Category Archives: 04-Green Library CoP

ห้องสมุดสีเขียว/การจัดการสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน

หอสมุดฯ ชวนงดการใช้พลาสติก

resize1-หอสมุดรักษ์โลก FB_0ตามที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ขอให้หน่วยงานต่างๆ ปฏิบัติตามนโยบายสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักการ BCG ด้วยการงดการใช้พลาสติก ตามประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อย่างเคร่งครัด  Continue reading หอสมุดฯ ชวนงดการใช้พลาสติก

7 สัญญาลักษณ์พลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้ (ตอนที่ 1)

1
เบอร์ 1 หมายถึง พลาสติกประเภทโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) สามารถนำมารีไซเคิลขวดน้ำพลาสติกชนิดอ่อน ประเภทใช้ได้ครั้งเดียว หรือขวดซอฟต์ดริ้งค์ทั้งหลาย
2
เบอร์ 2 หมายถึง โพลิเอทิลินชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) ส่วนมากจะนำไปรีไซเคิลเป็นถุงพลาสติกทั่วไป และกระป๋องโยเกิร์ต
3
เบอร์ 3 หมายถึง พลาสติกประเภทโพลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็น บรรจุภัณฑ์สินค้าอาหาร ของเล่นพลาสติก พลาสติกห่อหุ้มอาหาร และท่อพลาสติก

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ จากที่เราเคยสงสัยว่าตัวเลขที่อยู่ในสัญญาลักษณ์ ตอนนี้เราคงได้รับรู้บ้างแล้ว ครั้งหน้าเราจะมาต่อในตอนต่อไป เพื่อให้เพื่อนๆ ชาวหอสมุดได้รับทราบข้อมูลกันอีกครับครับ

เครดิต : https://home.kapook.com/view74326.html

แนวทางการอนุรักษ์พลังงานมีอะไรบ้าง

1. การใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่าโดยการสร้างค่านิยมและจิตใต้สำนึกการใช้พลังงาน
2. การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าจะต้องมีการวางแผนและควบคุมการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดมีการลดการสูญเสียพลังงานทุกขั้นตอน มีการตรวจสอบและดูแลการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา เพื่อลดการรั่วไหลของพลังงาน เป็นต้น
3. การใช้พลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และอื่น ๆ
4. การเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอดผอมประหยัดไฟ เป็นต้น
5. การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยการนำวัสดุที่ชำรุดนำมาซ่อมใช้ใหม่ การลดการทิ้งขยะที่ไม่จำเป็นหรือการหมุนเวียนกลับมาผลิตใหม่ (Recycle)

มาร่วมกันอนุรักษ์พลังงานตามมาตรการกันเถอะ…..ตอนที่ 3

วันนี้เป็นตอนสุดท้ายของมาตรการแล้วนะครับ มาตรการที่จะพูดในวันนี้ก็คือ “มาตรการประหยัดน้ำประปา” สังเกตกันไหมโลกเราแปรปรวนขึ้นทุกวัน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล หน้าแล้งชาวนาน้ำตาแทบกระเด็น ค่าน้ำก็ขึ้น เราอาจจะหยุดการใช้น้ำไม่ได้ แต่เราลดการใช้ หรือใช้เท่าที่จำเป็นได้ มาดูกันเลยดีกว่ามีวิธีใดบ้างที่ชาวหอสมุดฯ มธ.จะช่วยประหยัดน้ำกันได้
– ปิดก๊อกน้ำให้สนิทหลังจากใช้งาน
– ใช้โฟมล้างมือแทนสบู่
– ช่วยสอดส่องดูแลในจุดน้ำรั่วซึม หากพบเห็นให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– ซ่อมก๊อกน้ำให้อยู่ในสภาพดีเสมอ
เท่านี้เราก็มีส่วนช่วยประหยัดน้ำได้แล้ว………..

มาร่วมกันอนุรักษ์พลังงานตามมาตรการกันเถอะ…..ตอนที่ 2

จากอาทิตย์ที่แล้ว งานอาคารหอสมุดฯ ได้ขอเชิญชวนชาวหอสมุดมาร่วมกันทำมาตรการอนุรักษ์พลังงาน มาอาทิตย์นี้เรามาต่อกันที่มาตรการต่อไปกันเลยดีกว่าครับ “มาตรการประหยัดไฟฟ้า” มีอะไรบ้างมาดูกัน
เครื่องใช้ไฟฟ้า และไฟส่องสว่าง
– เปิดไฟเฉพาะโต๊ะทำงาน / ปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน / ไม่ใช้หลอดไฟท่ไม่ผ่านมาตรฐาน
– ปิดจอคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ใช้งาน / ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
– ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกเมื่อเลิกใช้งาน / บุคลากรแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องตรวจสอบดูแล
เครื่องปรับอากาศ
– สำนักงานเปิดเครื่องปรับอากาศเวลา 8.00 – 15.30 น.
– หากไม่มีบุคลากรอยู่ในที่ทำงาน ควรปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้ง
– ตั้งอุณหภูมิสำนักงานที่ 25 องศา
– ทำความสะอาดแผ่นกรอง – ล้างเครื่องปรับอากาศทุก 6 เดือน
– ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศพร้อมกัน – ควรแบ่งกันตรวจสลับ
ลิฟต์
– ขึ้น – ลงบันไดเพียง 1 หรือ 2 ชั้น ควรใช้บันไดแทน
เรื่องกล้วยๆ กันเลยใช่ไหมล่ะ
images

มาร่วมกันอนุรักษ์พลังงานตามมาตรการกันเถอะ…..ตอนที่ 1

งานอาคารหอสมุดฯ ในฐานะที่ทำเรื่องการประหยัดพลังงานภายในอาคารอยากขอเชิญชวนชาวหอสมุดมาร่วมกันทำมาตรการอนุรักษ์พลังงานกันเถอะครับ โดยวันนี้เราจะมาว่าด้วย “มาตรการลดการใช้กระดาษ” มีอะไรบ้างหนอมาดูกันดีกว่า
– นำกระดาษที่ใช้แล้ว 1 หน้า กลับมาใช้ใหม่สำหรับเอกสารที่ไม่สำคัญภายในหน่วยงาน
– เอกสารที่มีแบบฟอร์มชัดเจนไม่ควรพิมพ์เก็บไว้ ควรเก็บไว้ในรูปแบบไฟล์ โดยประชาสัมพันธ์การเข้าถึง
– หันมาใช้ช่องทางเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
– ส่งข้อมูลข่าวสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ลดการใช้กระดาษ และพลังงานในการผลิตได้มาก
– อ่านเอกสารแล้วส่งต่อกันในสำนักงาน แทนการถ่ายสำเนาหลายๆ ชุด
– เลือกใช้กระดาษรีไซเคิลหรือกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อ Ecofiber เพื่อช่วยลดมลภาวะ
เรื่องง่ายๆ แค่นี้ชาวหอสมุดฯ ทำได้อยู่แล้ว……
substance6-3img

วิธีง่ายๆ ที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์หรือภาชนะ เป็นขยะอันตราย

ช่วงนี้ชาวหอสมุดฯ กำลังขมักเขม้นในการทำคู่มือ ISO 14001 ระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ผมในฐานะที่เป็นผู้ร่วมทำกับเขาด้วย จึงอยากมาแนะวิธีการคัดแยกขยะอันตราย โดยสังเกตง่ายๆ จากฉลาก หรือ ภาพสัญลักษณ์ที่ติดบนภาชนะบรรจุ เช่น Continue reading วิธีง่ายๆ ที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์หรือภาชนะ เป็นขยะอันตราย

พลาสติกในตัวเรา

ช่วงนี้มีแต่ข่าวปัญหามลพิษจากพลาสติกที่เกิดขึ้นมากมาย เช่น แพขยะในมหาสมุทรแปซิฟิคมีขนาดเท่าประเทศฝรั่งเศสแล้ว ยังมีข่าว พะยูน กับโลมา ในประเทศไทยตายเพราะมีพลาสติกอยู่ในท้องอีก ล่าสุดมาเรียม พะยูนน้อยชื่อดัง ขวัญใจชาวไทย-ชาวเน็ตทั่วโลก จากไปแล้ว หลังเกิดภาวะช็อกบวกกับกินพลาสติกเข้าไปจนอุดตันลำไส้ และติดเชื้อในกระแสเลือด เชื่อกันไหมประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศที่ทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก

download aHR0cHM6
Continue reading พลาสติกในตัวเรา

แชร์สิ่งดีๆ ก็มีนะเธอ …โลกสวยเราช่วยกัน

การเจริญเติบโตของเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ (Social Media) นั้นทำให้เกิดปรากฏการณ์   การแบ่งปันข้อมูลและการกระจายข่าวสารอย่างรวดเร็วในโลกออนไลน์ซึ่งมีทั้ง ข่าวสารในด้านที่ดี และในด้านลบ ซึ่งเราต้องใช้วิจารณญาณ ในการรับข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น และแพร่กระจายข่าวสารใด ที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน หรือเรื่องที่จะนำความเดือดร้อนมาสู่ตนเอง และผู้อื่นได้ Continue reading แชร์สิ่งดีๆ ก็มีนะเธอ …โลกสวยเราช่วยกัน

เที่ยวอย่างไรถึงเรียกว่ารักโลกรักสิ่งแวดล้อม

1.พกขวดน้ำไปเอง เพื่อลดปริมาณขยะจากการซื้อน้ำดื่ม
2.พกแบตเตอรี่แบบรีชาร์ตได้ นอกจากจะเบากระเป๋าเพราะไม่ต้องหอบถ่านไปเยอะแล้ว ยังเป็นการช่วยลดขยะและลดมลพิษด้วย
3.อย่าแบกสมบัติไปเยอะ กฎเหล็กของนักเดินทางขั้นโปรฯ คือ “เดินทางเบาๆ” น้ำหนักสัมภาระที่ขนไปมากเกินความจำเป็นนั้นก็ยังไปกินน้ำหนักเครื่องบิน-รถ-เรือให้ใช้พลังงานเผาผลาญมากขึ้น จัดว่า”ไม่เป็นมิตร” กับการรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงาน
4.ควรเช่าจักรยานขี่เที่ยว แทนที่จะเหมารถสองแถวหรือสามล้อเที่ยวรอบเมือง ถ้ามีตัวเลือกของจักรยานก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะทั้งช่วยลดมลพิษและได้ออกกำลังกายไปในตัวอีกต่างหาก เฮลตี้สุดๆ
5.ปิดไฟ-ปิดแอร์ทุกครั้งที่ออกจากห้องพัก ถึงแม้ว่าสมัยนี้เกือบทุกโรงแรมจะมีระบบตัดไฟทันทีที่ประตูห้องปิดจากด้านนอก (ลูกค้าออกจากห้องพัก) แต่ก็ยังมีอีกหลายแห่งที่ยังไม่มีระบบนี้ ฉะนั้นทุกครั้งที่เราจะออกจากห้องพัก เอื้อมมือไปกดปิดสวิตช์ไฟสักนิด มันก็ไม่ยากอะไรกันใช่ไหม?
6.ขยะของเราเก็บเอามาทิ้งที่ถัง ไม่ว่าจะเป็นถุงขนม ถุงพลาสติก ใดๆ ที่เราพกไป แกะซองแกะห่อแล้วก็ทิ้งลงถังขยะให้เรียบร้อย ในกรณีที่ไม่มีถังขยะ (บนเกาะหรือบนเขาที่ไปเที่ยว) ก็ขอให้เก็บกลับมาด้วย เพื่อเอามาทิ้งที่ถังขยะในเมือง แบบนี้ซิถึงเรียกว่าเที่ยวแบบอีโค่ตัวจริง!

เครดิต : https://www.skyscanner.co.th/news/tips/easy-ways-for-eco-tourism