Tag Archives: พิพิธภัณฑ์

เที่ยวทั่วไทยเมืองโบราณ

ดิฉันขอแนะนำแหล่งท่องเที่ยวที่น่าประทับใจและรวบรวมศิลปวัฒนธรรมของไทย  ครั้งแรกที่ไปในใจคิดว่าเป็นสถานที่จำลองขนาดเล็กคงไม่สวยเท่าไร แต่พอได้เข้าไปชมสถานที่สวยงามมากและอลังการน่าทึ่ง  ซึ่งได้รวบรวมปราสาท พระราชวัง  วัด โบราณสถาน รวมถึงงานประติมากรรมต่างๆ ไว้ให้เราได้เข้าไปเที่ยวชมและเป็นการสร้างจำลองตามแบบสถานที่จริง ถ้าใครไม่มีเวลาหรือโอกาสไปเที่ยวตามสถานที่สำคัญต่างๆ ก็แนะนำให้ไปเที่ยวที่เมืองโบราณ พิธภัณฑ์เอกชนกลางแจ้งแห่งสยามประเทศ คือเมืองในอดีต

เมืองโบราณจัดเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่กว่า 800 ไร่ ที่รวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทั่วประเทศไทยลักษณะที่ดินคล้ายรูปขวาน เหมือนกับแผ่นที่ประเทศไทย

1

เปิดให้ชมทุกวัน เวลา 9.00 – 19.00 น. Continue reading เที่ยวทั่วไทยเมืองโบราณ

คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต

คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต
คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต

เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง ความคิดก็ต้องเปลี่ยนไปให้ทันโลก ห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง มิฉะนั้นจะไม่ต่างไปจากไดโนเสาร์ยุคดิจิทัล ที่สักวันหนึ่งย่อมถึงเวลาสิ้นสูญ

คิดทันโลกฯ เล่มนี้ จัดทำโดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK Park ส่วนแรกเป็นการนำบทความของวิทยากรจาก งาน TK Forum 2015 การประชุมวิชาการในหัวข้อ “อนาคตห้องสมุด: สิ่งท้าทายและแนวโน้ม” (Library Futures: Challenges and Trends) วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2558 ได้แก่

  • อนาคตของห้องสมุดและบรรณารักษ์ จากภัณฑารักษ์สู่ผู้รังสรรค์อุทยาน (Sohail Inayatullah)
  • ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านห้องสมุด จากองค์กร เน้นคลังหนังสือและข้อมูล ไปสู่องค์กรที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (Jens Thorhauge)
  • แผนงานการปรับปรุงและชุบชีวิตห้องสมุดในแมนเชสเตอร์ (Neil MacInnes)
  • หอสมุดสารสนเทศและบริการจดหมายเหตุแห่งแมนเชสเตอร์ สภาเมืองแมนเชสเตอร์

ส่วนที่สอง จะเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ : ปรากฏการณ์ เป็นเรื่องของการทำพื้นที่การอ่าน พื้นที่สร้างความรู้ 3 บทความ คือ

  • Explore / Extend / Exchange พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์
  • C.A.M.P สร้างสรรค์พื้นที่การอ่านให้เป็นแหล่งพบปะสร้างสรรค์หาความรู้
  • Maker Space พื้นที่สร้างความรู้ ด้วยวัฒนธรรม ทำ แบ่งปัน และเรียนรู้จากข้อผิดพลาด

ส่วนที่สาม ห้องสมุดอนาคต : กรณีศึกษา มีด้วยกัน 5 เรื่อง

  • ห้องสมุดแนวใหม่ ก้าวข้ามแหล่งให้บริการยืมคืนหนังสือ
  • Renaissance of Space อนาคตของห้องสมุด: โจทย์ใหม่ว่าด้วยพื้นที่การเรียนรู้
  • เก็บตกแนวคิด ห้องสมุดมีชีวิตสไตล์ดัตช์ จุดนัดพบของผู้คนและความสัมพันธ์ สะพานเชื่อมความทรงจำและความรู้
  • ห้องสมุดสำหรับสังคมผู้สูงอายุ
  • 10 เคล็ดลับจัดพื้นที่ห้องสมุดให้ “ว้าว!” ประสบการณ์จากเยอรมนี

สนใจอ่านดาวน์โหลดได้ที่เว็บ TK Park

รายการอ้างอิง
วัฒนชัย วินิจจะกูล บรรณาธิการ. คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, 2558.

ห้องสมุดไทยต้องปรับตัว ก่อนเป็นไดโนเสาร์ยุคดิจิตอล

ชื่อเรื่องดังกล่าว มาจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์ ฉบับวันที่ 6 สิงหาคม 2558 เวลา 1:28 น. เป็นการสรุปเนื้อหาจากการประชุมวิชาการในหัวข้อ “อนาคตห้องสมุด: สิ่งท้าทายและแนวโน้ม” (Library Futures: Challenges and Trends) ในงาน TK Forum 2015 วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2558 จัดโดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK Park ที่ถกถึงวิถีและการปรับตัวของห้องสมุดทั่วโลก ห้องสมุดที่เน้นหน้งสือเป็นหลักจะยังคงมีแต่จะลดความสำคัญลง ห้องสมุดจะมีบทบาทที่เปลี่ยนไปอย่างสอดคล้องกับสังคม และเพิ่มพื้นที่ให้กับการสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเองของผู้ใช้บริการ 3 ประการ คือ การเรียนรู้ที่นอกเหนือจาก พื้นที่การอ่าน (Learnig Space) เช่น พื้นที่การเล่นดนตรี การเล่นละคร เล่นเกม การเต้นรำ พื้นที่ของการพบปะ แลกเปลี่ยน การวิจารณ์การวิเคราะห์ (Community Space) พื้นที่ในการปฏิบัติการทดลองสิ่งต่างๆ ร่วมกัน (Maker Space)

นอกจากคำกล่าว ของ ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ แล้ว ยังมี ความคิดเห็นของศาสตราจารย์ โซเฮล อินอยาตอลเลาะห์ นักรัฐศาสตร์และนักอนาคตศึกษา จากประเทศออสเตรเลีย,  เยนส์ ธอร์โฮก์ ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาห้องสมุด จากประเทศเดนมาร์ก ที่เห็นว่า เงื่อนไขการเข้าถึงสารสนเทศ เป็นผลจากอินเทอร์เน็ตและสื่อดิจิทัล ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดและสื่ออย่างสิ้นเชิง ด้านนีล แมคอินเนส หัวหน้าส่วนงานจดหมายเหตุ สารสนเทศและห้องสมุดเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เราต้องทำให้ห้องสมุดเป็นเสมือนพื้นที่ในการพบปะสังสรรค์ ทำกิจกรรมที่หลากหลายในทุกเพศ วัย อาชีพ มีส่วนของห้องสื่อ (Media Lounge) ที่มีเทคโนโลยีที่ช่วยในการเรียนรู้ สร้างสรรค์ เช่น ซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างดนตรี ออกแบบอาร์ตเวิร์ก หรือใช้บริการเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

นอกจากนี้ เว็บไซต์ของ TK Park ได้เสนอเอกสารประกอบการสัมมนา เผยแพร่เพื่อให้ผู้สนใจดาวน์โหลดเพื่อศึกษาอีกด้วย ได้แก่

อนาคตของห้องสมุดและบรรณารักษ์ จากภัณฑารักษ์สู่ผู้รังสรรค์อุทยาน (Sohail  Inayatullah)

ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านห้องสมุด จากองค์กร เน้นคลังหนังสือและข้อมูล ไปสู่องค์กรที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง  (Jens Thorhauge)

แผนงานการปรับปรุงและชุบชีวิตห้องสมุดในแมนเชสเตอร์ (Neil MacInnes)

หอสมุดสารสนเทศและบริการจดหมายเหตุแห่งแมนเชสเตอร์ สภาเมืองแมนเชสเตอร์

รวมทั้งสไลด์นำเสนอของวิทยากรแต่ละท่านด้วย ติดตามอ่านได้ที่ http://tkforum.tkpark.or.th/download_th.html

แถมด้วยด้วยวิดีโอ

Manchester Library reopen

A tour of Manchester Library

Manchester Library live event

รายการอ้างอิง
ทีมเดลินิวส์38. ชี้ห้องสมุดไทยต้องปรับตัว ก่อนเป็นไดโนเสาร์ยุคดิจิตอล. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 จาก http://www.dailynews.co.th/article/339597

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. TK Forum 2015 Library Futures: Challenges and Trends. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 จาก http://tkforum.tkpark.or.th/download_th.html

รู้จักห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ผ่านหนังสือพระราชนิพนธ์

ที่ฉันชอบมากที่สุดคือ ห้องสมุด ตามประวัติว่าเมื่อ ค.ศ. 1803 มหาวิทยาลัยย้ายไปอยู่ที่ปัจจุบัน … แล้วจึงเปลี่ยนมาเป็นห้องสมุดใน ค.ศ. 1838 โดยรวบรวมหนังสือจากวัดหรือคอนแวนต์ต่างๆ … มีทั้งต้นฉบับหนังสือที่พิมพ์ครั้งแรกๆ … เห็นทั้งหมดแล้วอยากเข้าไปดูอยู่นานๆ เปิดดูเสียให้ทุกเล่มว่ามันเป็นอย่างไร  (จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง โรมันสัญจร)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศอิตาลี เพื่อทรงเป็นกรรมการตัดสินวรรณกรรมของ คณะกรรมการหนังสือสำหรับเยาวชนระหว่างประเทศ (International Board on Books for Young People (IBBY)  ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนห้องสมุดมหาวิทยาลัยโบโลญญา และทรงบันทึกสิ่งที่พระองค์ทอดพระเนตร ทรงสนพระทัยการอ่านหนังสือเป็นอย่างยิ่ง และจากหนังสือพระราชนิพนธ์ชุดเยือนต่างประเทศ สถานที่เสด็จฯ เป็นประจำ ก็คือ ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ จึงขอติดตามห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ผ่านทางเว็บไซต์ (ตามที่มีปรากฏบนเว็บไซต์) Continue reading รู้จักห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ผ่านหนังสือพระราชนิพนธ์

พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดในเยือนถิ่นอินเดียนแดง

จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง เยือนถิ่นอินเดียนแดง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 6 -19 พฤศจิกายน 2535 นั้น ได้เสด็จทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดหลายแห่ง เช่น National Museum of American History, National Air and Space Museum, National Museum of Natural History ในเรื่องของพิพิธภัณฑ์ ทรงบันทึกและมีพระราชดำริเกี่ยวกับการทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ ความว่า

“Ms. Francine Berkowitz, Director of the Smithsonian’s International Center และคนอื่นๆ มาอธิบายให้ฟังว่าการทำพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ไม่ใช่การสร้างโกดังเก็บของเก่า แต่ต้องมีแนวคิดมาก่อน แนวคิดนี้มักมีเรื่องสังคม เรื่องปรัชญา และวางของให้เล่าเรื่องที่เราอยากให้คนดูเข้าใจ Continue reading พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดในเยือนถิ่นอินเดียนแดง

พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

จากหนังสือ “ดั่งดวงแก้ว ส่องสว่าง ทางสายงาม”  ในบทที่ 18 ตอน ทรงเห็นคุณค่าของห้องสมุด บรรยายถึงพระราชดำริในเรื่องของห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ (มูลนิธิศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล : 2558) ว่า นอกจากการสืบทอดและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในรูปของศิลปะแล้ว ยังทรงเห็นว่า การสร้างห้องสมุดตลอดจนการสร้างหรือปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ยังก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการเผยแพร่อีกด้วย เช่น โปรดให้ทำพิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่อยู่หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อเป็นการให้โอกาสในการเรียนรู้วัตถุเชิงหลักฐานต่างๆ ในด้านจดหมายเหตุ รูปภาพ และสิ่งของด้วยการปลูกฝัง ถ่ายทอด สืบสาน และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สะดวกต่อการสืบค้นนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  11 )

รายการอ้างอิง:

มูลนิธิศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล. ดั่งดวงแก้ว ส่องสว่าง ทางสายงาม.  กรุงเทพฯ : มูลนิธิศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล, 2558.

วันพิพิธภัณฑ์ไทย (วันที่ 19 กันยายน)

ในปี พ.ศ. 2538 คณะรัฐมนตรีได้ประกาศให้วันที่ 19 กันยายน เป็นวันพิพิธภัณฑ์ โดยนับจากวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมิวเซียมหลวงขึ้นที่หอคองคอเดีย หรือศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2417 จึงถือเป็นวันกำเนิดกิจการพิพิธภัณฑ์สถาน สำหรับประชาชนในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
Continue reading วันพิพิธภัณฑ์ไทย (วันที่ 19 กันยายน)