Tag Archives: พม่า

อินทร์แขวนแดนสวรรค์

มีเจดีย์องค์หนึ่งเป็นเจดีย์ขนาดเล็ก สูง ๖ เมตร ตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่ปิดทองที่วางอยู่อย่างหมิ่นเหม่บนหน้าผามองดูดีๆคล้ายกับว่าก้อนหินจะกลิ้งตกลงใปในเหวลึกได้ทุกวินาที เหตุการณ์ลักษณะนี้ไม่มีวันเกิดขึ้นเนื่องจากพระเกศของพระพุทธเจ้าที่บรรจุอยู่ในนั้น ดลบันดาลให้ก้อนหินใหญ่สีทองนี้ทรงตัวได้อย่างสมดุลแม้จะมีไกด์นำเที่ยวท่านหนึ่งเอาไม้งัดโยกและบอกว่าสามารถเอาเชือกร้อยไปใต้ฐานเจดีย์สามารถลอดผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งแบบสบายๆ และมีการโยกไปมาน่าหวาดเสียว ผมชักไม่กล้าเดินผ่านด้านล่างกลัวได้เฝ้าพระเจดีย์ตลอดกาล ผมกำลังจะเล่าการเดินทางไปพระธาตุอินแขวนครับ

IMG20141027195135พระเจดีย์ไจ้เที่ยว หรือ พระธาตุอินทร์แขวน

การเดินทางของผมและคณะทัวร์นักวิ่ง Jog&Joy ช่วงก่อนพายุนากิสเข้าประมาณ ๓ เดือน การเดินทางจากย่างกุ้งไปอินแขวนด้วยคณะทัวร์ที่มีแอร์เย็นฉ่ำ แล้วไปต่อด้วยรถกระบะเปิดปะทุนแบบรถบรรทุกสินค้าโฟร์วิล
ที่มีกำลังมาก ผมนั่งตอนท้ายสวดมนต์ในใจไปตลอดเส้นทางขึ้นเขา กลัวรถตกเหว พอถึงทางเดินขึ้นช่วงสุดท้ายต้องเดินขึ้นต่อจะมีลูกหาบเพื่อนๆ จ้างลูกหาบนั่งแค่ขึ้นไปเป็นแถวๆ เราสองตายายเป็นนั่งวิ่งเก๋า ต้องวิ่งแข่งกันเองประคองกันขึ้นถึงก่อนคนอื่นๆถึงที่พักโรงแรมบนเขายังไม่มืด เรารีบไปเดินเก็บภาพสวยๆ ก่อนใครๆ อย่างที่เห็น พระธาตุอินแขวนเป็นพระเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ ตามจารีตโบราณกำหนดว่า คนเกิดปีใดควรไหว้พระธาตุประจำปีเกิด อย่างน้อยก็สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง ผมเป็นคนเกิดปีจอพอดีคือ ๙ ต.ค.๒๕๐๑ พระธาตุอินทร์แขวน หรือพระธาตุคนเกิดปีเส็ด (จอ)

IMG20141027193958
พระธาตุอินทร์แขวน อยู่บนภูเขาไจ้เที่ยว สูงถึง ๑,๒๐๐ เมตร ประมาณ ๔,๐๐๐ ฟุต (เหนือระดับน้ำทะเล) ระหว่างเมืองตะโกง คนรู้จักในนาม “เมืองสะเทิม” และเมืองหงสาวดี ประเทศพม่า หรือ เมียนม่าร์ “คนพม่าเรียกพระธาตุอินทร์แขวน” หรือ “พระเจดีย์ไจ้ทีโย” (Kyaiktiyo Pagoda) คำว่า “ไจ้ทีโย” ในภาษามอญหมายถึง “ก้อนหินทอง”

ชาวโรฮิงญา ชาวโรฮีนจา

ประเทศไทยในเวลานี้ กำลังเป็นประเด็นร้อนแรง คงหนีไม่พ้นปัญหาเรื่อง ชาวโรฮีนจาซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเทศไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น แต่กำลังส่งผลกระทบไปทั้งภูมิภาคอาเซียน เป็นที่น่าสนใจในสังคมออนไลน์ถึงการวิภาควิจารณ์การช่วยเหลือ และเสียงกดดันจากนานาอารยะประเทศ โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา สำหรับบทความนี้จะพาไปรู้จักพวกเขาว่ามีความเป็นมาอย่างไร ทำไมถึงเป็นปัญหาได้ทุกวันนี้

ชาวโรฮีนจา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ (อาระกัน) ทางตะวันตกของประเทศพม่า และพูดภาษาโรฮีนจา ชาวโรฮีนจา และนักวิชาการบางส่วนกล่าวว่า โรฮีนจาเป็นชนพื้นเมืองในพื้นที่รัฐยะไข่ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนอ้างว่า พวกเขาอพยพเข้าพม่าจากเบงกอลในสมัยการปกครองของสหราชอาณาจักรเป็นหลัก และนักประวัติศาสตร์ส่วนน้อยกล่าวว่า พวกเขาอพยพมาหลังจากพม่าได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2491 และหลังจากบังกลาเทศทำสงครามประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2514 หลังสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่งในปี พ.ศ. 2369  สหราชอาณาจักรผนวกรัฐยะไข่และสนับสนุนให้มีการย้ายถิ่นจากเบงกอลเพื่อทำงานเป็นผู้ใช้แรงงานในไร่นา ประชากรมุสลิมอาจมีจำนวนถึงร้อยละ 5 ของประชากรรัฐยะไข่แล้วเมื่อถึงปี พ.ศ. 2412  แต่จากการประเมินของปีก่อนหน้าก็พบว่ามีจำนวนสูงกว่านี้ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ความรุนแรงระหว่างชุมชนก็ปะทุขึ้นระหว่างชาวยะไข่ซึ่งนับถือศาสนาพุทธกับหน่วยกำลังวี (V-Force) ชาวโรฮิงญาที่สหราชอาณาจักรติดอาวุธให้ และการแบ่งขั้วก็รุนแรงมากขึ้นในพื้นที่ในปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลพลเอกเนวีน ตรากฎหมายความเป็นพลเมือง ซึ่งปฏิเสธความเป็นพลเมืองของชาวโรฮีนจา  จนทำให้พวกเขาเหล่านี้ตกอยู่ในสถานะไร้สัญชาติ ไร้รัฐ และไร้แผ่นดินอยู่ จนตกลี้ภัยออกนอกประเทศโดยทางเรือ เพื่อจะเดินทางไปยังประเทศที่ 3  อาทิ มาเลเซีย อินโดนิเซีย เป็นต้น โดยใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน สำหรับประเทศไทยนับว่าปัญหานี้เป็น “เผือกร้อนในมือ” เพราะในโลกของความเป็นจริง ไม่มีชาติใดในภูมิภาค ยินดีต้อนรับพวกเขาเหล่านี้ขึ้นแผ่นดิน ทำได้เพียงให้การช่วยเหลือด้านอาหารตามหลักสิทธิมนุษยชน และผลักดันออกน่านน้ำประเทศของตนเอง รวมถึงประเทศไทย แต่สำหรับประเทศไทยไม่เป็นเช่นนั้นเพราะกำลังถูกกดดันจากชาติตะวันตกในข้อหาการค้ามนุษย์ โดยเรียกร้องให้ไทยช่วยเหลือตั้งค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศ

รายการอ้างอิง

14 Facts to help you understand the complex situation of Rohingya refugees. Retrieve 24/05/2015  from http://says.com/my/news/facts-about-rohingya-refugees-and-their-plight

Experience of a Myanmar Librarian

Experience of a Myanmar Librarian โดย Thaw Kaung ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสรุปถึงประสบการณ์ในฐานะเป็นบรรณารักษ์ในพม่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957-1997  โดยรวมถึงการพยายามในการพัฒนา The Universities’ Central Library หรือ UCL การเรียนการสอนทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์  เป็นต้น คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด