Tag Archives: Rohingya

TU STUDENTS INVITED TO A 23 NOVEMBER SEMINAR ON THE BURMESE LABYRINTH AT THE FACULTY OF POLITICAL SCIENCE, THAMMASAT UNIVERSITY

1024px-Nature_Picture_Bangladesh_03.jpg (1024×496)

Continue reading TU STUDENTS INVITED TO A 23 NOVEMBER SEMINAR ON THE BURMESE LABYRINTH AT THE FACULTY OF POLITICAL SCIENCE, THAMMASAT UNIVERSITY

ชาวโรฮิงญา ชาวโรฮีนจา

ประเทศไทยในเวลานี้ กำลังเป็นประเด็นร้อนแรง คงหนีไม่พ้นปัญหาเรื่อง ชาวโรฮีนจาซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเทศไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น แต่กำลังส่งผลกระทบไปทั้งภูมิภาคอาเซียน เป็นที่น่าสนใจในสังคมออนไลน์ถึงการวิภาควิจารณ์การช่วยเหลือ และเสียงกดดันจากนานาอารยะประเทศ โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา สำหรับบทความนี้จะพาไปรู้จักพวกเขาว่ามีความเป็นมาอย่างไร ทำไมถึงเป็นปัญหาได้ทุกวันนี้

ชาวโรฮีนจา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ (อาระกัน) ทางตะวันตกของประเทศพม่า และพูดภาษาโรฮีนจา ชาวโรฮีนจา และนักวิชาการบางส่วนกล่าวว่า โรฮีนจาเป็นชนพื้นเมืองในพื้นที่รัฐยะไข่ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนอ้างว่า พวกเขาอพยพเข้าพม่าจากเบงกอลในสมัยการปกครองของสหราชอาณาจักรเป็นหลัก และนักประวัติศาสตร์ส่วนน้อยกล่าวว่า พวกเขาอพยพมาหลังจากพม่าได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2491 และหลังจากบังกลาเทศทำสงครามประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2514 หลังสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่งในปี พ.ศ. 2369  สหราชอาณาจักรผนวกรัฐยะไข่และสนับสนุนให้มีการย้ายถิ่นจากเบงกอลเพื่อทำงานเป็นผู้ใช้แรงงานในไร่นา ประชากรมุสลิมอาจมีจำนวนถึงร้อยละ 5 ของประชากรรัฐยะไข่แล้วเมื่อถึงปี พ.ศ. 2412  แต่จากการประเมินของปีก่อนหน้าก็พบว่ามีจำนวนสูงกว่านี้ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ความรุนแรงระหว่างชุมชนก็ปะทุขึ้นระหว่างชาวยะไข่ซึ่งนับถือศาสนาพุทธกับหน่วยกำลังวี (V-Force) ชาวโรฮิงญาที่สหราชอาณาจักรติดอาวุธให้ และการแบ่งขั้วก็รุนแรงมากขึ้นในพื้นที่ในปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลพลเอกเนวีน ตรากฎหมายความเป็นพลเมือง ซึ่งปฏิเสธความเป็นพลเมืองของชาวโรฮีนจา  จนทำให้พวกเขาเหล่านี้ตกอยู่ในสถานะไร้สัญชาติ ไร้รัฐ และไร้แผ่นดินอยู่ จนตกลี้ภัยออกนอกประเทศโดยทางเรือ เพื่อจะเดินทางไปยังประเทศที่ 3  อาทิ มาเลเซีย อินโดนิเซีย เป็นต้น โดยใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน สำหรับประเทศไทยนับว่าปัญหานี้เป็น “เผือกร้อนในมือ” เพราะในโลกของความเป็นจริง ไม่มีชาติใดในภูมิภาค ยินดีต้อนรับพวกเขาเหล่านี้ขึ้นแผ่นดิน ทำได้เพียงให้การช่วยเหลือด้านอาหารตามหลักสิทธิมนุษยชน และผลักดันออกน่านน้ำประเทศของตนเอง รวมถึงประเทศไทย แต่สำหรับประเทศไทยไม่เป็นเช่นนั้นเพราะกำลังถูกกดดันจากชาติตะวันตกในข้อหาการค้ามนุษย์ โดยเรียกร้องให้ไทยช่วยเหลือตั้งค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศ

รายการอ้างอิง

14 Facts to help you understand the complex situation of Rohingya refugees. Retrieve 24/05/2015  from http://says.com/my/news/facts-about-rohingya-refugees-and-their-plight