Tag Archives: เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งศูนย์ภูฟ้าพัฒนาขึ้น  เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาและการถ่ายทอดความรู้การพัฒนาไปสู่พื้นที่ และราษฎรในอำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบนพื้นที่สูง เพื่อการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสม เป็นศูนย์รวมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องด้านการตลาด เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศึกษาธรรมชาติ วัฒนธรรมท้องถิ่น และเพื่อการศึกษาวิจัยถ่ายทอดความรู้การพัฒนาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืนสู่จุดมุ่งหมาย “คนอยู่ร่วมกับป่า”

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  20)

รายการอ้างอิง

โครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนา ตามพระราชดำริ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2558 จาก http://www.nan.go.th/copp/phufa/indexphufa.htm

ร้านภูฟ้า

ร้านภูฟ้า
ร้านภูฟ้า

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งร้านขึ้นในกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) พระราชทานชื่อร้านว่า “ร้านภูฟ้า” เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของโครงการส่งเสริมอาชีพ ตามพระราชดำริฯ ปัจจุบันมีการขยายสาขาทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด นอกจากนี้ ยังมีร้านภูฟ้าผสมผสาน ซึ่งเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ที่ผสมผสานศาสตร์ทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ที่ชั้น 4 สยามพารากอน

รายการอ้างอิง

สำนักงานร้านภูฟ้า. ร้านภูฟ้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2558 จาก http://www.phufa.org/

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่ 19)

World Acclaim for HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/f/fd/Princess_Sirindhorn_2009-12-7_Royal_Thai_Government_House_2_%28Cropped%29.jpg

Although naturally familiar with HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn’s achievements, Thai people may not always be aware of the degree of respect, admiration, and affection felt for the Princess overseas.

Continue reading World Acclaim for HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn

โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี   องค์ประธานคณะกรรมการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง   โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะซ่อมแซมอาคาร พระตำหนักสวนกุหลาบ  มีพระราชดำริว่า  เมื่อซ่อมแซมแล้วก็ควรให้เป็นโรงเรียนเหมือนเดิม  สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จึงได้รับพระราชดำริจัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษา ขึ้นในบริเวณพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามโรงเรียนว่า “โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ”

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  17 )

โรงเรียนปิยชาติพัฒนา

โรงเรียนปิยชาติพัฒนา เป็นโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงห่วงใยในความเดือดร้อนของบุตรหลาน   ข้าราชการ ทหาร และประชาชนในเรื่องสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ด้วยความร่วมมือของกรมสามัญศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และจังหวัดนครนายก  จัดตั้งโรงเรียนปิยชาติพัฒนา ขึ้น ทรงพระราชทานมงกุฎประจำพระองค์เป็นตราประจำโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ และทรงรับโรงเรียนอยู่ในพระราชูปถัมภ์

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  16)

กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง

กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี จัดตั้งขึ้นโดย เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมของชาติ ด้านงานช่างทองหลวง งานเครื่องเงิน เครื่องทองแบบโบราณของแต่ละชุมชน รวมถึงการพัฒนาเป็นเครื่องประดับอัญมณีแบบสากล รวมทั้งเพื่อผลิตช่างฝีมือ พัฒนางานด้านงานช่างทองหลวง งานเครื่องเงิน เครื่องทองแบบโบราณของแต่ละชุมชน รวมถึงการพัฒนาเป็นเครื่องประดับอัญมณีแบบสากล และเพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ด้านงานดังกล่าว และเพื่อทำระบบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนาก

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่ 14)

รายการอ้างอิง:
กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง.  ประวัติความเป็นมา กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 จาก http://www.goldsmith.ac.th/external_links.php?links=1

พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

จากเว็บไซต์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้กล่าวไว้ว่า ” “วังสระปทุม” นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า เป็นสถานที่สำคัญแห่งพระราชวงศ์และแห่งชาติ ด้วยเป็นพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙ ตราบจนเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และได้เป็นที่ประทับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในเวลาต่อมา สมควรที่จะจัดเป็นพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ แสดงพระราชกรณียกิจอันเป็นแบบอย่างอันดีงามแห่งการดำรงชีวิตที่อำนวยประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก

เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสระปทุมให้เป็นที่ประทับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงระลึกถึงพระราชปรารภแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงจัดการตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นสนองพระราชดำริ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาพระราชกรณียกิจแห่งสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าขึ้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เพื่อดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว และจัดกิจกรรมต่างๆ สืบสานแนวพระราชดำริสืบมาจนถึงปัจจุบัน”

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่  13 )

รายการอ้างอิง:
มูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า.  พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 จาก http://www.queensavang.org/qs/index.php/th/2012-08-29-08-36-54

อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเลือกตั้งเป็นองค์ประธานกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. 2520 จึงทรงมีพระราชปณิธานที่จะดำเนินงานโครงการก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของมูลนิธิฯให้ลุล่วงไปตามเป้าหมายโดยเร็ว  เพื่อให้อุทยานฯ สามารถอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนชาวสมุทรสงครามและท้องถิ่นใกล้เคียง และเพื่อ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ให้แพร่ไพศาลยั่งยืนอยู่ตลอดไป และให้เป็นแหล่งวิทยาการ ศูนย์กลางศึกษาศิลปวัฒนธรรมไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในท้องถิ่น

memorial-park

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่  12)

รายการอ้างอิง:

มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์. อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 จาก http://www.kingrama2found.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=199:2015-01-14-02-31-32&Itemid=612

 

พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

จากหนังสือ “ดั่งดวงแก้ว ส่องสว่าง ทางสายงาม”  ในบทที่ 18 ตอน ทรงเห็นคุณค่าของห้องสมุด บรรยายถึงพระราชดำริในเรื่องของห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ (มูลนิธิศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล : 2558) ว่า นอกจากการสืบทอดและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในรูปของศิลปะแล้ว ยังทรงเห็นว่า การสร้างห้องสมุดตลอดจนการสร้างหรือปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ยังก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการเผยแพร่อีกด้วย เช่น โปรดให้ทำพิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่อยู่หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อเป็นการให้โอกาสในการเรียนรู้วัตถุเชิงหลักฐานต่างๆ ในด้านจดหมายเหตุ รูปภาพ และสิ่งของด้วยการปลูกฝัง ถ่ายทอด สืบสาน และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สะดวกต่อการสืบค้นนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  11 )

รายการอ้างอิง:

มูลนิธิศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล. ดั่งดวงแก้ว ส่องสว่าง ทางสายงาม.  กรุงเทพฯ : มูลนิธิศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล, 2558.

ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี

กรมการศึกษานอกโรงเรียนในฐานะที่รับผิดชอบในการจัดตั้งพัฒนาปรับปรุงห้องสมุดประชาชน จังหวัด และอำเภอทั่วประเทศ  ได้พยายามออกแบบ และจัดตั้งห้องสมุดตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเห็นความสำคัญของห้องสมุด  โดยจัดโครงการ ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ขึ้น ในวโรกาสที่มีพระชนมายุ ครบ 3 รอบ ประจวบกับเป็นปีสากลแห่งการรู้หนังสือ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั้งในเมืองและชนบท โดยมีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนในแต่ละพื้นที่ร่วมกันบริจาคทุน เพื่อการก่อสร้างห้องสมุดดังกล่าว ปัจจุบันมีห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารีเกือบทุกจังหวัด ติดตามรายชื่อห้องสมุดได้ที่นี่

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  10)