Category Archives: งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558

ความสำคัญของหนังสืออยู่ที่เนื้อหา

จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง ประพาสภาษา ในสมเด็จพระเทพร้ตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงบันทึกเมื่อไปเสด็จพระราชดำเนินไปเรียนภาษาเยอรมันที่เมืองเกิตติงเงน ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรห้องสมุด Herzog August ทรงบันทึกถึงลักษณะหนังสือของ Herzog August ไว้ดังนี้

หนังสือของ Herzog August มีลักษณะพิเศษคือ ห่อปกด้วยหนังสีขาวอย่างเรียบๆ เขียนชื่อหนังสือที่ปกด้วยลายมือบนเล่มเหมือนกับเอาแผ่นหนังที่ใช้แล้วมาห่อ ความคิดของท่าน คือ ความสำคัญของหนังสืออยู่ที่เนื้อหา ปกมีไว้เพียงเพื่อรักษาหนังสือให้ดี และให้รู้ว่าเล่มไหน เป็นเล่มไหน ท่านทำแคตาล็อกหนังสือด้วยตนเองด้วย

เยี่ยมชมห้องสมุด Herzog August ได้ที่ http://www.hab.de/en/home.html

รายการอ้างอิง:
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. ประพาสภาษา. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2546.

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  42)

พระราชนิพนธ์ชุดเสด็จเยือนต่างประเทศ

ทุกครั้งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ มักจะมีพระราชนิพนธ์จากการเยือนแต่ละประเทศอยู่เสมอ เป็นเสมือนบันทึกการเดินทาง ที่ทรงบันทึกสิ่งที่ทอดพระเนตร ความคิดเห็นต่อสิ่งนั้น ที่ทรงถ่ายทอดออกมาเป็นพระราชนิพนธ์ที่มีคุณค่า เพราะสิ่งที่ได้อ่านนั้นเป็นความรู้ที่หาได้ยากจากที่อื่น จึงขอรวบรวมพระราชนิพนธ์ชุดเสด็จเยือนต่างประเทศ มานำเสนอ โดยเรียงตามลำดับปีของการเสด็จฯ ดังนี้

2520-2523

เล่าเรื่องเมืองฝรั่ง (Tales of Foreign Land)

  •  10-21 เมษายน 2520 อิสราเอล
  •  28 เมษายน-1 พฤษภาคม 2523  เนเธอร์แลนด์
  •  19 พฤษภาคม-2 มิถุนายน 2523 ฝรั่งเศส
  •  3-4 มิถุนายน 2523  เบลเยี่ยม
  •  5-7 มิถุนายน 2523 สวิตเซอร์แลนด์
  •  8-17 มิถุนายน 2523  อังกฤษ

2524

ย่ำแดนมังกร  (Treading the Dragon Land)
12-20 พฤษภาคม 2524  – สาธารณรัฐประชาชนจีน (ครั้งที่ 1)

2527

ชมช่อมาลตี (Joys of Jasmine)
2-16 ตุลาคม 2527   – อินโดนีเซีย

ทัวร์น้องโจ้  (Kangkaroo Tour)
17-29 ตุลาคม 2527  – ออสเตรเลีย
Continue reading พระราชนิพนธ์ชุดเสด็จเยือนต่างประเทศ

Bibliography of the works of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn

Suparat Lertpanichkul, Sukunya Bumroongsook, Suchitra Chongstitvatana, compilers.  Bibliography of the works of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. 2nd ed.Bangkok : Princess Maha Chakri Sirindhorn Foundation, 2005.

Bibliography of the works of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn
Bibliography of the works of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn

เป็นหนังสือที่รวบรวมบรรณานุกรมพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2548 ในนามของมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา จัดทำเป็นภาษาอังกฤษ แบ่งได้เป็น 5 ตอน

  • ตอนแรก ให้บรรณานุกรมของพระราชนิพนธ์แต่ละรายการโดยจัดเรียงตามลำดับพยัญชนะไทย ให้รายละเอียดที่นอกเหนือจากข้อมูลทางบรรณานุกรมแล้ว ยังมีข้อมูลอื่นๆ ประกอบเช่น ขนาดของหนังสือ และการพิมพ์ในโอกาสต่างๆ
  • ตอนที่สอง จัดเรียงรายการหนังสือ 115 รายการตามปีที่พิมพ์ครั้งแรก
  • ตอนที่สาม จัดเรียงตามเนื้อหา โดยรวมการพิมพ์ครั้งแรกและครั้งที่สองไว้ด้วย
  • ตอนที่สี่ เป็นรายการบรรณานุกรมของพระราชนิพนธ์ที่มีการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  40)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SCHOOLNET)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SCHOOLNET) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย เพื่อเปิดโอกาสให้ โรงเรียนมัธยมศึกษาได้มีโอกาสเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยยกระดับการศึกษาของเยาวชนไทย

กุมภาพันธ์ 2541 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีซึ่งได้ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร สามารถติดต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านศูนย์รับการเชื่อมต่อของเครือข่ายกาญจนภิเษก (เลขหมายพระราชทาน 1509) ได้

5 ตุลาคม 2542 ได้ให้ความเห็นชอบต่อโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 โดยจะขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาทั่วประเทศ 5,000 โรงเรียน

2 กันยายน 2546 ส่งมองโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขยายเครือข่ายนี้ให้เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงทุกโรงเรียนทั่่วประเทศต่อไป

รายการอ้างอิง

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. ผลการดำเนินงานโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ปี 2538-2545. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 จาก https://www.nectec.or.th/schoolnet/about/project.html

กระทรวงวิทย์ฯ ยุติบทบาทการดำเนินโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย(SchoolNet Thailand). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 จาก https://www.nectec.or.th/schoolnet/farewell/web_scnt_news.html

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่  39)

เครือข่ายกาญจนาภิเษก

เครือข่ายกาญจนาภิเษก (Golden Jubilee Network) หรือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์กาญจนาภิเษก คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดทำขึ้นในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก 50 ปีแห่งการครองราชย์ เปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539 เวลา 09.09 น.

รายการอ้างอิง

เครือข่ายกาญจนาภิเษก. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 จาก http://kanchanapisek.or.th/index.th.html

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 38)

สื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ

โครงการสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อจัดระบบข้อมูลทางวัฒนธรรมของชาติให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างเป็นระบบทั่วประเทศ โดยเผยแพร่ความรู้ในสาขาชาติพันธุ์วิทยา มานุษยวิทยา และธรรมชาติวิทยา โดยมีเป้าหมายในการดำเนินงาน คือ รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมของข้อมูลจังหวัดต่างๆ ทั้ง 76 จังหวัด ภายใต้หัวข้อและกรอบที่กำหนด  เผยแพร่ข้อมูลทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ครบทั้ง 76 จังหวัด และบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี-รอม โดยแบ่งเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้และกรุงเทพมหานคร โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ดูแล

รายการอ้างอิง

โครงการสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 จาก http://www.nectec.or.th/oncc/html/dep_cul2.html

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. โครงการสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 จาก http://www.princess-it.com/kp9/hrh-projects/culture.th.html

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 36)

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อโรงเรียนในชนบท

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท (ทรสช.) เป็นโครงการตามพระราชดำริ เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสโดยเฉพาะโรงเรียนในชนบท ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอซีที เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ กิจกรรมในโครงการฯ ครอบคลุม ในด้านการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน การสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ เนื้อหา และสื่อ การพัฒนาศักยภาพครู และผู้บริหาร นักเรียน และการประยุกต์ใช้ไอซีทีเพื่อจัดการเรียนรู้: เพื่อให้ครูสามารถประยุกต์ใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้

รายการอ้างอิง:
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ไอซีทีเพื่อการศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 จาก http://www.princess-it.org/project/iteducation/edltv/39-project-hrhit/itforeducation.html

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  35)

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อผู้พิการ

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาคนพิการในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กพิการให้ได้มีโอกาสใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ การสร้างความรู้ พัฒนาทักษะต่างๆ เพื่อสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น ช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของคนพิการ รวมทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป โครงการฯ ได้ศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technologies) โปรแกรม และ/หรือสื่อการสอนเพื่อคนพิการ และยังได้จัดซื้ออุปกรณ์ โปรแกรม สื่อการเรียนการสอน จากต่างประเทศ เพื่อนำมาทดลองใช้ที่โรงเรียนสำหรับเด็กพิการ และศึกษารูปแบบของการนำไปใช้ที่เหมาะสมสำหรับคนพิการแต่ละประเภท

รายการอ้างอิง
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 จาก http://www.princess-it.org/project/itdisability/about.html

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 34)

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาล

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2538 ตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงห่วงใยเด็กป่วยในโรงพยาบาลเป็นเวลานานจะขาดโอกาสในการศึกษา จึงควรมีการสอนหรือให้การศึกษาแก่เด็กเหล่านั้น ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ ระดับชั้นเรียน และสภาพร่างกายของเด็กแต่ละคน และทรงมีพระราชดำริให้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยเสริมหรือทดแทนครูในบางเรื่อง และยังสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาการเรียนรู้และพัฒนาทักษะเฉพาะด้าน เช่น เด็กออทิสติก หรือเด็กที่มีปัญหาเรื่องการพูดหรือการสื่อสาร

รายการอ้างอิง

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. เกี่ยวกับไอทีเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2558 จาก http://www.princess-it.org/project/itsickchideninhospital/about.html

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่ 33)

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อผู้ต้องขังในทัณฑสถาน

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2540 เพื่อสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ต้องการให้ผู้ต้องขังในเรือนจำเป็นผู้ที่ยังมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นคนดีได้ หากได้รับการอบรมความรู้ด้านศีลธรรม คุณธรรม ควบคู่ไปกับการอบรมให้ความรู้ด้านวิชาการ … หากผู้ต้องขังได้รับการอบรมความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้แล้ว เมื่อพ้นโทษจะสามารถนำความรู้ความสามารถที่ได้รับระหว่างต้องโทษ ไปประกอบอาชีพสุจริตเป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติต่อไป โดยโครงการฯ ได้จัดทำห้องเรียนคอมพิวเตอร์ในเรือนจำและสอนคอมพิวเตอร์ให้แก่ผู้ต้องขัง การซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ การรับจ้างพิมพ์ การได้รับการอบรมเพื่อให้สามารถทำหนังสือเสียงมัลติมีเดีย หรือ หนังสือเดซี (DAISY – Digital Accessible Information System) เพื่อใช้สำหรับผู้ไม่สามารถอ่านตัวพิมพ์ได้ เช่น คนตาบอด โดยวิทยากรจากประเทศญี่ปุ่น

รายการอ้างอิง

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. เกี่ยวกับไอทีเพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2558 จาก http://www.princess-it.org/project/itprison/about.html

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่ 32)