Tag Archives: ญี่ปุ่น

อาเซียน ไทย และ มหาอำนาจ ในยุคแห่งการปฏิรูป

20150521_09460820150521_094807

การสัมมนา TU-ASEAN Forum ครั้งที่ 10 เรื่อง   “อาเซียน  ไทย และ มหาอำนาจ  ในยุคแห่งการปฏิรูป” วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2558 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ ฟอร์จูน การสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายเชิดเกียรติ  อัตถากร รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ มากล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยกล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างไทย อาเซียน และมหาอำนาจ ใน 3 ประเด็น ได้แก่

  1. ความท้าทายในภูมิภาค ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความซับซ้อน เศรษฐกิจกำลังเติบโตไปข้างหน้า ขณะที่ความขัดแย้งในภูมิภาคก็เพิ่มมากขึ้น มีการเผชิญหน้าระหว่างประเทศกันมากขึ้น เกิดการผงาดขึ้นของจีน (The Rise of China) จีนจัดตั้ง Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) มีประเทศที่เข้าร่วมถึง 51 ประเทศ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งของ International Monetary Fund (IMF) และ World Bank ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นหัวเรือใหญ่ และ Asian Development Bank (ADB) ที่มีญี่ปุ่นเป็นหัวโจก    ขณะที่ญี่ปุ่นเองก็ปรับยุทธศาสตร์เพิ่มงบประมาณทางทหารเพื่อป้องกันประเทศ ทางสหรัฐอเมริกาก็แสดงบทบาทด้านความมั่นคงและทางทหารมากขึ้นในภูมิภาค
  2. ความท้าทายของอาเซียนในปัจจุบัน การรวมตัวของอาเซียนได้รับการยอมรับและมีจุดแข็งที่สามารถเข้ากับมหาอำนาจได้ อาเซียนเป็นประชาคมที่ยึดหลัก “ฉันทามติ”  มีบรรทัดฐานร่วมกัน และ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน” เป็นประชาคมที่ทำให้ภูมิภาคสงบสุข และแข็งแกร่ง ตลอดจนมีพลวัตและมองไปยังโลกภายนอก นอกจากนี้อาเซียนยังเป็นกลไกความร่วมมือของภูมิภาค รักษาความเป็นกลางในการดำเนินความสัมพันธ์ต่างๆ กับต่างประเทศที่เป็นคู่เจรจา สำหรับบทบาทของอาเซียนกับมหาอำนาจ หลังปี 2558 ประชาคมอาเซียนจะเน้นย้ำเรื่องความมั่นคง การใช้หลักธรรมาภิบาล และหลักสิทธิมนุษยชน
  3. ไทยจะดำเนินทิศทางอย่างไรในกรอบอาเซียนและกรอบมหาอำนาจ ไทยมีจุดแข็งในเชิงภูมิศาสตร์ เป็นศูนย์กลางการขยายการลงทุนของอาเซียน ขณะที่อาเซียนมีการเชื่อมโยงกับมหาอำนาจภายนอก มีการจัดทำการค้าเสรีกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ฯลฯ โดยสรุป ในการขับเคลื่อนประเทศไทยในศตวรรษที่ 21  ต้องคำนึงถึงบรรทัดฐานและค่านิยมในความร่วมมือระหว่างประเทศ และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจต้องรักษาสมดุลของประเทศสมาชิกและมหาอำนาจ ตลอดจนผลประโยชน์โดยรวม เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งและยั่งยืน

Continue reading อาเซียน ไทย และ มหาอำนาจ ในยุคแห่งการปฏิรูป

10 ข้อควรรู้ก่อนเที่ยวญี่ปุ่น รักจะเที่ยวญี่ปุ่นควรศึกษา

ในอดีตการขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นเป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2556 เป็นต้นมา คนไทยสามารถเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นได้เป็นเวลา 15 วันโดยไม่ต้องขอวีซ่า แต่หากจะไปนานกว่านั้นก็ยังต้องขอวีซ่าอยู่ อีกทั้งในปัจจุบันมีสายการบินต้นทุนต่ำเปิดให้บริการบินตรงไปยังสนามบินในเมืองต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นหลายสายการบินและหลายเมือง การแข่งขันสูงขึ้น ราคาจึงถูกลง ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเยนของญี่ปุ่นปรับตัวลดลงมาก คนไทยจึงนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวยังประเทศญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น ทั้งเดินทางไปด้วยตนเองหรือเดินทางไปกับบริษัทนำเที่ยว แต่ปัจจุบันมีข่าวคนไทยแสดงกิริยาไม่เหมาะสมหลายอย่างเมื่อเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น เนื่องด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในบางเรื่อง ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมตัวศึกษาข้อมูลในเรื่องของมารยาท และธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ของญี่ปุ่นล่วงหน้าก่อนการเดินทาง เพื่อการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสมไม่ทำลายภาพลักษณ์อันดีของคนไทยอีกต่อไป โดยทางสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ได้ออกคำแนะนำที่ควรรู้ 10 ข้อ ก่อนการเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้างจตามลิงค์นี้นะคะ

ที่มา:       10 ข้อควรรู้ก่อนเที่ยวญี่ปุ่น รักจะเที่ยวญี่ปุ่นควรศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000132698

การท่องเที่ยวด้วยตัวเอง: ประเทศญี่ปุ่น (ตอนที่ 5)

ที่พักในญี่ปุ่นนั้นมีให้เลือกหลากหลายแบบตามความสะดวกหรือความพอใจของผู้เข้าพัก โดยมีประเภทต่างๆดังนี้

  1. โรงแรมระดับสากล เป็นโรงแรมที่ดีที่สุด พร้อมสรรพไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ พนักงานสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ มีภัตตาคารชั้นเยี่ยมรองรับลูกค้า ราคาห้องพักในห้องเตียงคู่หรือ 2 เตียงเดี่ยว ประมาณ 30,000 เยน
  2. Business Hotel เป็นที่นิยมของนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น มีขนาดค่อนข้างเล็ก มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเท่าที่จำเป็นในการพักเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ มักมีห้องอาหารเพียงหนึ่งห้องและมีที่ตั้งใกล้สถานีรถไฟ รูปแบบห้องพักเป็นห้องเดี่ยวมีห้องน้ำในตัว ค่าห้องโดยเฉลี่ยราคา 6,000 เยนขึ้นไป ห้องคู่ราคาประมาณ 10,000 เยน

Continue reading การท่องเที่ยวด้วยตัวเอง: ประเทศญี่ปุ่น (ตอนที่ 5)

การท่องเที่ยวด้วยตัวเอง: ประเทศญี่ปุ่น (ตอนที่ 4)

ประเทศญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีการอำนวยความสะดวกทางด้านการเดินทางที่ดี มีรูปแบบการเดินทางให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ รถบัส เรือ และเครื่องบิน ต่อไปจะเป็นการแนะนำการวางแผนการเดินทางในประเทศญี่ปุ่นกันค่ะ

Continue reading การท่องเที่ยวด้วยตัวเอง: ประเทศญี่ปุ่น (ตอนที่ 4)

การท่องเที่ยวด้วยตัวเอง: ประเทศญี่ปุ่น (ตอนที่ 3)

ในตอนที่แล้วผู้เขียนได้เขียนข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น  ตอนนี้ขอแนะนำเรื่องการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นค่ะ

ในปัจจุบันการเดินทางท่องเที่ยวไปต่างประเทศนั้นมีความสะดวกเป็นอย่างมาก เพราะมีหลายสายการบินให้บริการ ซึ่งสายการบินแต่ละสายการบินก็มีบริการและราคาแตกต่างกันออกไป

สำหรับสายการบินที่มีเที่ยวบินตรงจากประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นเช่น ANA (All Nippon Airways), JAL (Japan Airlines), การบินไทย (Thai Airways), Jetstar Asia, AirAsia, Delta Airlines เป็นต้น

Continue reading การท่องเที่ยวด้วยตัวเอง: ประเทศญี่ปุ่น (ตอนที่ 3)

การท่องเที่ยวด้วยตัวเอง: ประเทศญี่ปุ่น (ตอนที่ 2)

11169020_1622722791296237_977041486_n

หลังจากทราบแล้วว่าข้อมูลทั่วไปของประเทศญี่ปุ่นแล้วต่อมาคือการวางแผนการเดินทางค่ะ เป็นการนำประสบการณ์จากที่ตัวเองได้ไปมาบอกเล่าต่อให้ฟังนะคะ

ผู้เขียนเริ่มต้นการวางแผนการท่องเที่ยวโดยการกำหนดพื้นที่ที่ต้องการไปเช่น ต้องการท่องเที่ยวบริเวณโตเกียว โยโกฮามา และยามานาชิ จากนั้นดูว่าแต่ละพื้นที่มีการเดินทางประเภทใดบ้าง เช่น รถบัส หรือ รถไฟฟ้า เพื่อคำนวณค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการเดินทาง จากนั้นทำการค้นหาที่พักที่สะดวกต่อการเดินทางคือ ใกล้แหล่งท่องเที่ยวที่ต้องการไป หรือ ใกล้บริการรถสาธารณะ มีห้องแบบที่ต้องการ ราคาสมเหตุสมผล

ในการเดินทางไปเที่ยวด้วยตนเองนั้นควรพึงระลึกไว้เสมอว่าอาจมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ต้องมีการวางแผนเพื่อป้องกันสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นไว้หลายๆแผน เช่นมีเบอร์โทรติดต่อ หรือ ที่อยู่ของสถานทูต เพื่อติดต่อยามที่เอกสารหาย ที่อยู่ของที่พัก เผื่อหลงทาง หรือ หัดสังเกตจุดเด่นของแต่ละที่ไว้ เพื่อเป็นจุดนัดพบเป็นต้น เพียงเท่านี้การท่องเที่ยวของทุกท่านก็จะมีแต่ความสนุกและความประทับใจค่ะ

การท่องเที่ยวด้วยตัวเอง: ประเทศญี่ปุ่น (ตอนที่ 1)

การท่องเที่ยวด้วยตัวเองนั้นถือเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างหนึ่งของชีวิตผู้เขียน เพราะว่าผู้เขียนไม่เคยเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่มีผู้ปกครองไปด้วยเป็นครั้งแรก และประเทศที่เลือกนั้นคือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องความปลอดภัยและระบบขนส่งมวลชนที่ดีเยี่ยม ในตอนที่ 1 นี้ผู้เขียนขอแนะนำเรื่องข้อมูลเบื้องต้นของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญอันดับต้นๆในการเดินทางด้วยตัวเองในประเทศนี้นั่นเอง

ประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะเป็นหมู่เกาะ ประกอบด้วย ฮอกไกโด (อยู่ตอนเหนือสุดของประเทศ), ฮอนชู (เกาะที่ใหญ่ที่สุด), ชิโกกุ และคิวชู แบ่งออกเป็น 5 ภาค ได้แก่ โทโฮกุ คันโต จุบุ คิงคิ และจูโงกุ มีจั้งหวัดรวม 47 จังหวัด โดยมีโตเกียวเป็นเมืองหลวง  Continue reading การท่องเที่ยวด้วยตัวเอง: ประเทศญี่ปุ่น (ตอนที่ 1)

แนวคิดการทำงาน (ญี่ปุ่น) ที่น่ามาปรับใช้

เรามักจะได้ยินว่า คนญี่ปุ่นเป็นคนมีวินัย และในการทำงานของคนญี่ปุ่นเองก็มีวัฒนธรรมที่น่าสนใจทีเดียว เลยอยากนำเสนอเผื่อจะนำมาปรับใช้ในการทำงานของเรากันบ้างค่ะ

1. การให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนนามบัตรในทางธุรกิจ  คนญี่ปุ่นถือว่าเป็นการแสดงความสำคัญของบุคคลที่เราพบปะด้วย ทางไทยเราเองก็มีการแลกเปลี่ยนเหมือนกัน แต่อาจจะเป็นแค่การแนะนำตัวหรือไว้ติดต่อกันในภายหลัง แต่ถ้าเราเริ่มหันมาให้ความสนใจกับนามบัตรที่ได้รับ อ่านรายละเอียดที่อยู่ในนามบัตร

2. เชื่อตามผู้อาวุโส  ข้อนี้ คล้ายๆ กับสุภาษิตของไทยที่ว่า เดินตามผู้ใหญ่… หรือ ผู้ใหญ่มักจะให้เหตุผลเวลาแนะนำหรือท้วงติงว่า อาบน้ำร้อนมาก่อน คนญี่ปุ่นยังคงให้ความเคารพแก่ผู้อาวุโสหรือผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า ของเราเองก็เช่นกัน ผู้อาวุโสกว่าย่อมมีประสบการณ์มากเช่นเดียวกัน เราก็ควรให้ความสำคัญและเคารพคำแนะนำจากผู้มีอาวุโสกว่าที่เป็นยอมรับ

3. ค่อยๆ ซึมซับและปฏิบัติตามเป้าหมายขององค์กร  เพราะเราทำงานต้องมีเป้าหมายในองค์กร คนญี่ปุ่นมักจะเน้นย้ำเรื่องเป้าหมายองค์กรในระยะยาว และความคาดหวังจากบุคลากร เราเองก็เช่นเดียวกัน ควรมีการระลึกอยู่เสมอว่า เราทำงานตามเป้าหมายขององค์กรอยู่หรือไม่

4. รักษาสีหน้าให้เป็นปกติและเหมือนเดิม (ระหว่างทำงาน)  สอนให้เป็นผู้ใหญ่ หรือ maturity ไม่ใช้อารมณ์หรือแสดงอารมณ์ออกมา สิ่งใดที่เป็นเหตุผล สามารถยอมรับได้ ก็นำมาปฏิบัติหรือพัฒนาปรับปรุงต่อไป

5. งานเป็นงาน เล่นเป็นเล่น  ต้องบริหารเวลาให้มีความสมดุลระหว่างงานและการพักผ่อน

6. ให้ความสำคัญ กับเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์  เน้นความสัมพันธ์ในองค์กร เพื่อจะนำไปสู่ความสำเร็จของงาน

6 แนวทางน่าจะนำไปปรับใช้ในการทำงานของเรานะคะ บางข้ออาจได้มีการทำอยู่แล้ว บางข้ออาจจะไม่เคยมาก่อน แต่ทุกข้อ ขอบอกว่าเป็นเทคนิคในการทำงานที่ดีและจะไปนำสู่ความสำเร็จค่ะ

รายการอ้างอิง
นำ 6 แนวคิดการทำงานของญี่ปุ่นมาใช้. สืบค้นเมื่อวันที่  20 เมษายน 2558 จาก http://www.siamsafety.com/index.php?page=moral/moral_korkid_10082010&ps_session=c9ad0e6bc2a0c4b3a519090e0d618ff2

ญี่ปุ่น : ยุทธศาสตร์การค้าและอุตสาหกรรม (Dai Kyosou Jidai No Tsushou Senryaku)

japanstra_01

ญี่ปุ่น : ยุทธศาสตร์การค้าและอุตสาหกรรม (Dai Kyosou Jidai No Tsushou Senryaku) เขียนโดย โฮะโซะกาว่า ฮิซาซิ (Hosokaea Hisashi) แปลโดย กนิฏฐา มัทซุโอะ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือว่าด้วยโลกาภิวัฒน์ทางเศรษฐกิจที่ผู้เขียนได้มีประสบการณ์โดยตรง ติดตามอ่านได้ที่นี่

การพัฒนาเศรษฐกิจญี่ปุ่น (Japanese Economic Development : A Short Introduction)

japandevelop_01

การพัฒนาเศรษฐกิจญี่ปุ่น (Japanese Economic Development : A Short Introduction) เขียนโดย Yoshihara Kunio แปลโดย สุกัญญา นิธังกร, อนงค์ โรจน์วณิชย์ เป็นการวิเคราะห์การพัฒนาเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ติดตามอ่านได้ที่นี่