สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีการลงนามความร่วมมือ “การจัดตั้งศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” เพื่อเป็นศูนย์รวมหนังสือ เอกสารทางวิชาการของอาจารย์นักวิชาการในมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2556
ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการสัมมนาวิชาการ หัวข้อ ห้องสมุดดิจิทัล นี้ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 9.00 น. – 16.30 น. ณ ห้องประชุม LRC 2 ชั้น 8 อาคาร LRC มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
หลักการและเหตุผล
ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีพันธกิจในการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการบริหารหนังสือ เอกสาร ตำรา และเผยแพร่ผลงานต่างๆ แก่ประชาคมและหน่วยงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และภายนอกมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ทั้งนี้ในปัจจุบันผลงานวิชาการต่างๆมิได้จำกัดอยู่แต่ในรูปแบบของหนังสือเท่านั้น ความเจริญเติบโตของเทคโนโลยีได้พัฒนาให้รูปแบบของการค้นคว้าศึกษาเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริการทั้งศูนย์หนังสือและห้องสมุด จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเรียนรู้รูปแบบที่เปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาตนเองให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ห้องสมุดดิจิทัลคือรูปแบบใหม่ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาพัฒนาการบริการให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ศูนย์หนังสือจึงร่วมกับสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการสัมมนาวิชาการครั้งนี้ขึ้นในหัวข้อห้องสมุดดิจิทัล เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว สำหรับกลุ่มห้องสมุดในมหาวิทยาลัยและในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
วัตถุประสงค์
- เพื่อจัดให้บุคลากรที่เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับห้องสมุดดิจิทัล
- เพื่ออบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีในการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลอันจะเป็นประโยชน์ในการนำมาปรับใช้ต่อไป
- เพื่อสร้างความร่วมมือต่อกันระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เชิญมาร่วมสัมมนาครั้งนี้
วันเวลาและสถานที่
วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 9.00 น. – 16.30 น. ณ ห้องประชุม LRC 1 ชั้น 8 อาคาร LRC มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
ผู้เข้าร่วมประชุม
ตัวแทนจากศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,ตัวแทนจากห้องสมุดในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้ง 5 วิทยาเขต และตัวแทนจากห้องสมุด, ศูนย์บรรณสารของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 120 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- สร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับห้องสมุดดิจิทัล
- ก่อให้เกิดแนวคิดในการปรับปรุงและพัฒนาสู่ความเป็นห้องสมุดดิจิทัล
- สามารถนำองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีห้องสมุดดิจิทัลมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป
- ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ศูนย์หนังสือ และสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในอนาคต
ในการนี้ รองผู้อำนวยสายบริหารและพัฒนา สำนักหอสมุด เป็นวิทยากร ในหัวข้อ ห้องสมุดดิจิทัล และรองผู้อำนวยสายบริการ สำนักหอสมุด เป็นวิทยากรในหัวข้อ การบริหารจัดการวิทยานิพนธ์และการตรวจสอบการคัดลอกวิทยานิพนธ์