Tag Archives: การเย็บเล่มวารสาร

นโยบายการเย็บเล่มวารสาร

  1. เย็บเล่มวารสารทางวิชาการ
  2. วารสารที่ออกโดยหน่วยงานของธรรมศาสตร์
  3. ไม่เย็บเล่มวารสารที่มีการถ่ายไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช CD-Rom แล้ว
  4. เย็บเล่มวารสารทั้งเล่มไม่ฉีกปกและโฆษณาออก
  5. การกำหนดสีของปกวารสาร กำหนดให้วารสารที่มีชื่อเดียวกันใช้สีปกเดียวกัน
  6. วารสารที่ไม่พบตัวเล่มจะต้องติดต่อทวงถามจากสำนักพิมพ์ หรือตัวแทนจำหน่าย

ข้อดีของการเย็บเล่มวารสาร

  1. การเย็บเล่มทำให้วารสารมีความแข็งแรง คงทนถาวร สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน
  2. เก็บขึ้นชั้นได้สะดวก รวดเร็ว และเป็นระเบียบ
  3. หยิบใช้งานได้สะดวก
  4. การค้นหาดัชนีของวารสารเย็บเล่มเป็นปีๆ ทำได้สะดวก และยังช่วยในการเก็บรักษาดัชนีของวารสารนั้นๆ ได้ดี
  5. จะเห็นได้ว่าวารสารเย็บเล่มมีข้อดีต่างๆ มากมาย และนอกจากนั้นแล้วการเย็บเล่มวารสารยังมีประโยชน์ทั้งต่อห้องสมุดและต่อผู้ใช้มากอีกเช่นกัน

ทำไมเราต้องเย็บเล่มวารสาร

วารสารเป็นแหล่งรวมสารนิเทศที่มีคุณค่า และหลากหลายวิชา มีผู้สนใจต้องการอ่านเพื่อศึกษาค้นคว้าเป็นจำนวนมาก ห้องสมุดจึงจำเป็นต้องจัดหาเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ แต่เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของตัววารสารเอง สิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นความชื้น เชื้อรา ฯลฯ  และตัวผู้ใช้เองทำให้วารสารเกิดความชำรุดหรือเสื่อมสภาพ ดังนั้นเพื่อเป็นการถนอมรักษาทรัพยากรสารนิเทศที่มีคุณค่ายิ่งของห้องสมุดให้ได้เราจึงต้องเย็บเล่มวารสารเพื่อให้ได้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไปได้นานที่สุดเท่าที่่จะทำได้

การเย็บเล่มวารสาร…เพื่อบริการ

วารสารที่ให้บริการในห้องสมุด เมื่อมีจำนวนมากขึ้น ห้องสมุดจะมีวิธีการบริหารจัดการด้วยการเย็บเล่มวารสารเหล่านี้ และนำแยกออกมาให้บริการเป็นวารสารฉบับเย็บเล่ม หรือวารสารล่วงเวลา โดยแยกออกจากชั้นวารสารฉบับปัจจุบัน

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ได้นำวารสารฉบับปลีกที่มีเนื้อหาทางวิชาการและเป็นชื่อที่เคยเย็บเล่มแล้ว นำมาเย็บเอง (ไม่ได้ส่งโรงพิมพ์เหมือนแต่ก่อน เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ อีกทั้งป้องกันการสูญหายเนื่องจากวารสารบางชื่อมีขนาดบางมาก) โดยวิธีการเย็บเล่ม ดังนี้

ขั้นตอนการเย็บเล่มเอง

  1. รวบรวมวารสารที่มีรายชื่อที่เคยเย็บเล่มแล้ว หรือจุลสารที่เป็นฉบับบางๆแต่มีผู้ใช้มาก
  2. เรียงตามรายชื่อ ปีที่ ฉบับที่ พ.ศ. ความหนาไม่เกิน 3 ซม.
  3. เขียนรายการวารสารแต่ละเล่ม เช่น ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เพื่อเตรียมพิมพ์ติดข้างสันตัวเล่ม
  4. นำตัวเล่มวารสารมาเจาะรู 3 รู ตรงกลาง ซ้าย ขวา แล้วเย็บด้วยด้ายให้เป็นเล่มเดี่ยวกัน
  5. กำหนดสีที่สันของวารสารแต่ละชื่อเพื่อความแตกต่าง
  6. นำตัวเล่มขึ้นชั้นบริการที่ชั้น U3

1

ตัวอย่างวารสารที่เย็บเสร็จแล้ว

การเย็บเล่มวารสารแบบประหยัด

การเย็บเล่มวารสารเป็นลักษณะหนึ่งของการอนุรักษ์วารสาร ช่วยให้วารสารไม่กระจัดกระจายหายไป และสะดวกแก่การใช้วารสารชื่อนั้น ปีนั้น  ถ้าต้องการความสวยงามก็ต้องส่งร้านเย็บเล่มวารสารโดยเฉพาะ แต่ถ้าต้องการ ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดงบประมาณ สามารถทำได้ด้วยตัวเองง่ายๆ ดังมีขั้นตอนต่อไปนี้

ขั้นตอนการทำ

1. เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเย็บเล่มวารสารได้แก่ เข็มขนาดใหญ๋

เชือกไนล่อนอย่างหนา  ผ้าเทปติดสัน เครื่องเจาระรู2 Continue reading การเย็บเล่มวารสารแบบประหยัด