Tag Archives: วินัย

ว่าด้วยเรื่อง เงินๆ ทองๆ ของชาวญี่ปุ่น

ตัวเองเป็นคนชอบคนญี่ปุ่น ชอบดูสารคดีของญี่ปุ่น ฝันว่าอยากจะไปเที่ยวญี่ปุ่น ซักครั้ง  ยิ่งตอนนี้ เปิดให้ทำวีซ่า ฟรี ความฝันของเราคงใกล้จะเป็นจริง แต่ตอนนี้ ขอเก็บเงินก่อน และอ่านเรื่องราวของคนญี่ปุ่น เป็นข้อมูลสะสมไปเรื่อยๆ  ได้อ่านบทความเรื่อง ว่าด้วยเงินๆทองๆ ของชาวญี่ปุ่น ซึ่งเขียนโดย ดร. ธนัยวงศ์ กีรติวนิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นอีกมุมหนึ่งที่วิเคราะห์คนญี่ปุ่น เลยอยากจะขอนำมาเขียนหรือเล่าให้อ่านกันค่ะ

ดร. ธนัยวงศ์ เขียนไว้ว่า เดิมคนญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการออมเข้มแข็งกว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากประสบกับความทุกข์ยากจากสงครามโลกครั้งที่ 2  แต่ปัจจุบัน พฤติกรรมการออมลดลง เนื่องจาก คนรุ่นใหม่ มีนิสัยรักการออมน้อยลง แถมก่อหนี้ภาคครัวเรือนสูงกว่าสมัยก่อนอีกด้วย  อีกประการหนึ่งก็คือ ประชากรผู้สูงอายุมากขึ้น คนหนุ่มสาวแต่งงานช้า ไม่นิยมมีบุตรมาก กำลังการซื้อจึงอยู่ที่ประชากรผู้สูงอายุ  นอกจากนี้ยังมีอีกหลายมุมมอง ที่ ดร. ธนัยวงศ์ เขียนไว้ซึ่งน่าสนใจมากค่ะ สามารถติดตามอ่านได้ที่  ว่าด้วยเรื่อง เงินๆ ทองๆ ของชาวญี่ปุ่น

รายการอ้างอิง:

ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์. ว่าด้วยเรื่อง เงินๆ ทองๆ ของชาวญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 จาก http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1153&read=true&count=true

วินัย…..วินัย มาแล้วจ้า

พวกเราทุกคนล้วนต้องมีวินัยในการปฏิบัติงาน แล้ววินัย คือ อะไร
วินัย คือ การทำตามสั่ง โดยมี 3 รูปแบบ (สมภพ ภิรมย์ : 2547) คือ

  1. สั่งเป็นลายลักษณ์อักษร ในรูปของกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา พระราชกำหนด เป็นต้น โดยให้ยึดเป็นหลักปฏิบัติและอ้างอิง คนจึงต้องถือวินัย ใครละเมิดหรือไม่มีวินัย ก็จะมีความผิด
  2. สั่งด้วยจารีต ประเพณี แบบแผน ขนบธรรมเนียม ซึ่งวินัยประเภทนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เคร่งครัดเหมือนในข้อ 1
  3. สั่งการด้วยวาจา หรือการนัดหมาย เป็นคำสั่งหรือข้อตกลงด้วยวาจา

ดังนั้น ในทุกองค์กรจำต้องยึดถือวินัยเป็นหลักในการทำงาน ถ้าองค์กรใดหย่อนหรือขาดวินัยก็จะส่งผลให้ด้อยประสิทธิภาพลงไปได้
ในการดำเนินงานทางวินัยของมหาวิทยาลัยนั้น หากสงสัยว่าข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานเงินรายได้ ลูกจ้างประจำ ผู้หนึ่งผู้ใดกระทำผิดวินัย ซึ่งเกิดจากการร้องเรียน/ผู้บังคับบัญชาตรวจพบเห็นเอง หรือมีหน่วยงานอื่นแจ้งเหตุกระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาจะทำการสืบสวนหรือสอบข้อเท็จจริงก่อน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะพิจารณาว่า มีมูลที่ควรกล่าวหาว่าบุคคลผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ หากเป็นกรณีมีมูล ผู้บังคับบัญชาจะดำเนินการทางวินัยต่อไป หากเป็นกรณีไม่มีมูลก็ให้ยุติเรื่องทันที

รายการอ้างอิง:

สมภพ ภิรมย์. วินัย. วารสารบัณฑิตยสถาน ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (เม.ย. – มิ.ย.2547) : 504 – 505 สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ก.พ.2558 จาก http://www.royin.go.th/upload/61/FileUpload/25_8908.pdf