พวกเราทุกคนล้วนต้องมีวินัยในการปฏิบัติงาน แล้ววินัย คือ อะไร
วินัย คือ การทำตามสั่ง โดยมี 3 รูปแบบ (สมภพ ภิรมย์ : 2547) คือ
- สั่งเป็นลายลักษณ์อักษร ในรูปของกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา พระราชกำหนด เป็นต้น โดยให้ยึดเป็นหลักปฏิบัติและอ้างอิง คนจึงต้องถือวินัย ใครละเมิดหรือไม่มีวินัย ก็จะมีความผิด
- สั่งด้วยจารีต ประเพณี แบบแผน ขนบธรรมเนียม ซึ่งวินัยประเภทนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เคร่งครัดเหมือนในข้อ 1
- สั่งการด้วยวาจา หรือการนัดหมาย เป็นคำสั่งหรือข้อตกลงด้วยวาจา
ดังนั้น ในทุกองค์กรจำต้องยึดถือวินัยเป็นหลักในการทำงาน ถ้าองค์กรใดหย่อนหรือขาดวินัยก็จะส่งผลให้ด้อยประสิทธิภาพลงไปได้
ในการดำเนินงานทางวินัยของมหาวิทยาลัยนั้น หากสงสัยว่าข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานเงินรายได้ ลูกจ้างประจำ ผู้หนึ่งผู้ใดกระทำผิดวินัย ซึ่งเกิดจากการร้องเรียน/ผู้บังคับบัญชาตรวจพบเห็นเอง หรือมีหน่วยงานอื่นแจ้งเหตุกระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาจะทำการสืบสวนหรือสอบข้อเท็จจริงก่อน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะพิจารณาว่า มีมูลที่ควรกล่าวหาว่าบุคคลผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ หากเป็นกรณีมีมูล ผู้บังคับบัญชาจะดำเนินการทางวินัยต่อไป หากเป็นกรณีไม่มีมูลก็ให้ยุติเรื่องทันที
รายการอ้างอิง:
สมภพ ภิรมย์. วินัย. วารสารบัณฑิตยสถาน ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (เม.ย. – มิ.ย.2547) : 504 – 505 สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ก.พ.2558 จาก http://www.royin.go.th/upload/61/FileUpload/25_8908.pdf