Tag Archives: การเขียนผลงานทางวิชาการ

การเขียนบทความทางวิชาการ เขียนอย่างไร

การเขียนบทความทางวิชาการ หรือการเขียนผลงานทางวิชาการ จะเขียนได้อย่างไร เรามีแนวทางมาเล่าสู่กันฟังค่ะ จากผู้เชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณ Benjamin Irvy ซึ่งได้เขียนไว้ถึง 32 ตอนด้วยกัน เรียงตามลำดับตั้งแต่การเริ่มต้นเลยค่ะ Continue reading การเขียนบทความทางวิชาการ เขียนอย่างไร

Ibid., op. cit., Loc. cit มีความหมายอย่างไร

บ่อยครั้งในการเขียนผลงานทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นบทความวารสาร รายงาน วิทยานิพนธ์ รวมถึงรายงานวิจัย เรามักจะหาข้อมูลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเขียนผลงานจากรายการอ้างอิงท้ายบทความวารสาร ท้ายบท/ท้ายเล่มหนังสือ ตลอดจนรายการอ้างอิงแบบเชิงอรรถซึ่งมักจะอยู่ด้านล่างของหน้าหนังสือ

อักษรย่อ Ibid., Op. cit.  และ  Loc. Cit.  นั้น ส่วนใหญ่จะพบในรายการอ้างอิงแบบเชิงอรรถซึ่งจะอยู่ส่วนล่างสุดของหน้ากระดาษของหนังสือหรือเอกสารวิชาการ โดยอักษรย่อของแต่ละคำมีความหมายดังนี้

Ibid. (ไอ-บิด) ย่อมาจากภาษาลาตินคำว่า ibidem แปลว่า ในเรื่องเดียวกัน (อ้างถึงหนังสือ บท หรือหน้าหนังสือที่อ้างไปแล้ว) อักษรย่อนี้จะถูกใช้ในกรณีอ้างรายการเชิงอรรถรายการเดิมซ้ำโดยไม่มีรายการเชิงอรรถอื่นมาคั่น กรณีเป็นภาษาไทยใช้คำว่า “เรื่องเดียวกัน”  ดังตัวอย่าง

1Walter F. Taylor, History of American Letters (New York: American Book Co., 1936), pp. 15-20
2Ibid. pp. 100-105.
3Ibid. p. 130.
4จรูญ สุภาพ, ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจเปรียบเทียบ (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2532), น. 29.
5เรื่องเดียวกัน, น. 38-41. 

op. cit. (ออพ-ซิท)  ย่อมาจากภาษาลาตินคำว่า opere citato อักษรย่อนี้จะถูกใช้ในกรณีอ้างรายการเชิงอรรถรายการเดิมซ้ำแต่มีรายการเชิงอรรถอื่นมาคั่น กรณีเป็นภาษาไทยใช้คำว่า “เรื่องเดิม”  ดังตัวอย่าง

1Wilbur Schramm, The Process and Effects of Mass Communication, (Urbana: University of Illinois Press, 1974), p. 23.
 2เสถียร เชยประทับ, การสื่อสารและการพัฒนา (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525), น. 20.
3Schramm, op. cit., pp. 35-40.
4เสถียร เชยประทับ, เรื่องเดิม, น. 30.

Loc. ciit. (ลอค-ซิท)  ย่อมาจากภาษาลาตินคำว่า loco citato อักษรย่อนี้จะถูกใช้ในกรณีอ้างรายการเชิงอรรถรายการเดิมซ้ำทั้งหมดซึ่งหมายรวมถึงต้องอ้างเลขหน้า (page) ของเชิงอรรถรายการเดิมซ้ำด้วย โดยจะมีรายการเชิงอรรถอื่นมาคั่นหรือไม่มีก็ได้ กรณีเป็นภาษาไทยใช้คำว่า “เรื่องเดียวกัน หน้าเดียวกัน” ดังตัวอย่าง

1Nancy M. Tichler, Tennessee Williams: Rebellious Puritan (New York: Citade Press, 1961), pp. 5-6.
2loc. cit.
3Walter Kerr, Pieces at Eight (New York: Simon and Schuster, 1957), p. 125.
4Tichler, loc. cit.
5สถิต นิยมญาติ, สังคมวิทยาการเมือง (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2524), น. 9-10.
6เรื่องเดียวกัน หน้าเดียวกัน.
7กมล สมวิเชียร, วัฒนธรรมการเมืองไทยกับการพัฒนาทางการเมือง (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2541), น. 35-70.
8สถิต นิยมญาติ, เรื่องเดียวกัน หน้าเดียวกัน.