Tag Archives: ห้องสมุด

ห้องสมุด Shanghai International Studies University (SISU) : ห้องสมุดสัญชาติจีน หนึ่งในเครือข่ายความร่วมมือกับหอสมุด มธ.

11
Continue reading ห้องสมุด Shanghai International Studies University (SISU) : ห้องสมุดสัญชาติจีน หนึ่งในเครือข่ายความร่วมมือกับหอสมุด มธ.

คณะผู้แทนจากมหาวิทยาลัยสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ LOTUS+ Project เข้าเยี่มชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์

Welcome_Lotus Cooperative

วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2560 เวลา 9.45-10.45 น.

คณะผู้แทนจากมหาวิทยาลัยสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ LOTUS+ Project เข้าเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์

Continue reading คณะผู้แทนจากมหาวิทยาลัยสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ LOTUS+ Project เข้าเยี่มชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์

พระคุณอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ต่อห้องสมุด

พระคุณอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ต่อห้องสมุด
พระคุณอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ต่อห้องสมุด

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดทำโครงการ 100 ปีชาตกาลอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์: พระคุณอาจารย์ป๋วยฯ ต่อห้องสมุด เพื่อการจัดทำหนังสือที่ระลึกในโอกาส 100 ปีชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดยนำเสนอในส่วนของเกร็ดประวัติ และผลงานของอาจารย์ป๋วยฯ ที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด ตลอดจนสิ่งที่ท่านมอบให้กับห้องสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเผยแพร่ผลงานของท่านให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนทั่วไป Continue reading พระคุณอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ต่อห้องสมุด

ห้องสมุด หาอะไรก็ไม่เจอ … จริงหรอ

Error

เคยมั้ยเข้าห้องสมุดมาหาอะไรก็ไม่เคยเจอ หรือค้นแล้วเจอมากมายจนไม่รู้จะเลือกใช้อะไรดี? วันนี้ผมจะมาคืนความสุขให้ทุกคนด้วยการแนะนำให้รู้จักการสืบค้นแบบง่ายๆ ตามสไตล์ของแอดกัน ด้วย Keywords & Limit search

เริ่มต้นเราจะกำหนด Keywords เพื่อใช้เป็นคำค้นก่อน เช่น Marketing strategy / Marine Law / การจัดการเชิงกลยุทธ์ / ศูนย์การค้า เป็นต้น จะเห็นว่า Keywords ที่ผมใช้มีลักษณะเป็นคำสั้นๆ ไม่ใช่ประโยคยาวๆ >> ถ้าค้นหาด้วยประโยคยาวๆ จะได้ผลการค้นหาน้อย หรืออาจจะไม่เจออะไรเลย <<

Continue reading ห้องสมุด หาอะไรก็ไม่เจอ … จริงหรอ

12 ข้อที่ ดิจิทัลเนทิฟ (Digital Natives) ต้องการจากห้องสมุดยุคใหม่

พบบทความ “12 Things Digital Natives Want From A Library” เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2013 คงจะไม่ช้าเกินไปถ้าจะนำมาสรุปต่อ

ดิจิทัลเนทิฟ (Digital Natives) เป็นกลุ่มคนที่เกิดและเติบโตมากับเทคโนโลยีดิจิทัล มีความคุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ดิจิทัล และอินเทอร์เน็ต มีการแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ Digitally Born และ Evolving Digizen

  • Digitally Born เป็นกลุ่มที่มีอายุระหว่าง 14-17 ปี ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อระหว่างกลุ่ม เช่น Line และ Social network
  • Evolving Digizen เป็นกลุ่มที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี กลุ่มนี้จะใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูล เข้า Social network เพื่อสื่อสารระหว่างกลุ่มและ Facebook ติดตามข่าวสารทาง Blog กลุ่มนี้มีการใช้อินเทอร์เน็ตหลากหลายกว่ากลุ่มแรก

Continue reading 12 ข้อที่ ดิจิทัลเนทิฟ (Digital Natives) ต้องการจากห้องสมุดยุคใหม่

ห้องสมุด (สุด) แนวใหม่

Piscataway Public Library รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา  ปรับตัวเองให้เป็น Learning Centric สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กและวัยรุ่น ในยุคของ STEM (Science, Technology, Engineering, Mathematics) โดยห้องสมุดดึงดูดให้เด็กๆ ได้ทำงานร่วมกัน จัดหาเครื่องมือ ให้แรงบันดาลใจใหม่ๆ (เช่น หุ่นยนต์ เครื่องจักรออกแบบลายผ้า เครื่องพิมพ์ 3 มิติ) ความรู้ เทคนิค และทรัพยากร เพราะจะเป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Piscataway Public Library
Piscataway Public Library

Oakland Public Library  รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ขานรับนโยบาย M.I.Y. (Make it Yourself) จัดหาเครื่องมือช่างให้บริการกว่า 3,500 ชิ้น มีเวิร์คชอป วิดีโอ และหนังสือฮาวทูเกี่ยวกับการซ่อมบ้าน งานสวน งานก่อสร้าง ฯลฯ นับว่าเป็นสวรรค์ของเมกเกอร์และนักประดิษฐ์เลยทีเดียว

Toronto Kitchen Library  ห้องสมุดที่มีพื้นที่สำหรับทำครัวร่วมกัน สามารถยืมอุปกรณ์ทำอาหารกลับบ้าน มีเวิร์คช็อป และให้บริการตำราอาหาร

Toronto Kitchen Library
Toronto Kitchen Library

รายการอ้างอิง

วัฒนชัย วินิจจะกูล บรรณาธิการ. คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, 2558

การจัดพื้นที่ห้องสมุดให้ “ว้าว”

สรุปความจากเรื่อง “10 เคล็ดลับจัดพื้นที่ห้องสมุดให้ “ว้าว!” ประสบการณ์จากเยอรมนี ของ ดร. เคลาส์ อูลริช แวร์เนอร์ จากหนังสือ เรื่อง คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต โดยอุทยานการเรียนรู้ TK Park

1. เหมาะสมกับการใช้งาน (Functional)

การจัดพื้นที่ต้องทำให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่ในห้องสมุดได้อย่างสะดวก สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้งานที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้ได้อย่างทันท่วงที ตัวอย่าง เช่น Stuttgart Municipal Library ห้องสมุดที่นำเอาบันไดเป็นตัวเชื่อมทางเดินแต่ละชั้นอย่างต่อเนื่องกลมกลืน เพื่อให้ผู้ใช้บริการเดินหาและหยิบหนังสือได้สะดวก

ติดตามดูภาพ ได้ที่
http://hedgehogsvsfoxes.com/architecture-stuttgart-municipal-library/
http://bluesyemre.com/2013/04/28/stadtbibliothek-stuttgart-the-stuttgart-municipal-library/stuttgart4/

Continue reading การจัดพื้นที่ห้องสมุดให้ “ว้าว”

ห้องสมุดไทยต้องปรับตัว ก่อนเป็นไดโนเสาร์ยุคดิจิตอล

ชื่อเรื่องดังกล่าว มาจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์ ฉบับวันที่ 6 สิงหาคม 2558 เวลา 1:28 น. เป็นการสรุปเนื้อหาจากการประชุมวิชาการในหัวข้อ “อนาคตห้องสมุด: สิ่งท้าทายและแนวโน้ม” (Library Futures: Challenges and Trends) ในงาน TK Forum 2015 วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2558 จัดโดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK Park ที่ถกถึงวิถีและการปรับตัวของห้องสมุดทั่วโลก ห้องสมุดที่เน้นหน้งสือเป็นหลักจะยังคงมีแต่จะลดความสำคัญลง ห้องสมุดจะมีบทบาทที่เปลี่ยนไปอย่างสอดคล้องกับสังคม และเพิ่มพื้นที่ให้กับการสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเองของผู้ใช้บริการ 3 ประการ คือ การเรียนรู้ที่นอกเหนือจาก พื้นที่การอ่าน (Learnig Space) เช่น พื้นที่การเล่นดนตรี การเล่นละคร เล่นเกม การเต้นรำ พื้นที่ของการพบปะ แลกเปลี่ยน การวิจารณ์การวิเคราะห์ (Community Space) พื้นที่ในการปฏิบัติการทดลองสิ่งต่างๆ ร่วมกัน (Maker Space)

นอกจากคำกล่าว ของ ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ แล้ว ยังมี ความคิดเห็นของศาสตราจารย์ โซเฮล อินอยาตอลเลาะห์ นักรัฐศาสตร์และนักอนาคตศึกษา จากประเทศออสเตรเลีย,  เยนส์ ธอร์โฮก์ ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาห้องสมุด จากประเทศเดนมาร์ก ที่เห็นว่า เงื่อนไขการเข้าถึงสารสนเทศ เป็นผลจากอินเทอร์เน็ตและสื่อดิจิทัล ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดและสื่ออย่างสิ้นเชิง ด้านนีล แมคอินเนส หัวหน้าส่วนงานจดหมายเหตุ สารสนเทศและห้องสมุดเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เราต้องทำให้ห้องสมุดเป็นเสมือนพื้นที่ในการพบปะสังสรรค์ ทำกิจกรรมที่หลากหลายในทุกเพศ วัย อาชีพ มีส่วนของห้องสื่อ (Media Lounge) ที่มีเทคโนโลยีที่ช่วยในการเรียนรู้ สร้างสรรค์ เช่น ซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างดนตรี ออกแบบอาร์ตเวิร์ก หรือใช้บริการเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

นอกจากนี้ เว็บไซต์ของ TK Park ได้เสนอเอกสารประกอบการสัมมนา เผยแพร่เพื่อให้ผู้สนใจดาวน์โหลดเพื่อศึกษาอีกด้วย ได้แก่

อนาคตของห้องสมุดและบรรณารักษ์ จากภัณฑารักษ์สู่ผู้รังสรรค์อุทยาน (Sohail  Inayatullah)

ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านห้องสมุด จากองค์กร เน้นคลังหนังสือและข้อมูล ไปสู่องค์กรที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง  (Jens Thorhauge)

แผนงานการปรับปรุงและชุบชีวิตห้องสมุดในแมนเชสเตอร์ (Neil MacInnes)

หอสมุดสารสนเทศและบริการจดหมายเหตุแห่งแมนเชสเตอร์ สภาเมืองแมนเชสเตอร์

รวมทั้งสไลด์นำเสนอของวิทยากรแต่ละท่านด้วย ติดตามอ่านได้ที่ http://tkforum.tkpark.or.th/download_th.html

แถมด้วยด้วยวิดีโอ

Manchester Library reopen

A tour of Manchester Library

Manchester Library live event

รายการอ้างอิง
ทีมเดลินิวส์38. ชี้ห้องสมุดไทยต้องปรับตัว ก่อนเป็นไดโนเสาร์ยุคดิจิตอล. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 จาก http://www.dailynews.co.th/article/339597

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. TK Forum 2015 Library Futures: Challenges and Trends. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 จาก http://tkforum.tkpark.or.th/download_th.html

ขายหนังสือ (?)

เมื่อสองวันก่อน วงการห้องสมุด (ไทย) ตกเป็นข่าวดังเลยทีเดียว ที่มีห้องสมุดมหาวิยาลัยแห่งหนึ่ง โละหนังสือ วารสารออกจากห้องสมุด และขายให้กับร้านหนังสือเก่า มีผู้รักหนังสือเก่า แห่กันมาซื้อกันไปมากมาย จนเป็นที่เลื่องลือและเข้าหู ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งนั้น ผู้ที่ทราบเรื่องได้แต่สงสัยว่า ทำไมห้องสมุดจึงขายหนังสือดีๆ หนังสือหายาก วารสาร ออกไปแบบนั้น ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่เป็นข่าวได้ออกมาชี้แจงภายหลังว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด น่าจะขนย้ายผิด และกำลังสอบสวนต่อไป

ห้องสมุดจะได้หนังสือเข้ามาด้วยวิธีการซื้อ การขอรับบริจาค การแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานอื่นๆ  หนังสือที่ได้มาด้วยการซื้อ อยากที่จะมีการถอนออกหรือเอาออกจาห้องสมุด เพราะเป็นการซื้อด้วยเงินงบประมาณ ต้องมีการตั้งกรรมการ ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยเอาออกกัน แต่อาจจะใช้พิจารณาเอาออกจากชั้นหนังสือที่ให้บริการที่เป็นปัจจุบัน  (มักจะดูจากสถิติการยืมเป็นหลักว่าในช่วง 2-5 ปี มีการถูกยืมออกไปหรือไม่ ช่วงปี อาจจะขึ้นอยู่กับห้องสมุดแต่ละแห่ง) เพื่อให้มีแต่หนังสือที่ทันสมัย และยังมีการใช้อยู่  (ด้วยเหตุที่ชั้นหนังสือเต็ม การจะเก็บหนังสือทุกเล่มจึงย่อมเป็นไปไม่ได้) แต่ก็มักจะนำไปเก็บไว้ในชั้นเก็บหนังสือ หรือที่มักจะเรียกว่า Stack หรือห้องสมุดบางแห่งอาจจะมีคลังเก็บหนังสือหรือเช่าพื้นที่เก็บหนังสือ เพราะรายการหนังสือเหล่านี้ไม่ได้ถอนออกจากระบบ จะยังปรากฏว่าอยู่ในชั้นเก็บหนังสือหรือคลังเก็บ ถ้ามีผู้ต้องการใช้ จะสามารถร้องขอให้ห้องสมุดนำออกมาให้บริการได้ การที่ห้องสมุดไม่ถอนออกจากห้องสมุด มีหลายสาเหตุ เป็นการซื้อด้วยเงินงบประมาณ เป็นหนังสือที่ไม่ทันสมัยก็จริงแต่อาจเป็นหนังสือคลาสสิคในสาขาวิชานั้นๆ  เป็นต้น Continue reading ขายหนังสือ (?)

เรื่องเล่าจากสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ”

สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ
วันพุธที่
17 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00 – 17.00 น.
ณ ห้องประชุมอโนมา
1 โรงแรมอโนมา กรุงเทพมหานคร

การสัมมนาในวันนี้นับว่าเป็นประโยชน์ต่อบรรณารักษ์และผู้อยู่ในแวดวงของห้องสมุดและจดหมายเหตุเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมา มักมีการถกเถียง สงสัย หรือไม่แน่ใจในการให้บริการของห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นการสำเนาสิ่งพิมพ์ที่มีในห้องสมุด การจัดทำดิจิทัลไฟล์ หรือแม้กระทั่งการแปลเอกสารเพื่อการปฏิบัติงานในห้องสมุด

จากการบรรยายของวิทยากรแต่ละท่าน สิ่งซึ่งมักถูกอ้างอิงถึงเสมอเมื่อกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ คือมาตรา 32 วรรค 1 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ที่มา : พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ Continue reading เรื่องเล่าจากสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ”