2015 ASEAN Integration : Prospects and Opportunities for Academic Libraries in the Philippines

 

01

2015 ASEAN Integration: Prospects and Opportunities for Academic Libraries in the Philippines เป็นหัวข้อเรื่องที่นำเสนอในการประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกของ OCLC ครั้งที่ 6
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 ณ Jeju Grand Hotel สาธารณรัฐเกาหลี โดย Sharon Maria S. Esposo-Betan ซึ่งเป็นหัวหน้าบรรณารักษ์ที่ College of Engineering Libraries, University of the Philippines โดยนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและบรรณารักษศาสตร์ในประเทศฟิลิปปินส์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Sharon Ma. S. Esposo-Betan ได้กล่าวถึงประวัติการรวมตัวกันของอาเซียนตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2510 จนถึงปัจจุบัน โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ทั้ง 10  ประเทศ มีวิสัยทัศน์ในปี ค.ศ. 2020 ร่วมกัน ดังนี้

 “เป็นภูมิภาคที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง มีการแข่งขันในการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม ความยากจนและความแตกต่างทางสังคมและเศรษฐกิจลดลง” 

นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมถึงความร่วมมือในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้านต่าง ๆ อันได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  การรับรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติทางวิชาชีพ  เศรษฐกิจมหภาคและนโยบายทางการเงิน  มาตรการทางการค้า การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมต่อการสื่อสาร การพัฒนาการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง e-ASEAN การบูรณาการอุตสาหกรรมข้ามภูมิภาค และการเสริมสร้างภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมสำหรับธุรกิจก่อสร้างของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

บรรณารักษศาสตร์ในประเทศฟิลิปปินส์

Sharon Ma. S. Esposo-Betan ได้นำเสนอข้อมูลทางด้านบรรณารักษศาสตร์ในประเทศฟิลิปปินส์ ในหลายประเด็น ดังนี้

–   การศึกษาและการกำหนดคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด
ในประเทศฟิลิปปินส์
–   รายงานการสำรวจความเข้าใจและทัศนะเกี่ยวกับการรวมตัวกัน
ของอาเซียนในปี ค.ศ. 2015
–   อนาคตและโอกาส
–   ปัญหาและการแก้ปัญหา

การศึกษาและการกำหนดคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด
ในประเทศฟิลิปปินส์

ประเทศฟิลิปปินส์ได้มีการปรับเปลี่ยนการศึกษาจากเรียนระดับประถมศึกษา 6 ปี ระดับมัธยม 4 ปี รวม 10 ปี มาเป็นเรียน 12 ปี (K12) และปรับปฏิทินการศึกษาจากเริ่มเปิดภาคเรียนในเดือนมิถุนายนเป็นเดือนสิงหาคม
นอกจากนี้ยังมีการกำหนดคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดในประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวคือผู้ที่จะประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ ต้องจบการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้

–  ระดับปริญญาตรี Bachelor’s degree (BLIS)
–  ระดับบัณฑิตศึกษา Graduate degree (MLIS)
–  ประกาศนียบัตรบรรณารักษศาสตร์ (Diploma in Librarianship)

ประเทศฟิลิปปินส์ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ ได้แก่ Philippine Librarianship Act 2003 ซึ่งเป็นกฎหมายภายใต้ Republic Act 9246  โดยกำหนดให้ผู้ที่ต้องการประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ต้องมีการสอบ Broad Exam for Librarian มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (Professional License) และต้องมีการฝึกปฏิบัติงานบรรณารักษศาสตร์ (Practice Librarianship)

02

รายงานการสำรวจความเข้าใจและทัศนะเกี่ยวกับการรวมตัวกันของอาเซียนในปี ค.ศ. 2015

ได้มีการสำรวจความเข้าใจและทัศนะเกี่ยวกับการรวมตัวกันของอาเซียนในปี ค.ศ. 2015 จากผู้ตอบแบบสอบถาม 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้อำนวยการห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (Academic Library Directors) อาจารย์ในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์  (LIS Professors) คณะกรรมการวิชาชีพในการกำกับดูแลบรรณารักษ์ (Professional Regulatory Board for Librarians) และผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติ (National Library Director) ใน 4 หัวข้อหลักได้แก่ ระดับการรับรู้เกี่ยวกับการรวมตัวกันของอาเซียนในปี ค.ศ. 2015  วิธีการเรียนรู้ในเรื่องการรวมตัวกันของอาเซียนในปี ค.ศ. 2015  ทัศนะเกี่ยวกับการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการรวมตัวกันของอาเซียนด้านความร่วมมือระหว่างห้องสมุด และทัศนะเกี่ยวกับความพร้อมของห้องสมุดในประเทศฟิลิปปินส์เมื่อมีในการรวมตัวกันของอาเซียนในปี ค.ศ. 2015

ผลการสำรวจเกี่ยวกับระดับการรับรู้และวิธีการเรียนรู้ในเรื่องการรวมตัวกันของอาเซียนในปี ค.ศ. 2015 พบว่า ผู้ตอบมีระดับการรับรู้มากที่สุด ร้อยละ 65 รองลงมา รับรู้มาก ร้อยละ 23 และ รับรู้ ร้อยละ 12 ตามลำดับ ส่วนวิธีการเรียนรู้  ผู้ตอบเรียนรู้จากการประชุมสัมมนามากที่สุดร้อยละ 76 รองลงมา จากเพื่อนร่วมงาน ร้อยละ  71 และจาก internet ร้อยละ 47 ตามลำดับ

สำหรับผลการสำรวจด้านทัศนะเกี่ยวกับการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการรวมตัวกันของอาเซียนด้านความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและทัศนะเกี่ยวกับความพร้อมของห้องสมุดในประเทศฟิลิปปินส์เมื่อมีการรวมตัวกันของอาเซียนในปี ค.ศ. 2015  พบว่า ผู้ตอบ ตอบว่าเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมด้านความร่วมมือระหว่างห้องสมุดร้อยละ 88  อาจจะเปิดโอกาสร้อยละ 12  ส่วนในเรื่องความพร้อมของห้องสมุด ตอบว่าพร้อมและไม่พร้อมเท่ากัน ร้อยละ 35 และอาจจะพร้อม ร้อยละ 30

03

อนาคตและโอกาส ประกอบด้วยประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

  1. การใช้ทรัพยากรร่วมกันผ่านเครือข่ายห้องสมุดระดับภูมิภาค

ด้วยความเป็นจริงที่ว่า “ไม่มีห้องสมุดใดที่มีทรัพยากรสารสนเทศอย่างสมบูรณ์” เครือข่ายการยืมระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยในอาเซียน – AUNILO  (ASEAN University Network Inter Library Online) จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 2002 โดยมีวัตถุประสงค์คือ  เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสารผ่านการแบ่งปันทรัพยากรสารสนเทศทางวิชาการในรูปดิจิตอล ตลอดจนพัฒนามหาวิทยาลัยเสมือนจริงของอาเซียน”  ปัจจุบันมีห้องสมุดมหาวิทยาลัยเข้าร่วมเป็นสมาชิกจำนวน 23 แห่ง

  1. การปรับปรุงการศึกษาด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์และการฝึกอบรม ดำเนินการดังนี้

2.1 ให้อำนาจกับสถานศึกษาด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์มีการแข่งขันในระดับโลก
2.2 พัฒนาทฤษฎีพื้นฐานทางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ โดยทำการวิจัยและผลิตเอกสารการวิจัยให้มากขึ้น
2.3 กรณีขาดแคลนผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เสนอให้มีการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในระดับท้องถิ่น

  1. ความร่วมมือทางด้านการวิจัย ประกอบด้วย 3 เรื่องหลักดังนี้

3.1 ปรับเปลี่ยนปฏิทินการศึกษา
3.2 มีความร่วมมือทางด้านการวิจัย
3.3 มีการแลกเปลี่ยนอาจารย์

  1. การพัฒนาสมรรถนะของวิชาชีพบรรณารักษ์

ประเทศฟิลิปปินส์มีการตั้งคณะกรรมการวิชาชีพในการกำกับดูแลบรรณารักษ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

05

  1. การเคลื่อนย้ายแรงงานของบรรณารักษ์ฟิลิปปินส์

 เมื่อมีการรวมตัวกันของอาเซียนในปี ค.ศ. 2015 อาจมีการเคลื่อนย้ายแรงงานในวิชาชีพบรรณารักษ์ไปยังประเทศใกล้เคียง ซึ่งในแต่ละประเทศ ได้มีการกำหนดคุณสมบัติทางวิชาชีพบรรณารักษ์แตกต่างกันดังนี้

 ประเทศสิงคโปร์

คุณสมบัติที่ต้องการ:

  1. วุฒิปริญญาตรีสาขาใดก็ได้และมีวุฒิปริญญาโทในสาขาบรรณารักษศาสตร์
  2. วุฒิปริญญาตรีสาขาใดก็ได้และมีวุฒิประกาศนียบัตรระดับปริญญาโทในสาขาบรรณารักษศาสตร์ หรือระดับปริญญาตรีสาขาบรรณารักษศาสตร์
  3. มีวุฒิการศึกษาในสาขาบรรณารักษศาสตร์อาจจะรู้จักกันในชื่อที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยแต่ละแห่ง
  4. มีการกำหนดระยะเวลาการฝึกงานหรือการฝึกอบรมในห้องสมุด

  ประเทศไทย

 คุณสมบัติของตำแหน่งหัวหน้าบรรณารักษ์ห้องสมุดในองค์กรภาครัฐ

  1. วุฒิปริญญาโทในสาขาบรรณารักษศาสตร์หรือสารสนเทศศาสตร์และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานห้องสมุดอย่างน้อย 5 ปี
  2. วุฒิปริญญาตรีในสาขาบรรณารักษศาสตร์หรือสารสนเทศศาสตร์และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานห้องสมุดอย่างน้อย10 ปี
  3. วุฒิปริญญาตรีในสาขาใดก็ได้และต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง หรือ สาขาสารสนเทศศาสตร์และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานห้องสมุดอย่างน้อย10 ปี

 ประเทศกัมพูชา

1. ไม่มีโปรแกรมการศึกษาทางด้านห้องสมุดอย่างเป็นทางการในประเทศ
กัมพูชา
2. บรรณารักษ์ชาวกัมพูชาจำนวนน้อยที่มีคุณสมบัติเกี่ยวกับห้องสมุดตรง
ตามคุณสมบัติของประเทศอื่น ๆ
3. มีการฝึกอบรมในลักษณะการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นครั้งคราวหรือ
หลักสูตรระยะสั้นภายในประเทศกัมพูชา และบางคนได้เข้าร่วมหลักสูตร
การฝึกอบรมระยะสั้นในประเทศใกล้เคียง เช่น ประเทศมาเลเซีย
3. บรรณารักษ์ส่วนใหญ่เรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และการที่ห้องสมุดขาด
ทรัพยากรจึงทำให้จำกัดโอกาสในการฝึกอบรมนอกประเทศ

ปัญหาและการแก้ปัญหา ประกอบด้วยประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

  1. การแข่งขันและความมั่นคงในงาน

จากปัญหาเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนการศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์จากเรียน 10 ปี มาเป็นเรียน 12 ปี (K12) ช้าเกินไป ผู้สำเร็จการศึกษาควรมีความสามารถที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน และแรงงานถูกพิจารณาว่าต่ำกว่ามาตรฐาน ดังนั้นการแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจึงต้องให้การศึกษามากขึ้น ฝึกอบรมมากขึ้น มีส่วนร่วมมากขึ้น และปฏิบัติมากขึ้น

  1. ปัญหาการขาดแคลนบรรณารักษ์ในประเทศฟิลิปปินส์

กระทรวงแรงงานและการจ้างงานของประทศฟิลิปปินส์  ได้จัดทำรายการวิชาชีพที่ขาดแคลน ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 15 วิชาชีพดังนี้

  1. Architect
  2. Chemical Engineer
  3. Chemist
  4. Environmental Planner
  5. Fisheries Technologist
  6. Geologist
  7. Guidance Counselor
  8. Librarian (licensed)
  9. Medical Technologist
  10. Sanitary Engineer
  11. Computer Numerical Control Machinist
  12. Assembly Technician
  13. Test Technician
  14. Pilot
  15. Aircraft Mechanic

วิชาชีพบรรณารักษ์เป็นหนึ่งวิชาชีพที่ขาดแคลนในประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีข้อมูลสนับสนุน ดังนี้

– สถานศึกษา 188 แห่งที่มีการสอนทางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มีเพียง 76 แห่งที่สามารถผลิตผู้สำเร็จการศึกษา โดยมีผู้สอบผ่านเพียง 303 คน ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 42 ของจำนวนผู้มีสิทธ์สอบทั้งหมด

– วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยจำนวน 2,299 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 12, 878 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 46,404 แห่ง และห้องสมุดสาธารณะจำนวน 1,119 แห่ง มีบรรณารักษ์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพียง 7,169 คน จำนวนที่เหลือคิดเป็นร้อยละ 58 ที่ล้มเหลวในการสอบใบอนุญาต

การเคลื่อนย้ายแรงงานและบทบัญญัติทางกฎหมายที่สัมพันธ์กัน

ด้วยข้อจำกัด ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานชาวต่างชาติ ในประเทศฟิลิปปินส์ อันได้แก่ Labor Market Test (Labor Code), Public Utilities (Philippine Constitution), Anti-Dummy Law (PD 715) และ Practice of Professions of Foreign Nationals (PRC Modernization Act of 2000) มีผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานในการประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ในประเทศฟิลิปปินส์ ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดบทบัญญัติทางกฎหมายเพิ่มเติมใน Republic Act 9246: The Philippine Librarianship Act of 2003. Article 4. Section 28. Foreign Reciprocity เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว

บทสรุป

Sharon Maria S. Esposo-Betan  ได้กล่าวในบทสรุปว่า

“เส้นทางที่ยากลำบากจะนำไปสู่จุดสูงสุดของความยิ่งใหญ่”

รายการอ้างอิง:

Sharon Maria S. Esposo-Betan. (2014). 2015 ASEAN Integration: Prospects and Opportunities for Academic Libraries in the Philippines. (Slide).