All posts by นางสาววิภา บุญแดง

10 ข้อควรรู้ก่อนเที่ยวญี่ปุ่น รักจะเที่ยวญี่ปุ่นควรศึกษา

ในอดีตการขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นเป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2556 เป็นต้นมา คนไทยสามารถเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นได้เป็นเวลา 15 วันโดยไม่ต้องขอวีซ่า แต่หากจะไปนานกว่านั้นก็ยังต้องขอวีซ่าอยู่ อีกทั้งในปัจจุบันมีสายการบินต้นทุนต่ำเปิดให้บริการบินตรงไปยังสนามบินในเมืองต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นหลายสายการบินและหลายเมือง การแข่งขันสูงขึ้น ราคาจึงถูกลง ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเยนของญี่ปุ่นปรับตัวลดลงมาก คนไทยจึงนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวยังประเทศญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น ทั้งเดินทางไปด้วยตนเองหรือเดินทางไปกับบริษัทนำเที่ยว แต่ปัจจุบันมีข่าวคนไทยแสดงกิริยาไม่เหมาะสมหลายอย่างเมื่อเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น เนื่องด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในบางเรื่อง ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมตัวศึกษาข้อมูลในเรื่องของมารยาท และธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ของญี่ปุ่นล่วงหน้าก่อนการเดินทาง เพื่อการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสมไม่ทำลายภาพลักษณ์อันดีของคนไทยอีกต่อไป โดยทางสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ได้ออกคำแนะนำที่ควรรู้ 10 ข้อ ก่อนการเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้างจตามลิงค์นี้นะคะ

ที่มา:       10 ข้อควรรู้ก่อนเที่ยวญี่ปุ่น รักจะเที่ยวญี่ปุ่นควรศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000132698

กล้วย สรรพคุณและประโยชน์ของกล้วย 33 ข้อ

“กล้วย” เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิดในสกุล บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ

ในบ้านเราที่เห็นกันทั่วไป จะมีทั้ง กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยหักมุก เป็นต้น ลักษณะภายนอก และรสชาติแตกต่างกันไป  กล้วยเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ นอกจากผลที่สามารถหารับประทานได้ตลอดทั้งปีแล้ว เป็นพืชที่เราสามารถนำทุกส่วนมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าลำต้น ใบ ปลี เรามาดูประโยชน์อันหลากหลายของกล้วยกัน

ที่มา:  กล้วย สรรพคุณและประโยชน์ของกล้วย 33 ข้อ. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2558, จาก http://frynn.com/กล้วย

กล้วย. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2558, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/กล้วย

ทำไมเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน หรือบางทีก็ 29 วัน

ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมเดือนกุมภาพันธ์ (February) บางปีมี 28 วัน บางปีก็มี 29 วัน แล้วทำไมไม่มี 30 วัน หรือ 31 วัน เหมือนกับเดือนอื่น ๆ อีก 11 เดือนในรอบ 1 ปี  อันเนื่องมาจากในปีหน้า พ.ศ. 2559 เดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน  เราลองมาทำความเข้าใจกับประวัติความเป็นมาของเดือนกุมภาพันธ์กันดูนะคะ

ที่มา:  ทำไมเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน หรือบางทีก็ 29 วัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2558 จาก http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/27962/

น้ำแข็งในเมืองไทย

น้ำแข็งมาจากไหน อย่างไร

รู้ไหมว่าสมัยโบราณเมื่อ 1000 กว่าปีก่อน มีการใช้ประโยชน์จากน้ำแข็งแล้ว โดยมนุษย์ตัดน้ำแข็งมาแช่อาหารเพื่อยืดอายุให้ได้นานกว่าเดิม เคยมีพ่อค้าชาวอเมริกันคนหนึ่งตัดน้ำแข็งบรรทุกลงเรือแล่นออกมาหวังจะขายแก่กลุ่มประเทศในเขตร้อน แต่น้ำแข็งเหล่านั้นได้ละลายระหว่างเดินทางจนหมด

น้ำแข็งเข้ามาในประเทศไทยราวๆ สมัยรัชกาลที่ 4 โดยนำมาจากประเทศสิงคโปร์โดยอาศัยเรือกลไฟที่มีชื่อว่า “เจ้าพระยา” ต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 วัน ต่อ 1 เที่ยว

น้ำแข็งเข้ามาเมื่อไรกันแน่

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บันทึกเรื่องน้ำแข็งไว้ในหนังสือความทรงจำ ซึ่งหากคำนาณแล้วพระองค์ประสูตเมื่อ พ.ศ. 2405 ส่วนรัชกาลที่ 4 เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2411 น้ำแข็งก็น่าจะเข้ามาในไทยในช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2405-2411

ใครบ้างได้ทานน้ำแข็ง

ในอดีตน้ำแข็งเป็นของหายากและมีราคาแพงมาก มนุษย์ที่มีสิทธิ์ได้ชิมรสชาติเย็นชื่นใจของน้ำแข็งจะต้องเป็นระดับเจ้านาย เชื้อพระวงศ์ หรือข้าราชการเท่านั้น แต่หลังจากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 นายเลิศ เศรษฐบุตร ได้ตั้งโรงน้ำแข็งขึ้นมาชื่อว่า “น้ำแข็งสยาม” ที่สะพานเหล็กล่าง ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “โรงน้ำแข็งนายเลิศ” แต่ช่วงแรกยังไม่ค่อยมีใครกล้ากินนัก เพราะชาวบ้านไม่เชื่อกันว่าน้ำนั้นจะสามารถแข็งตัวได้

เทคนิดเด็ด เก็บอย่างไรไม่ให้ละลาย

น้ำแข็งอยู่ในอุณหภูมิปกติได้ไม่นานก็จะละลายแล้ว ในอดีตวิธีการขนส่งน้ำแข็งไม่ให้ละลาย คือนำน้ำแข็งใส่ถังกลบด้วยขี้เลื่อยเพื่อช่วยรักษาความเย็นไว้ให้อยู่นาน ๆ

ที่มา: นันทลักษณ์ คีรีมา. (2556). น้ำแข็ง เย็นฉ่ำใจ. ใน 50 สิ่งแรกในเมืองไทย (พิมพ์ครั้งแรก, น. 86-87). กรุงเทพฯ: มติชน.

เก้าอี้ คือ ฆาตกร

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว โดยเฉพาะคนที่ต้องนั่งโต๊ะทำงานประจำ ในแต่ละวันแทบไม่ได้ขยับตัวไปไหน หมดจากงานประจำก็ให้ความสนใจอยู่กับหน้าจอโทรทัศน์ หน้าจอโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เชื่อหรือไม่ว่าพฤติกรรมเหล่านั้นจะนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บนานัปการ รวมถึงน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ในบทความจะกล่าวถึงผลการศึกษาวิจัยจำนวนหลายชิ้นที่ได้ผลสรุปออกมาคล้ายคลึงกันถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรคภัยไข้เจ็บที่นำไปสู่การเสียชีวิตของมนุษย์ ลองมาติดตามดูเพื่อจะได้รับรู้ ทำความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของทุก ๆ ท่าน ตามลิงค์นี้ได้เลยนะคะ

ที่มา:  วรากรณ์ สามโกเศศ. (2557). เก้าอี้คือฆาตกร. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2558 จาก http://thaipublica.org/2014/12/varakorn-35/