษณะทางกายภาพ ประกอบด้วย จำนวนหน้า ภาพประกอบ ขนาด และวัสดุที่ใช้ประกอบ

8.1 ไม่ใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ในเลขหน้า รวมถึงในคำบอกลักษณะภาพประกอบ เช่น

leaves 81-144

1000 p. in various pagings

on 1 side of 1 sound disc (13 min.)

12 slides : sd., col.

9. ส่วนชื่อชุด คือ ข้อมูลที่ลงในส่วนชื่อชุด ประกอบด้วย ชื่อของชุด ชื่อเทียบเคียงชื่อชุด การแจ้งความรับผิดชอบเกี่ยวกับชื่อชุด หมายเลขมาตรฐานสากลประจำวารสารของชุดหรือชุดรอง และหมายเลขของชุดหรือชุดรอง

9.1 ใช้หลักการการใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกับการลงรายการในส่วนของชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องเทียบเคียงหรือชื่อเรื่องอื่น ๆ เช่น

Great newspapers reprinted

Master choruses for Lent and Easter

Acta Universitatis Stockholmiensis. Stockholm studies in history of literature

9.2 ไม่ใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ในส่วนของลำดับที่ หรือเลขที่ของชื่อชุด เช่น no., v., reel, t. แต่ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ที่เป็นระบบหมายเลขตามอุปกรณ์หรือสิ่งของรายการนั้นๆ เช่น

Exploring careers ; group 8

Music for today. Series 2 ; no. 8

Typewriting. Unit 2, Skill development ; program 1

10. ส่วนหมายเหตุ คือ ข้อมูลที่ลงในส่วนหมายเหตุ ประกอบด้วย ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับหนังสือ ที่ผู้ทำรายการเห็นว่ามีความสำคัญ มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานหนังสือและเป็นข้อมูลที่ไม่ปรากฏในส่วนรายการอื่นๆ

10.1 ใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ในคำแรกของประโยค คำย่อ หรือคำแรกของตัวแบ่งประโยคส่วนหมายเหตุ เช่น

Title from container

Facsim. reprint. Originally published: London : I. Walsh, ca. 1734

หมายเหตุ  หลังเครื่องหมายมหัพภาค (.) ของคำว่า Facsim. คือ ชื่อย่อของ Facsimile ทำให้คำว่า reprint ไม่ต้องใช้ตัวพิมพ์ใหญ่

11. ส่วนเลขมาตรฐานสากลและการแจ้งการได้รับ คือ ข้อมูลที่ลงเลขมาตรฐานสากลและการแจ้งการได้รับวัสดุ ประกอบด้วย เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) คำที่บอกถึงการได้รับ เช่น ระบุราคา

11.1 ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ในชื่อเลขมาตรฐานสากล เช่น

ISBN  978-0439136365

ISSN 0305-3741

ISSN 1144-875X

หมายเหตุ ในกรณีที่มีตัวอักษร X ในตัวเลข ISSN ให้ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่

11.2 ไม่ใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ในส่วนขยายเลขมาตรฐานสากล เช่น ระบุว่าเป็นวัสดุประเภทอะไร เช่น

ISBN 0-435-91660-2 (cased)

ISBN 978-0849355547 (v. 3 : hardcover)

11.3 ส่วนขยายเกี่ยวกับการแจ้งการได้รับแต่ไม่มีบอกราคาให้ใส่อักษรตัวแรกเป็นอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น

ISBN 0-902573-45-4 : Subscribers only

Free to high school students

บรรณานุกรม
กมลา รุ่งอุทัย และคณะ. (2534). หลักเกณฑ์การลงรายการแบบแองโกลอเมริกัน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 (AACR2) สำหรับ หนังสือ วิทยานิพนธ์และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). ศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
The Joint Steering Committee for Revision of AACR. (2004). Anglo-American cataloguing rules.
Chicago: American Library Association.
บรรพต พิจิตรกำเนิด. (2559). การทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ. สืบค้นจาก http://www.dusit.ac.th/~bunpod_pij/assets/tmp/03Academic/
Text/59-Cataloging.pdf
พรอนันต์ เอี่ยมขจรชัย. (2553). การลงรายการบรรณานุกรมตามหลักเกณฑ์ AACR2R. สืบค้นจาก https://www.slideshare.net/pornanant/aacr2r
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นจาก http://www.royin.go.th/?page_id=15521
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). ชื่อจังหวัด อำเภอ ตำบล เขต และแขวง. สืบค้นจาก http://www.royin.go.th/ ?page_id=633